ความรู้และการปฏิบัติในการผลิตกระวานของเกษตรกร อำเภอนาหม้อ จังหวัดอุดมไซ สปป.ลาว

Main Article Content

ดำดวน อำไพทิบ
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร
จุฑามาส คุ้มชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติในการผลิตกระวานของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ผลิตกระวานในอำเภอนาหม้อ จังหวัดอุดมไซ สปป.ลาว จำนวน 168 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 ถึงมกราคม ปี พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรร้อยละ 87.50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.88 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน มีพื้นที่ปลูกกระวานเฉลี่ย 12.04 ไร่/ครัวเรือน มีผลผลิตกระวานเฉลี่ยต่อไร่ 23.50 กก. และมีรายได้สุทธิจากการผลิตกระวานเฉลี่ยต่อไร่ 3,273.14 บาท ทั้งนี้เกษตรกรเกือบทั้งหมดไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารหรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับการผลิตกระวาน โดยภาพรวมเกษตรกรมีความรู้ในการผลิตกระวานระดับปานกลางและมีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้ในการผลิตกระวานของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน (ความสัมพันธ์เชิงบวก) และขนาดพื้นที่ปลูกกระวาน (ความสัมพันธ์เชิงลบ) ในขณะที่การปฏิบัติในการผลิตกระวานของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับเพศ ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน และรายได้สุทธิจากการผลิตกระวานต่อไร่ ข้อเสนอแนะสำคัญที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรถ่ายทอดเทคนิคการผลิตกระวานให้แก่เกษตรกร สนับสนุนการตลาดกระวานให้มีความมั่นคง และสนับสนุนการสร้างเตาอบให้เกษตรกรได้ใช้ในการอบแห้งกระวาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)
Author Biography

ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล, ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

กระทรวงเกษตรและป่าไม้. 2561. แผนที่การเกษตรของลาว, นครหลวงเวียงจันทน์.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. 2561. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

แก้วตา อนันต์วิไล. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีฆ่าแมลงของพริกหวานในตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จักรพันธ์ พรมเกี๋ยง กังสดาล กนกหงษ์ สายสกุล ฟองมูล และพุฒิสรรค์ เครือคำ. 2562. ความรู้และการปฏิบัติตามแนวเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วาสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร. 37: 52-63.

นวรัตน์ โพธิ์ศิริ สาวิตรี รังสิภัทร์ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 36: 381-393.

นัฏฐ์พณิชา สุภานันต์. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรในการควบคุมศัตรูพืชโดยใช้สารชีวภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

บุญธรรม จิต์อนันต์. 2540. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2559. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์, กรุงเทพฯ.

ไพรัช เทพแสงศรี. 2558. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกโครงการหลวงหนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

สำนักงานเกษตรและป่าไม้อำเภอนาหม้อ จังหวัดอุดมไซ สปป.ลาว. 2562. บทรายงานการติดตามกิจกรรมส่งเสริมการผลิตกระวาน ประจำปี 2562.

สีมอน วงคำฮ่อ และพุดทะวง สีโคด. 2559. คู่มือการผลิตกระวานเป็นสินค้า. สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์ป่าไม้ และพัฒนาชนบท, นครหลวงเวียงจันทน์.

อนุสรา สมสัก. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าอบรมการลดการเผาตอซังพืช ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อินทุอร สินธุชาติ ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2561. ความรู้และการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย. วารสารแก่นเกษตร. 46: 227-233.

เอมอร อังสุรัตน์. 2556. การวิจัยเชิงบูรณาการในงานส่งเสริมการเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Ashokkumara, K., M. Muthusamy, MK. Dhanyaa, D. Thomas, and Warkentin. 2020. Botany, traditional uses, phytochemistry and Biological activities of cardamom [elettaria cardamomum (L.) maton] a critical review. Journal of Ethnopharmacology. 146: 1-8.

Laos Upland Rural Advisory Service. 2018. Guangdong cardamom cultivation technique booklet.

Thomas, L., P. Rajeev, and P.C. Sanil. 2019. Trade competitiveness and export performance of Indian cardamom. Journal of Spices and Aromatic Crops. 28: 34-42.