ผลของการใช้ปุ๋ยหมักคุณภาพสูงต่อผลผลิต คุณภาพ และประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนของข้าวปทุมธานี 1 ที่ปลูกในชุดดินสรรพยา

Main Article Content

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์
ธนวดี พรหมจันทร์

บทคัดย่อ

การจัดการปุ๋ยและความอุดมสมบูรณ์ของดินมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชรวมถึงผลกำไรของระบบการปลูกข้าว การใช้วัสดุเศษเหลือหรือของเสียจากการเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม เช่น กากตะกอนอ้อยและขี้เถ้าชานอ้อยที่ได้จากอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย มาผลิตเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพสูงเป็นหนึ่งในแนวทางในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักคุณภาพสูงที่ผลิตจากกากตะกอนอ้อยและขี้เถ้าชานอ้อยที่มีต่อลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิต ประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ยของพืชและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกในชุดดินสรรพยา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (completely randomized block design, RCBD) มี 4 ซ้ำ สิ่งทดลอง คือ รูปแบบของปุ๋ยและการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกัน มี 4 ตำรับการทดลอง ดังนี้ 1) การไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มควบคุม; C) 2) การใส่ปุ๋ยหมักคุณภาพสูงให้มีปริมาณธาตุไนโตรเจนเท่ากับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือ อัตรา 8.0 – 13.6 – 12.9 กก. N – P2O5 – K2O /ไร่ (CPSSF) 3) การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง หรือ อัตรา 8.0 – 1.7 – 1.0 กก. N – P2O5 – K2O /ไร่ (SSF) และ 4) การใส่ปุ๋ยหมักทางการค้าในอัตราตามปกติที่เกษตรกรใช้ หรือ อัตรา 3.01 – 2.80 – 2.17 กก. N – P2O5 – K2O /ไร่ (F) ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ย SSF ส่งผลให้ข้าวมีลักษณะการเจริญเติบโต (ความสูงและจำนวนแขนง/กอ) จำนวนรวง/กอและจำนวนเมล็ด/รวงสูงที่สุด (P<0.01) นอกจากนี้ ข้าวที่ได้รับปุ๋ย SSF มีผลผลิต (868 กก./ไร่) ให้ผลตอบแทนหลังหักต้นทุนค่าปุ๋ย (6,020 บาท/ไร่) ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนจากปุ๋ย (42.39%) และประสิทธิภาพการผลิตพืช (8.53%) สูงที่สุด (P<0.01) รองลงมา คือ ข้าวที่ได้รับปุ๋ยหมักคุณภาพสูง CPSSF (774 กก./ไร่ 4,152 บาท/ไร่ 30.59% และ 6.31% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกันไม่มีผล (P>0.05) ต่อเปอร์เซ็นต์ อะไมโลสและอัตราการขยายตัวของข้าวสุก ถึงแม้ว่าข้าวที่ได้รับปุ๋ยหมักคุณภาพสูงจะได้รับไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเท่ากับหรือสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีแต่ปริมาณธาตุอาหารที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้อาจจะน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาถึงปริมาณธาตุอาหารที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ในปุ๋ยหมักคุณภาพสูงเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับสูตรปุ๋ยให้มีธาตุอาหารพืชเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของข้าวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกพร ชัยวุฒิกุล. 2544. ผลของเถ้าลอยลิกไนต์ต่อองค์ประกอบทางเคมีและผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สหสาขาวิทยาศาสตร์ สภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กรมการข้าว. 2550. พันธุ์ข้าว. แหล่งข้อมูล: http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=61.htm. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2561.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคกลาง. แหล่งข้อมูล: http://www. ldd.go.th>pf_desc>central. ค้นเมื่อ ธันวาคม 2561.

กรมวิชาการเกษตร. 2548. ปุ๋ยอินทรีย์: การผลิต การใช้ มาตรฐานและคุณภาพ. เอกสารวิชาการ, ลำดับที่ 17/2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรรณิกา นากลาง, สิริมา ปั้นศิริ, วราภรณ์ วงศ์บุญ, ประเสริฐ ไชยวัฒน์, สว่าง โรจนกุศล, วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์, องอาจ วีระโสภณ, จินตนา หัสวายุกุล, ชนินทร์ เภสัชชา และเภสัช ลวดเงิน. 2552. การจัดการการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการเสี่ยงในการผลิตข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. กรมการข้าว.

