ปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกรผู้ผลิตผ้าครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

วณัฐญา งอยผาลา
ชลาธร จูเจริญ
ธานินทร์ คงศิลา
สุภาภรณ์ เลิศศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม การปฏิบัติในการเตรียมการผลิตผ้าคราม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของเกษตรกรผู้ผลิตผ้าครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จากกลุ่มตัวอย่างผู้ผลิตผ้าครามจำนวน 115 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสุ่มเป็นสัดส่วน และขั้นสุดท้ายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ผลิตผ้าครามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.82 ปี สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ในการผลิตผ้าครามเฉลี่ย 9.48 ปี อาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน และไม่มีการจ้างแรงงาน มีรายได้เฉลี่ย 55,504.34 บาท/ปี รายจ่ายเฉลี่ย 25,661.73 บาท/ปี ใช้เงินสะสมส่วนตัวในการผลิต ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล คือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนทางโทรทัศน์และวิทยุ การปฏิบัติในการเตรียมการผลิตผ้าครามพบว่า ด้านการย้อมสีครามมีการปฏิบัติมากสุด และด้านบำรุงรักษามีการปฏิบัติน้อยสุด ความสำเร็จของเกษตรกรผู้ผลิตผ้าครามพบว่า ด้านดำเนินงานกลุ่มมีมากที่สุด และด้านการเงินมีน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสบการณ์ รายได้ รายจ่าย สื่อบุคคล และสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกรผู้ผลิตผ้าครามในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P<0.01 และ P<0.05) ปัญหาที่ได้พบคือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมทรัพย์ทางปัญญา. 2562. สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI Thailand). สำนักพิมพ์ บริษัท ออนป้า จำกัด, กรุงเทพฯ.

จิตราพรรณ ทันห่วง. 2557. อิทธิพลของสื่อต่อการรับรู้และความต้องการข่าวสารเทคโนโลยีการเกษตรอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

จุฑามาศ คมประมูล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2563. การตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในตำบลคลองไทร อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(2): 226-234.

ดวงฤทัย อรรคแสง และวิภาวี กฤษณะภูติ. 2552. กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมาชาติ. วารสารวิจัย มข ฉบับบัณฑิตศึกษา. 9(4): 135-147.

พรพิมล ปิยะพันธุ์. 2533. ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้นำต่อการได้รับความรู้ทางการเกษตรจากสื่อมวลชน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้. เชียงใหม่.

พรหมพันธุ์ เชษฐธง. 2543. “ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสำเร็จของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

มัฑนา ไชยจิตต์. 2552. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เกษตรศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ฤทัยรัตน์ แผนทอง. 2551. การเพิ่มผลผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มทอผ้าบ้านแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สนันทน์ ศิริเลิศสกุล. 2556. ศักยภาพการจัดการที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรชาวนาในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร. 2561. บรรยายสรุปจังหวัดสกลนคร. แหล่งข้อมูล: https://district.cdd.go.th/phannanikhom/wp-content/uploads/sites/666/2017/04/sakon1.pdf. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. 2561. แผนพัฒนาการเกษตรจังหวัดสกลนคร ปี 2563-2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2562. แหล่งข้อมูล: http://www.sakonnakhon.doae.go.th/wordpress/wp-content/uploads/2020/02/แผนพัฒนาการเกษตรจังหวัดสกลนคร-ปี-2563-64.pdf. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564.

สุทิศา ซองเหล็กนอก, สมาน ลอยฟ้า และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. 2558. กระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มธุรกิจชุมชนผ้าย้อมคราม. วารสารวิจัย มข ฉบับบัณฑิตศึกษา. 15(3): 1-13.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. 1970. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–610.

Liangtie, D., and S. Fuhui. 2016. Subjective Career Success: A Literature Review and Prospect. Journal of Human Resource and Sustainability Studies. 4: 238-242.