ผลของแหล่งไนโตรเจนต่อการเติบโตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida)

Main Article Content

อัญชลี ตันไชยฮะ
พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล
อิสริยา วุฒิสินธุ์
มนทกานติ ท้ามติ้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) ที่เลี้ยงด้วย
ปุ๋ยไนโตรเจนต่างกันในห้องปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาการเติบโตของสาหร่าย มี 3 ชุดการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำคือ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงด้วยน้ำทะเล (T1) ชุดการทดลองที่ 2 เติมแอมโมเนียมคลอไรด์ให้มีความเข้มข้นของแอมโมเนียรวม
5 มก.-ไนโตรเจน/ล. (T2) และชุดการทดลองที่ 3 เติมโซเดียมไนเตรทให้มีความเข้มข้นของไนเตรท 5 มก.-ไนโตรเจน/ล. (T3) โดยชั่งน้ำหนักสาหร่ายและเปลี่ยนถ่ายน้ำ 100% ทุก ๆ 7 วัน ใช้ระยะเวลาทดลอง 21 วัน พบว่า สาหร่ายใน T2 และ T3 มีการเติบโต
ไม่แตกต่างกันและมีค่าสูงกว่า T1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายที่ได้จากการทดลองที่ 1 พบว่า สาหร่ายใน T2 และ T3 มีปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดไม่แตกต่างกันและมีค่าสูงกว่า T1 ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของทุกชุดการทดลองมีค่าไม่แตกต่างกัน แต่สาหร่ายใน T3 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงที่สุด (85.45 ± 1.12%) และแตกต่างจากชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังนั้น เราควรส่งเสริมให้เลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลด้วยการเติมปุ๋ยไนโตรเจน (แอมโมเนียมคลอไรด์) ในน้ำ เพราะทำให้สาหร่ายเติบโตดี มีปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดสูง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงที่สุด ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เภสัชกรรม และเครื่องสำอางได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จันทนา ไพรบูรณ์, และอนงค์ จีรภัทร์. 2558. ปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยตัวทำละลายจากสาหร่ายทะเล. แหล่งข้อมูล: https://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2558/KC5204022.pdf. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563.

จารุวรรณ สุพรรณพยัคฆ์, ปาริสุทธิ์ เฉลิมชัยวัฒน์, และทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. 2563. ผลของการอบแห้งสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) ต่อคุณภาพและการนำไปใช้ประโยชน์ในข้าวเกรียบ. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 48(2): 227-235.

จีรภา หินซุย, อุษา มากช่วย, และวิภาวรรณ โว้ยสิ้น. 2554. การผลิตสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) แผ่นทอดกรอบ. น. 517-526. ในประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 สาขาประมง 1-4 กุมภาพันธ์ 2554. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์, พลชา จิตรมิตรสัมพันธ์, ชัชรี แก้วสุรลิขิต, และอรรถวุฒิ กันทะวงศ์. 2556. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายทะเล. ในประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51 สาขาสัตวแพทยศาสตร์, สาขาประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

มนทกานติ ท้ามติ้น, ชัชวาลี ชัยศรี, ประพัฒน์ กอสวัสดิ์พัฒน์, จีรรัตน์ เกื้อแก้ว, และนฏา ไล้ทองคำ. 2559. คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) และการประยุกต์ใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931). กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

รติยา ธุวพาณิชยานันท์, ดลฤดี ใจสุทธิ์, และจันทนา ไพรบูรณ์. 2562. ผลของอุณหภูมิอบแห้งที่มีต่อจลนพลศาสตร์การอบแห้ง การใช้พลังงานในการอบแห้ง และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายผักกาดทะเล. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 50(2): 157-160.

วิชมณี ยืนยงพุทธกาล, สุวรรณา วรสิงห์, และพรนภา น้อยพันธ์. 2559. การเพิ่มมูลค่าสาหร่ายผักกาดทะเลโดยใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิชมณี ยืนยงพุทธกาล, สุวรรณา วรสิงห์, อาภัสรา แสงนาค, และนิสานารถ กระแสร์ชล. 2558. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากสาหร่ายผักกาดทะเลสำหรับเด็กวัยเรียน. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิรงรอง เลิศประเสริฐ, และวิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์. 2561. ผลของปุ๋ยยูเรียต่อการเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida

C. Agardh,1823). แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1228/14767. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563.

สิริลักษณ์ แก้วมณี. 2558. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งของเปปไทด์จากสาหร่ายผักกาดทะเล

Ulva rigida. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุวรรณา วรสิงห์. 2551. ผลของความเค็มที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida C. Agardh, 1823). สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุวรรณา วรสิงห์, ธวัช ศรีวีระชัย, อรุณ ศรีอนันต์, และภาคภูมิ วงศ์แข็ง. 2552. สัณฐานวิทยา การเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์ของสาหร่ายผักกาดทะเล Ulva rigida C. Agardh, 1823. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุวรรณา วรสิงห์, วนัสบดี นัยนิติกุล, และกวิน กลมกล่อม. 2560. ผลของความเข้มแสง อุณหภูมิ ปริมาณไนโตรเจนและฟอสเฟตที่มีต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida C. Agardh, 1826). กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุวรรณา วรสิงห์, สุภาพร ตั้งสิทธิวัฒน์, วันดี ผกามาศ, และภาคภูมิ วงศ์แข็ง. 2555. การเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล

(Ulva rigida C. Agardh, 1823) ที่เลี้ยงร่วมกับปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1970). สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อุไรวรรณ วัฒนกุล, วัฒนา วัฒนกุล, และมาโนช ขำเจริญ. 2562. คุณค่าทางโภชนาการ และสารพฤกษเคมีที่สำคัญในสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera) ที่เลี้ยงด้วยระดับธาตุอาหารต่างกัน. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, ตรัง.

