สมบัติของดินในระบบวนเกษตรที่มีกาแฟเป็นพืชหลักในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ลือศักดิ์
นิวัติ อนงค์รักษ์
ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ
สุนทร คำยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเปรียบเทียบสมบัติของดินในระบบวนเกษตรที่มีกาแฟเป็นพืชหลัก 6 บริเวณ และป่าธรรมชาติ 2 บริเวณ ของ 3 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมของดินในการปลูกกาแฟอาราบิกา โดยศึกษาสัณฐานวิทยา สมบัติทางกายภาพและเคมีของดินตลอดชั้นที่เป็นดิน ผลการประเมินพบว่าดินส่วนใหญ่อยู่ในอันดับอัลทิซอลส์ เป็นดินลึกถึงลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียว ส่วนใหญ่มีการสะสมดินเหนียวในดินล่าง ปริมาณกรวด ความหนาแน่นรวมของดิน และค่าความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มีค่าใกล้เคียงกัน ปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุ ดินบนมีค่าสูงกว่าดินล่าง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ อยู่ในระดับสูง ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนและค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ดินบนมีค่าสูงกว่าดินล่าง ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินบนมีค่าสูงกว่าดินล่าง จากการประเมินความเหมาะสมแสดงว่าดินที่ปลูกกาแฟอาราบิกา ส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการกักเก็บธาตุอาหารในดิน มีค่าใกล้เคียงกัน การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพืช แปลงป่าธรรมชาติมีค่าสูงกว่าแปลงระบบวนเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมแผนที่ทหาร. 2542a. แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 อำเภอเมืองปาน (4846 I) ลำดับชุด L7018. กระทรวงกลาโหม, กรุงเทพฯ.

กรมแผนที่ทหาร. 2542b. แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 อำเภอแม่แตง (4747 II) ลำดับชุด L7018. กระทรวงกลาโหม, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. สถานภาพทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร. 2561. กาแฟ. แหล่งข้อมูล: https://agri.dit.go.th/file/micro/711-9.-%E0%B8%81%
E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%
B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A2_61.pdf. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563.

กองสำรวจและจำแนกดิน. 2543. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คํา นิลาวงศ์, วิทยา ตรีโลเกศ, และอนันต์ พลธานี. 2552. การประเมินคุณภาพของดินสำหรับการผลิตกาแฟ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารแก่นเกษตร. 37(4): 293-302.

ถนอม คลอดเพ็ง. 2528. วิธีการของปฐพีฟิสิกส์วิเคราะห์. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มูลนิธิโครงการหลวง. 2555a. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย. แหล่งข้อมูล: http://royalprojectthailand.com/
nonghoi. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.

มูลนิธิโครงการหลวง. 2555b. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน. แหล่งข้อมูล: http://royalprojectthailand.com/
huainamrin. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.

มูลนิธิโครงการหลวง. 2555c. สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด. แหล่งข้อมูล: http://www.royalprojectthailand.com/
station-maelod. ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.

วีรภัทร สุวรรณวงศ์. 2556. อิทธิพลทางนิเวศวิทยาของวนเกษตรบนพื้นที่สูงต่อการสะสมคาร์บอน ธาตุอาหารและน้ำ ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. 2560. พื้นที่การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ ปี 2560 จังหวัดเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล: http://
www.chiangmai.doae.go.th/Plan_Year/stat_plantproduction60-61.pdf. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563.

สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 3. 2531. แร่แมงกานีสกับการทดสอบและการใช้ประโยชน์. ฝ่ายการเหมืองแร่, เชียงใหม่.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2558. กาแฟอาราบิกาเชียงใหม่ 80. แหล่งข้อมูล: http://www.acfs.
go.th/read_news.php?id=11815&ntype=09. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2562. พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. 2547. คู่มือการเขียนหน่วยแผนที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สุนทร คำยอง. 2558. ดินป่าไม้: ธรรมชาติของดินป่าไม้ในประเทศไทย. ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อานนท์ เทิดไพรพนาวัลย์. 2557. ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน ธาตุอาหารและน้ำของระบบนิเวศวนเกษตร บริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2552. คู่มือปฏิบัติการ การสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Brady, N.C., and R.R. Weil. 2017. The Nature and Properties of Soils. 15th Edition. Pearson Education, Inc., New Jersey.

Bray, R.H., and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available form of phosphorous in soil. Soil Science. 59: 39-45.

Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham, and P.A. McDaniel. 2011. Soil Genesis and Classification. 6th Edition. John Wiley and Sons, Inc., New York.

Day, P.R. 1965. Particle fractionation and particle-size analysis. P.545-567. In: C.A. Black (ed.). Method of Soil Analysis. Part 1. Physical and Mineralogical Properties, Including Statistics of Measurement and Sampling. No. 9. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Fisher, R.F., and D. Binkley. 2013. Ecology and Management of Forest Soils. 4th Edition. John Wiley and Sons, Inc., New York.

Gee, G.W., and J.W. Bauder. 1986. Particle-size analysis. P.383-409. In: A. Klute (ed.). Methods of Soil Analysis. Part 1. Physical and Mineralogical Methods. 2nd Edition. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Kerbs, C.J. 1985. Ecology: The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. USA: Harper and Row Publishers, New York.

Nair, P.K.R. 1989. Agroforestry Systems in the Tropics. Wolters Kluwer, Dordrecht.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Invest Rept. No. 42, Version 3.0. U.S. Dept. of Agr., U.S. Government Printing Office, Washington, DC.

Nelson, D.W., and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon and organic matter. P.961-1010. In: J.M. Bigham (ed.). Method of Soil Analysis. Part 3. Chemical Methods. No. 5. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Pratt, P.F. 1965. Potassium. P.1022-1030. In: C.A. Black (ed.). Methods of Soil Analysis. Part 2. Chemical and Microbiological Properties. Agron. No. 9. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Sanchez, P.A., C.A. Palm, and S.W. Buol. 2003. Fertility capability soil classification: a tool to help assess soil quality in the tropics. Geoderma. 114: 157-185.

Soil Survey Staff. 2014. Key to Soil Taxonomy. 12th Edition. USDA-NRCS, Washington, DC.

Summer, M.E., and W.P. Miller. 1996. Cation exchange capacity and exchange coefficients. P.1201-1230. In: J.M. Bigham (ed.). Method of Soil Analysis. Part 3. Chemical Methods. No. 5. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Tsutsumi, T., K. Yoda, P. Dhanmanonda, and B. Prachaiyo. 1983. Forest: Felling, burning and regeneration. P.13-62. In: K. Kyuma and C. Pairntra (eds.). Shifting Cultivation: An experiment at Nam Phrom, Northeast Thailand and Its Implications for Upland Farming in the Monsoon Tropics. Kyoto University, Japan.