การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการรู้จำโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ของข้าว

Main Article Content

เตชินท์ วรสิทธิ์
ธีระ ภัทราพรนันท์
ธีรยุทธ ตู้จินดา
วสิน สินธุภิญโญ
กรรณทิพย์ กิรติรัตนพฤกษ์
พิชญกาญจน์ เต็มนิรันรัตน์
อภิชน กิจวิมลรัตน์
จินตนา อันอาตม์งาม
สุจินต์ ภัทรภูวดล

บทคัดย่อ

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจัยที่ทำให้ข้าวมีคุณภาพและผลผลิตลดลงส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของโรค โดยโรคที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ได้แก่ โรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้ของข้าว ซึ่งมีรายงานการเข้าทำลายข้าวได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงออกรวง สร้างความเสียหายถึง 50% สำหรับโรคขอบใบแห้ง และ 0.4-100% สำหรับโรคไหม้ หากมีการวินิจฉัยโรคข้าวได้ถูกต้องและรวดเร็วก็จะสามารถลดความเสียหายของผลผลิตได้ รวมถึงการตัดสินใจเลือกวิธีในการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการรู้จำโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ของข้าวและพัฒนาระบบจำแนกชนิดโรคทั้งสองจากภาพถ่ายอาการของโรคในสภาพแปลงนา  ผลการทดสอบพบว่าเทคนิคเรียนรู้เชิงลึก YOLOv3 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรู้จำโรคทั้งสอง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการจำแนกของโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้อยู่ที่ 90.33% และ 86.46% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อทวนสอบความถูกต้องของระบบที่พัฒนาขึ้นกับภาพถ่ายที่ไม่เคยนำมาใช้ในการพัฒนาระบบ พบว่าความความถูกต้องในการจำแนกโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ลดลงเหลือ 87.5% และ 74.0% ตามลำดับ การศึกษานี้มีค่าเฉลี่ยความถูกต้องของระบบ (mean average precision ,mAP) ในการวินิจฉัยทั้งสองโรคอยู่ที่ 79.19% เมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้า ถือว่า YOLOv3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการวินิจฉัยภาพอาการของโรคในสภาพแปลงนา และพบว่าหากเพิ่มชนิดโรคในการพัฒนาระบบรู้จะทำให้ค่าความถูกต้องเฉลี่ยของระบบรู้จำลดน้อยลง  ซึ่งเป็นผลมาจากคุณภาพของภาพถ่ายลักษณะอาการ รวมถึงความคล้ายกันของลักษณะอาการในหลายๆโรค งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาระบบรู้จำด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกในการจำแนกชนิดของโรคข้าวด้วยภาพที่มีความถูกต้อง ซึ่งจะนำมาพัฒนาแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือในการจำแนกโรคข้าวด้วยภาพถ่ายควบคู่กับคำแนะนำจากนักโรคพืชที่จะรองรับการใช้งานจริงของเกษตรได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพทันต่อการระบาดของโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/rkb3/contacts.htm. ค้นถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2564.

คมชัดลึก. 2562 . ลามหนัก โรคไหม้คอรวงข้าวระบาด ระดมไตรโคเดอร์มาป้องกัน. แหล่งข้อมูล: https://www.komchadluek.net/news/agricultural/396560. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2563.

ปริศนา วงค์ล้อม. 2558. การประเมินโครงสร้างประชากรของเชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzae สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์ และ วีณา เมฆวัฒนากาญจน์. 2559. โรคไหม้ของข้าว. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์, พะยอม ศรีจำปา, อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ, ถนอมจิตร์ ฤทธิ์มนตรี, กุลชนา เกศสุวรรณ, ธวัทชัย พรหมรักษา และสงวน เที่ยงดีฤทธิ์. ม.ป.ป.. ผลงานวิจัยฉบับเต็มเพื่อขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 8 ว. / พูนศักดิ์เมฆวัฒนากาญจน์. อุบลราชธานี. กลุ่มวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4.

