การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกถั่วเหลืองนอกฤดู ในสถานีทดลอง เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตถั่วเหลือง ในปัจจุบันพันธุ์ถั่วเหลืองที่นิยมนำมาปลูกมีจำนวนน้อยและมีความจำเพาะกับสภาพแวดล้อม ทำให้ระบบการปลูกมีข้อจำกัดและเมล็ดพันธุ์มีไม่เพียงพอ ดังนั้นการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพเมล็ด ของสายพันธุ์ถั่วเหลืองในระบบการปลูกถั่วเหลืองนอกฤดู เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกฤดู การทดลองครั้งนี้ได้นำสายพันธุ์ถั่วเหลืองอายุเก็บเกี่ยวสั้น อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง และอายุเก็บเกี่ยวยาว จำนวน 20 สายพันธุ์ คือ NS1, CM60, SJ5, Khon Kaen, 44*Ly-4E, 44*Ly-14E, 40*Ly-15, 42*Ly-50-2, 44*Ly-6-1-2-7, 44*Lh-4, 38D*a-16, KKU74, KKU5e, 74-T4, 223*Lh-85, 76*B-14-1-3, 35*m-4, 35* Lh–7, 35*SJ-32 และ KKU35 มาปลูกทดสอบศักยภาพการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ด ทำการปลูกในฤดูแล้ง และฤดูฝน ปีพ.ศ. 2559 ที่แปลงทดสอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ถั่วเหลืองสายพันธุ์ KKU74 และ 223*Lh-85 เป็นสายพันธุ์ถั่วเหลืองอายุเก็บเกี่ยวปานกลางที่ให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 206.9 – 239.5 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนที่ปลูกทดลองนอกฤดูปลูก จึงเป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้ในการปลูกถั่วเหลืองในช่วงดังกล่าวเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูกในฤดูกาลปกติ แต่ต้องควบคุม และเฝ้าระวังการระบาดของแมลงในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาศักยภาพสายพันธุ์ถั่วเหลืองนอกฤดูปลูกซึ่งอาจทำให้ถั่วเหลืองแต่ละสายพันธุ์ให้ผลผลิตไม่ตรงตามศักยภาพของสายพันธุ์ ดังนั้นการทดสอบเปรียบเทียบในฤดูปลูกที่แตกต่างกัน และหลากหลายสถานที่จึงจำเป็นสำหรับการประเมินศักยภาพก่อนส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองแก่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย, 2559. ข้อมูลการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช: หนอนเจาะฝักถั่ว (Pea pod borer). กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: http://www.ppsf.doae.go.th/pest_management/index_legumes/pea_pod_borer/pea_pod_borer.html. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563.
นิลุบล ทวีกุล และ ละอองดาว แสงหล้า. 2553. วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง. สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ
สถาบันวิจัยพืชไร่. 2554. เอกสารวิชาการการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีคุณภาพดี. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. 78 หน้า.
สนิท ลวดทอง จรูญ พรหมชุม และ จิรวัฒน์ สนิทชน. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น ระยะที่ 2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 185 หน้า.
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2562. สารสนเทศเศรษฐกิจรายสินค้า 2562. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/soybeans%20dit%2061.pdf.ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
Ernest, E.G. 2018. Managing spider mites in soybean and vegetables. Weekly Crop Update. Available: https://sites.udel.edu/weeklycropupdate/?p=12116. Accessed April 13, 2020.
Hodgson, E. 2016. Spider mite injury confirmed in soybean. Integrated Crop Management, Iowa State University of Science and Technology. Available: https://crops.extension.iastate.edu/cropnews/2016/07/spider-mite-injury-confirmed-soybean. Accessed April 13, 2020.
Hwang, S. Y. and T. T. Vantoai. 1990. Activities of proteinases in maize and soybean root in response to anoxia stress. Plant and Soil. 126: 127-132.
Ivanov, D. S., J. D. Lević and S. A. Sredanović. 2011. Fatty acid composition of various soybean products. Food and Feed Research. 2: 65–70.
Johnson, H. W. and R. L. Bernard. 1962. Soybean genetics and breeding. Advances in Agronomy. 14: 149-221.
Knodel, J. 2013. Spider mites in soybeans. Soybean Aphids and Spider Mites Update, Crop and Pest Report. NDSU Crop Publications. Available: https://www.ag.ndsu.edu/crops/soybean-articles/spider-mites-in-soybeans. Accessed April 13, 2020.
Kuswantoro, H., S. Y. I. B. Marida, B. Yuliantoro and W. Tengkano. 2017. Resistance of advanced soybean lines to pod borrer (Etiella zinckenella). Biosaintifika. 9(2): 317-324.
Qiu, L., R. Chang, J. Sun, X. Li, Z. Cui and Z. Li. 1999. The history and use of primitive varieties in Chinese soybean breeding. p. 165–172. In: H.E. Kauffman (ed.) Proc. World Soybean Res. Conf. VI, Chicago, IL. 4–7 Aug. 1999. Superior Print., Champaign, IL.
R Development Core Team. 2010. R: A Language and Environment for Statistical Computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria.
Wright, R. and J. Peterson. 2016. Managing spider mites in corn and soybean. IANR Media. Available: https://cropwatch.unl.edu/2016/managing-spider-mites-corn-and-soybean. Accessed April 13, 2020.