เอกธิดา ทองเด็จ. 2553. ผลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต่อการเติบโตและองค์ประกอบทางชีวเคมีของสาหร่ายทะเล สกุล Caulerpa, Ulva และ Gracilaria. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Ale, M., J. D. Mikkelsen, and A. Meyer. 2011. Differential growth response of Ulva lactuca to ammonium and nitrate assimilation. Journal of Applied Phycology. 23: 345-351.

American Public Health Association, American Water Works Association and Water Environment Federation. 2017. Standard methods for the examination of water and wastewater. 23rd Edition. American Public Health Association. Washington, D.C.

Chew, Y. L., Y. Lim, M. Omar, and K. S. Khoo. 2008. Antioxidant activity of three edible seaweeds from two areas in South East Asi. LWT - Food Science and Technology. 41: 1067-1072.

Certain, C., L. D. Patrona, P. Gunkel-Grillon, A. Léopold, P. Soudant, F. Le Grand, and S. Camposeo. 2021. Effect of Salinity and Nitrogen Form in Irrigation Water on Growth, Antioxidants and Fatty Acids Profiles in Halophytes Salsola australis, Suaeda maritima, and Enchylaena tomentosa for a Perspective of Biosaline Agriculture. Agronomy. 11(3): 449.

Ilvessalo, H., and J. Tuomi. 1989. Nutrient availability and accumulation of phenolic compounds in the brown alga Fucus vesiculosus. Marine Biology. 101(1): 115-119.

Mahae, N., W. Chankaew, and V. Seechamnanturakit. 2014. Nutritional value of green seaweeds Ulva rigida and Ulva intestinalis." Kasetsart University Fisheries Research Bulletin (Thailand). 38(1): 20-29.

Mezghani, S., C. Dezső, I. Bourguiba, J. Hohmann, A. Mohamed, and M. Bouaziz. 2016. Characterization of Phenolic Compounds of Ulva rigida (Chlorophycae) and Its Antioxidant Activity. European Journal of Medicinal Plants. 12: 1-9.

Moustafa, Y. T. A., G. Bougaran, M. Callier, and J.-P. Blancheton. 2014. Bio-physiological response of biofilter algal candidate Ulva sp. to different nitrogen forms and fluxes. International journal of plant physiology and biochemistry. 6(7): 71-79.

Munene, R., E. Changamu, N. Korir, and J. Gweyi. 2017. Effects of different nitrogen forms on growth, phenolics, flavonoids and antioxidant activity in amaranth species. Tropical Plant Research. 4(1): 81-89.

Nouriyani, H., E. Majidi, S. Seyyednejad, S. Siadat, and A. Naderi. 2012. Effect of Paclobutrazol under Different Levels of Nitrogen on Some Physiological Traits of Two Wheat Cultivars (Triticum aestivum L.). World Applied Sciences Journal. 16(1): 1-6.

Sánchez-Saavedra, M. d. P., F. Y. Castro-Ochoa, V. M. Nava-Ruiz, D. A. Ruiz-Güereca, A. L. Villagómez-Aranda,

F. Siqueiros-Vargas, and C. A. Molina-Cárdenas. 2018. Effects of nitrogen source and irradiance on Porphyridium cruentum. Journal of Applied Phycology. 30(2): 783-792.

Sasaki, K., and Y. Sawada. 1980. Determination of ammonia in estuary. Bulletin of the Japanese Society of Scientific Fisheries. 46(3): 319-321.

Shakouri, A., and G. M. Balouch. 2020. The effects of nitrate and phosphate on growth of algae, Ulva rigida. IFRO 19(1): 59-66.

Strickland, J. D. H., and T. R. Parsons. 1972. A practical handbook of seawater analysis, Ottawa, Fisheries Research Board of Canada.

Sudhakar, P., P. Latha, and P. V. Reddy. 2016. Chapter 15 - Plant pigments. In Phenotyping Crop Plants for Physiological and Biochemical Traits (pp. 121-127). Academic Press.

Trigui, M., L. Gasmi, I. Zouari, and S. Tounsi. 2013. Seasonal variation in phenolic composition, antibacterial and antioxidant activities of Ulva rigida (Chlorophyta) and assessment of antiacetylcholinesterase potential. Journal of Applied Phycology. 25(1): 319-328.

Vega, J., F. Álvarez-Gómez, L. Güenaga, F. L. Figueroa, and J. L. Gómez-Pinchetti. 2020. Antioxidant activity of extracts from marine macroalgae, wild-collected and cultivated, in an integrated multi-trophic aquaculture system. Aquaculture. 522: 735088.

Yildiz, G., S. Celikler, O. Vatan, and S. Dere. 2011. Determination of the Anti-Oxidative Capacity and Bioactive Compounds in Green Seaweed Ulva rigida C. Agardh. International Journal of Food Properties. 15(6): 1182-1189.

Zehlila, A., A. Schaumann, A. B. Mlouka, I. Bourguiba, J. Hardouin, O. Masmoudi, P. Cosette, M. Amri, and T. Jouenne. 2017. Glioprotective effect of Ulva rigida extract against UVB cellular damages. Algal Research. 23: 203-215.

Zhang, W.-W., X.-J. Duan, H.-L. Huang, Y. Zhang, and B.-G. Wang. 2007. Evaluation of 28 marine algae from the Qingdao coast for antioxidative capacity and determination of antioxidant efficiency and total phenolic content of fractions and subfractions derived from Symphyocladia latiuscula (Rhodomelaceae). Journal of Applied Phycology. 19(2): 97-108.