การเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์สองชนิดต่อผลผลิตข้าวหอมปทุม และสมบัติดิน

Main Article Content

สายชล สุขญาณกิจ
โสภิดา จิวประเสริฐ
วุฒิพงษ์ แปงใจ
ธนวรรณ พาณิชพัฒน์

บทคัดย่อ

การทดสอบคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ 2 ชนิดต่อผลผลิตข้าวหอมปทุมและสมบัติดินหลังการเก็บเกี่ยวประกอบด้วย 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือนและปุ๋ยหมักผักตบชวา ผลการทดลองพบว่าภายหลังการหมักปุ๋ยเป็นเวลา 60 วัน ปุ๋ยมูลไส้เดือนมีค่าอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสทั้งหมด (503, 21.6 และ 5.33 g/kg) สูงกว่าปุ๋ยหมักผักตบชวา ในทางตรงข้ามพบว่าปุ๋ยหมักผักตบชวาให้ค่าปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด (14.4 g/kg) สูงกว่าปุ๋ยมูลไส้เดือน การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดต่อผลผลิตข้าวหอมปทุมและสมบัติดินหลังการเก็บเกี่ยวพบว่า การใส่ปุ๋ยวิธี 0.5SSF+0.5VC ให้น้ำหนักผลผลิตเมล็ด และน้ำหนักแห้งตอซังสูงที่สุด (55.4 และ 29.7 ก./กระถาง) ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยวิธี CFF (53.7 และ 28.9 ก./กระถาง) และวิธี 0.05SSF+0.5WHC (54.8 และ 26.4 ก./กระถาง) ส่วนสมบัติดินหลังเก็บเกี่ยวพบว่า กรรมวิธีใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดให้ปริมาณอินทรียวัตถุ 56.0-57.9 ก./กก. ซึ่งสูงกว่ากรรมวิธีที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (51.4-52.9 ก./กก.) นอกจากนี้ยังมีผลให้ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีค่าเพิ่มขึ้น (236-256 มก./กก.) ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยสำหรับการผลิตข้าวในพื้นที่ควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ในลักษณะของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะมีแนวโน้มช่วยคงความอุดมสมบูรณ์ของดินและรักษาระดับของผลผลิตข้าวให้อยู่ในระดับที่พึงพอใจได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคกลาง. แหล่งข้อมูล: www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_ desc/central/Ay.html. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2563. โปรแกรมปุ๋ยรายแปลง. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id= 17863. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563.

กรมวิชาการเกษตร. 2548. มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา หน้า 9, เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 109 ง.

กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน. 2560. คู่มือการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาที่ขุดลอกจากแหล่งน้ำ. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

กรมการข้าว. 2562. แผนที่เขตศักยภาพการผลิตข้าว. แหล่งข้อมูล: http://brrd.ricethailand.go.th/ricemap/riceCD52/ index.php-url=province_list.php®ion_id=1.htm. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562.

ชาลินี คงสุด ชัยสิทธิ์ ทองจู จุฑามาศ ร่มแก้ว และ ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. 2561. ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิตองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน. วารสารแก่นเกษตร 46: 623-632.

ณัฐวุฒิ เอ้งฉ้วน สุริยา สาสนรักกิจ จันทร์จรัส วีรสาร และอรุณศิริ กำลัง. 2558. ผลของการใส่เถ้าไม้ยางพาราต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในดินกรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4: 39-50.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์. 2550. ดินที่ใช้ปลูกข้าว. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2554. ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย. หจก. กร ครีเอชั่น. กรุงเทพ ฯ.
ธงชัย มาลา. 2550. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิตและการใช้โยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นัทธพงศ์ ยะแสง บุญร่วม คิดค้า และ วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก. 2563. การเปรียบเทียบคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์โรงงานกับปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวา. วารสารแก่นเกษตร. 48(ฉบับพิเศษ 1): 1047-1052.

พัชรี แสนจันทร์ อัจฉราวดี เครือภักดี และ ดวงสมร ตุลาพิทักษ์. 2551. ผลผลิตข้าว การสะสมคาร์บอน และศักยภาพของการเกิดก๊าซมีเทนในดินนาที่ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวและลดการไถพรวน. วารสารแก่นเกษตร. 36: 305-314.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ ฯ.

สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา. 2563. ประชาสัมพันธ์ สพด. พระนครศรีอยุธยา. แหล่งข้อมุล: http://r01.ldd.go.th/aya/ News2017/2560/17-3-60-01.jpg ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563.

สายชล สุขญาณกิจ ธนภัทร ปลื้มพวก และ ธนวรรณ พาณิชพัฒน์. 2562. ผลของชนิดปุ๋ยพืชสดร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิต การดูดใช้ธาตุอาหารและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์ กข47 ที่ปลูกในชุดดินอยุธยา. วารสารเกษตร. 35: 61-74.

สายชล สุขญาณกิจ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และ ธนภัทร ปลื้มพวก. 2560. ผลของการจัดการฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยพืชสดต่อสมบัติทางเคมีของดินในชุดดินอยุธยา. หน้า 2507-2517. ใน: รายงานการประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 14 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2558/2559. แหล่งข้อมูล: www.ayutthaya.doae.go.th/index_files/pakart/datayutthaya.pdf. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2559.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเสริมสร้างศักยภาพการใช้ประโยชน์และพัฒนาสายน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก (ระยะที่ 3) กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. ปทุมธานี.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557. ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. วารสารแก่นเกษตร. 42: 369-347.

Balasubramanian, D., K. Arunachalam, A. Arunachalam, and A.K. Das. 2013. Effect of Water Hyacinth (Eichhornia crassipes) Mulch on Soil Microbial Properties in Lowland Rainfed Rice-Based Agricultural System in Northeast India. Agricultural Research. 2: 246–257.

Bejbaruah, R., R.C. Sharma, and P. Banik. 2013. Split application of vermicompost to rice (Oryza sativa L.): its effect on productivity, yield components, and N dynamics. Organic Agriculture. 3: 123-128.

FAO Project Staff and Land Classification Division. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Land Development Department, Ministry of Agriculture and Co-operative, Bangkok.

Gopinath, K.A., B. Venkateswarlu, B.L. Mina, K.C. Nataraja, and K.G. Devi. 2004. Utilization of vermicompost as a soil amendment in organic crop production. Dynamic Soil Dynamic Plant. 4(Special Issue 1): 48-57.

Huy, V., and C.B. Iwai. 2019. Effect of vermicompost tea on seed germination of Green Romaine (Lactuca sativa L. var. Jericho) and Green Batavia (Lactuca sativa L.var Concept) Lettuce. Khon Kaen Agriculture Journal. 47: 399-408.

Mahmood, F., I. Khan, U. Ashraf, T. Shahzad, S. Hussain, M. Shahid, M. Abid, and S. Ullah. 2017. Effects of organic and inorganic manures on maize and their residual impact on soil physicochemical properties. Journal of Soil Science and Plant Nutrition. 17: 22-32.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Resources Conservation Service, USDA, Washington D.C.

Sehar, T., M.Y. Zargar, and Z.A. Baba. 2015. Physical properties of vermicompost by locally isolated earthworms from temperate Kashmir region. International Journal of Current Research. 7: 23982-23987.