วิชัย โฆสิตรัตน. 2549. บทปฏิบัติการแบคทีเรียโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2562. รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร วันที่ 4 ธันวาคม 2562. แหล่งข้อมูล: https://www.moac.go.th/warning-preview-412991791943. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2564.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2562, กรุงเทพมหานคร.

สรินนา อ่ำรุ่ง, ธิดา เดชฮวบ, เนตรนภิส เขียวขำ, อรอุมา เพียซ้าย, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ ศรีเมฆ ชาวโพงพาง. 2561. การจำแนกเชื้อรา Pyricularia species ที่แยกจากข้าวและหญ้าด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา และ Pot2 rep–PCR Identification of Pyricularia Species Isolated from Rice and Grasses using Morphological Characteristics and Pot2 rep–PCR.

วิทยาศาสตร์เกษตร. 49 (1): 27–43.

สุคนธา เจริญศรี. 2546. สารจากพืชสกุล aglaia (meliaceae) ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อรา Pyricularia oryzae cav. สาเหตุโรคไหม้ในข้าว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (พฤกษศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

อาทิตย์ กุคำอู. 2560. เทคโนโลยีการผลิตข้าวนาชลประทาน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. พิษณุโลก.

Adachi, N., and O. K. U. Takashi. 2000. PCR-mediated detection of Xanthomonas oryzae pv. oryzae by amplification of the 16s–23s rdna spacer region sequence. Journal of General Plant Pathology. 66: 303-309.

Disthaporn, S. 1994. Current rice blast epidemics and their management in Thailand. Rice Blast Disease, CAB International, Wallingford, UK.

Feng, J., L. Yang, C. Yu, C. Di, and L. Gongfa. 2020. Image recognition of four rice leaf diseases based on deep learning and support vector machine. Computers and Electronics in Agriculture. 179: 1-9.

International Rice Research Institute. n.d. Rice Knowledge Bank Your information source for rice farming. Retrieved February 12, 2021, from http://www.knowledgebank.irri.org/decision-tools/rice-doctor/rice-doctor-fact-sheets.

International Rice Research Institute. 2013. Standard Evaluation System for Rice. 5th Edn., International Rice Research Institute, Manila, Philippines.

Kiratiratanapruk, K.., P. Temniranrat, A. Kitvimonrat, W. Sinthupinyo, and S. Patarapuwadol. 2020. Using Deep Learning Techniques to Detect Rice Diseases from Images of Rice Fields. IEA/AIE International Conference on Industrial, Engineering and Other Applications of Applied Intelligent Systems. Springer. 12144: 225-237.

Kauffman, H.E., A. Reddy, S.P.Y. Hsieh, and S.D. Merea. 1973. An improved technique for evaluating resistance of rice varieties to Xanthomonas oryzae pv. oryzae. Plant Disease Reporter. 57: 537-541.

Mew, T. W. 1989. An overview of the world bacterial blight situation, P. 7 - 12. In Proceedings of the International Workshop on Bacterial Blight of Rice. The International Rice Research Institute. Manila, Philippines.

Mohan, KJ., M. Balasubramanian, and S. Palanivel. 2016. Detection and recognition of diseases from paddy plant leaf images. International Journal of Computer Applications. 144: 34–41.

Ou, S.H. 1985. Rice diseases. 2nd. Commonwealth Mycological Institute, Kew, United Kingdom.

Phadikar, S., J. Sil, and A.K. Das. 2012. Classification of rice leaf diseases based on morphological changes. International Journal of Information and Electronics Engineering. 2: 460-463.

Prabira, K.S., K.B. Nalini, K.R. Amiya, and K.B. Santi. 2020. Image processing techniques for diagnosing rice plant disease : A survey. Procedia Computer Science. 167: 516-530.

Yao, Q., Z. Guan, Y. Zhou, J. Tang, Y. Hu, and B. Yang. 2009. Application of Support Vector Machine for Detecting Rice Diseases Using Shape and Color Texture Features, pp. 79 – 83. In Proceedings of the International Conference on Engineering Computation 2-3 May 2009. Hong Kong, China.