การประเมินการปนเปื้อน และการฟื้นตัวของสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียน จากสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ภายหลังเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง

Main Article Content

เศรษฐ์ ไกรทัศน์
เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์
ทรงเผ่า สมัชชานนท์
เยาวลักษณ์ มั่นธรรม
ชาคริต เรืองสอน
อรอิงค์ เวชสิทธิ์
ณิศรา ถาวรโสตร์

บทคัดย่อ

การประเมินการปนเปื้อน และการฟื้นตัวของสัตว์ทะเลกลุ่มปลา (Fishes) และครัสเตเชียน (Crustaceans) จากสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ภายหลังเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง ดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มปลาและกลุ่มครัสเตเชียน จากประมงพื้นบ้าน แล้วทำการสกัดด้วยวิธี Automated soxhlet extraction ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวม (TPH) ในเนื้อสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียนมีค่าอยู่ในช่วง 0.01-20.30 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งพื้นที่ๆ มีการปนเปื้อนของ TPH ในสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและครัสเตเชียนสูงที่สุด ได้แก่ พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของชายฝั่งจังหวัดระยองซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำมันที่รั่วสูง รองลงมา คือ พื้นที่บริเวณอ่าวเพ และพื้นที่บริเวณฝั่งตะวันตกของชายฝั่งจังหวัดระยอง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการปนเปื้อนของ TPH ในเนื้อสัตว์ทะเลกลุ่มปลาและกลุ่มครัสเตเชียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.03) การปนเปื้อนของ TPH ในสัตว์ทะเลดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตามเวลา โดยปลาทรายขาวแถบน้ำตาล (Scolopsis monogramma) ต้องใช้เวลา 193 วัน เพื่อให้การปนเปื้อนของ TPH มีค่า 0.30 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของกลุ่มปลาตลอดการศึกษาในครั้งนี้ ส่วนปูม้า (Portunus pelagicus) ต้องใช้เวลา 468 วัน เพื่อให้การปนเปื้อนของ TPH มีค่า 0.01 มคก./ก. น้ำหนักแห้ง ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของกลุ่มครัสเตเชียนตลอดการศึกษาครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2553. การคาดการณ์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมันในทะเล ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และแนวทางจัดการแก้ไข. ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.

ทรงเผ่า สมัชชานนท์, เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ และ พฤหัส จันทร์นวล. 2558. การปนเปื้อนของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดระยอง. น. 1211-1218. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 (สาขาประมง) 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล และ ศุภวัตร แซ่ลิ้ม. 2527. ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในอ่าวไทยตอนบน. รายงานปัญหาพิเศษ. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัตนา มั่นประสิทธิ์. 2560. การประเมินผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ามันดิบต่อคุณภาพแหล่งประมง และทรัพยากรประมงบริเวณจังหวัดระยอง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2560. กรมประมง, กรุงเทพฯ.

ศุภวัตร กาญจน์อติเรกลาภ และสุธิดา กาญจน์อติเรกลาภ. 2562. การปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในหอยสองฝา บริเวณชายฝั่งทะเล ประเทศไทย. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2562. กรมประมง, กรุงเทพฯ.

สุวัจน์ ชุณหรัตน์. 2558. ผลกระทบจากการปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุธิชา ภูเก้าแก้ว, จรวย สุขแสงจันทร์, เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ และธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์. 2557. การศึกษาความหนาแน่นและพฤติกรรมของปูทหาร (Dotilla wichmani) หลังจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลเข้าอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. น.548-554. ใน ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 4 วันที่ 10-12 มิถุนายน 2557. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สาวิตรี ชูบุบผา, เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ และ ณิศรา ถาวรโสตร์. 2558. การปนเปื้อนของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมใน น้ำทะเลบริเวณชายฝั่ง จังหวัดระยอง. น. 1131-1141. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 (สาขาประมง) วันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR). 1999. Toxicological profile for total petroleum hydrocarbons (TPH). U.S. Department of Health and human Services. Atlanta, Georgia.

Ansari, Z., C. Desilva, and S. Badesab. 2012. Total petroleum hydrocarbon in the tissues of some commercially important fishes of the Bay of Bengal. Marine Pollution Bulletin. 64: 2564-2568.

Neff, J., B. Cox, D. Dixit, and J. Anderson. 1976. Accumulation and Release of Petroleum-Derived Aromatic Hydrocarbons by Four Species of Marine Animals. Marine Biology. 38: 279-289.

Hussein, I., A. Shafy, and M. Mansour. 2016. A review on polycyclic aromatic hydrocarbons: source, environmental impact, effect on human health and remediation. Egyptian Journal of Petroleum. 25: 107–123.

Suwanagosoom, S. 2001. Accumulation of total petroleum hydrocarbon in marine food chain around Phe bay, Rayong province. M.S.Thesis. Mahidol University, Bangkok.

Tolosa, I., S. Mora, S. Fowler , J. Villeneuve, J. Bartocci, and C. Cattini. 2005. Aliphatic and aromatic hydrocarbons in marine biota and coastal sediments from the Gulf and the Gulf of Oman. Marine Pollution Bulletin. 50: 1691-1633.

Wheerler, R. B. 1978. The Fate of Petroleum in the Marine Environment (Special Report). Exxon Production Research Company, Houston, TX, USA.