ผลของยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ต่อค่าโภชนะและค่าการย่อยได้ในหลอดทดลอง ของรำละเอียด

Main Article Content

วนิดา เบี้ยทอง
ดรุณี ศรีชนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะ และค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองของรำละเอียดที่หมักร่วมกับน้ำยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ หมักไว้ที่ระยะเวลา 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่ารำละเอียดที่ไม่มีการหมักน้ำยีสต์มีค่าวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ และไขมัน สูงกว่า (P<0.05) รำละเอียดที่หมักร่วมกับน้ำยีสต์ที่ระดับและระยะเวลาต่างๆ โดยพบอยู่ในช่วง 91.45-94.66, 93.03-93.89 และ16.11-16.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การหมักรำละเอียดด้วยน้ำยีสต์ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 0-4 สัปดาห์ ส่งผลให้รำละเอียดมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด (P<0.05) อยู่ในช่วง 22.99-23.57 เปอร์เซ็นต์ และการใช้น้ำยีสต์ 30 เปอร์เซ็นต์ หมักที่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำให้รำละเอียดมีปริมาณ NDF ต่ำที่สุด (P<0.05) คือ 24.40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะการหมักรำละเอียดร่วมกับน้ำยีสต์ ส่งผลให้ปริมาณ ADF ของมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น (P<0.05) จากการศึกษานี้ยังพบว่าการหมักรำละเอียดร่วมกับน้ำยีสต์ที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาหมัก 3-4 สัปดาห์ ส่งผลให้ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และอินทรียวัตถุในหลอดทดลอง มีค่าสูงที่สุด (P<0.05) อยู่ในช่วง 81.74-82.66 และ 83.19-84.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

สิทธิศักดิ์ คำผา, อุทัย โคตรดก และ สมมาศ อิฐรัตน์. 2553. การศึกษาการเพิ่มคุณค่ากากมันสำปะหลังหมักยีสต์-มาเลทและใบมันสำปะหลังเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นที่มีมันเส้นเป็นองค์ประกอบระดับสูงต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนและประสิทธิภาพการสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีนในโคเนื้อ. งานวิจัยคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อธิปวัฒน์ ปลื้มกลาง. 2554. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิตของโคนมที่ได้รับอาหารที่มีรำข้าวที่ผ่านกระบวนการผลิตต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

AOAC. 1990. Official Method of Analysis. 15th Edition. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, V.A.

Boisen, S. 1991. A model for feed evaluation on in vitro digestible dry matter and protein. P.135-145 In: M. F. Fuller. In vitro Digest in Pigs and Poultry. Common Wealth Agriculture Bureaux International, Slough.

Goering, H. K. and Van Soest, P. J. 1970. Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and Some Applications). U.S. Government Printing Office, Washington DC.

Kamphayae, S., H. Kumagai, W. Angthong, R. Narmseelee, and S. Bureenok. 2017. Effects of different ratios and storage periods of liquid brewer’s yeast mixed with cassava pulp on chemical composition, fermentation quality and in vitro ruminal fermentation. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 30: 470-478

Raimbault, M. 1998. General and microbiological aspects of solid substrate fermentation. Electronic Journal of Biotechnology. 1: 174-188.

Van Zyl, W.H., L. R. Lynd, R. den Haan, and J. E. McBride. 2007. Consolidated bioprocessing for bioethanol production using saccharomyces cerevisiae. Advances in Biochemical Engineering/Biotechnology. 108: 205-235.

White, T. W. and F. G. Hembry. 1985. Rice by-products in ruminant rations. Louisiana Agricultural Experiment Station Reports. 771: 1-18.