งามชื่น คงเสรี. 2536. คุณภาพเมล็ดทางเคมี. น. 54-70. ใน: เอกสารประกอบการบรรยายการ ฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง. สถาบันวิจัยข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

งามชื่น คงเสรี. 2545. ปัจจัยคุณภาพข้าวสารและข้าวสวย. น. 13-18. ใน: เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรหลักและวิธีการวิเคราะห์คุณภาพข้าว. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี, ปทุมธานี.

ธนกฤต เขียวอร่าม และอุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2561. ผลของการจัดการรูปแบบปุ๋ยที่มีต่อการให้ผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกในชุดดินสมุทรปราการ. น. 274-279. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 เรื่องนวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก 25 พฤษภาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.

นิตยา รื่นสุข, ประนอม มงคลบรรจง และวาสนา อินแถลง. 2551. การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H. น. 74-90. ใน: ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองเหนือ ปี 2551. ณ. โรงแรมชลจันทร์ รีสอร์ท พัทยา, ชลบุรี.

ปรารถนา ปลอดดี. 2552. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของกากตะกอนอ้อยในระหว่างการย่อยสลายและผลกระทบที่มีต่อคุณภาพของเม็ดปุ๋ยอินทรีย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประเสริฐ สองเมือง, ทวี ธนาวีร์, ธีรพันธ์ แพทยารักษ์, แพรวพรรณ กุลนทีทิพย์, กรรณิกา นากลาง และสว่าง โรจนกุศล. 2542. การใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวระยะยาวต่อสรีรนิเวศวิทยาของข้าว และสมบัติของดินที่สถานีทดลองข้าวพิมายสถานีทดลองข้าวสุรินทร์. น. 22-56. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2536-2539. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุธีรา สุนทรารักษ์. 2550. การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมักกากตะกอนอ้อยสำหรับการเป็นวัสดุปลูกดาวเรือง. ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557. ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. แก่นเกษตร. 42: 369-374.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2558. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและสมบัติทางเคมีของข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. แก่นเกษตร. 43: 423-430.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2559. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา. แก่นเกษตร. 44: 383-390.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์, ธนวดี พรหมจันทร์, ฐิตินันท์ วรรณา และปภัสรา สักการะ. 2561a. ศักยภาพของวัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์และผลของการใข้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1. น. 176-184. ใน: การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10 วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561. ณ โรงแรมเรือรัษฏา อำเภอเมือง, จังหวัดตรัง.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์, ธนวดี พรหมจันทร์, ณัฐกมล จีระสุข และธนัญญา สิงห์ชำนาญ . 2561b. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1. น. 185-192 ใน: การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10 วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561. ณ โรงแรมเรือรัษฏา อำเภอเมือง, จังหวัดตรัง.

Bray, R. H., and L. T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Science. 59: 39-45.

Bremner, J. M., and C. S. Mulvaney. 1982. Nitrogen Total. P. 595-624. In: A. L. Page (Edition), Methods of Soil Analysis: Agron. NO. 9, Part 2: Chemical and Microbiological Properties. 2nd Edition, American Society of Agronomy, Madison, WI, USA.

Buresh, R. J., R. L. Castillo, J. C. D. Torre, E. V. Laureles, M. I. Samson, P. J. Sinohin, and M. Guerra. 2019. Site-specific nutrient management for rice in the Philippines: Calculation of field-specific fertilizer requirements by Rice Crop Manager. Field Crops Research. 239: 56–70.

Dobermann, A., C. Witt, D. Dawe, S. Abdulrachman, H. C. Gines, R. Nagarajan, S. Satawathananont, T. T. Son, P. S. Tan, G. H. Wang, N. V. Chien, V. T. K. Thoa, C. V. Phung, P. Stalin, P. Muthukrishnan, V. Ravi, M. Babu, S. Chatuporn, J. Sookthongsa, Q. Sun, R. Fu, G. C. Simbahan, and M. A. A. Adviento. 2002. Site-specific nutrient management for intensive rice cropping systems in Asia. Field Crops Research. 74: 37–66.

FAO. 1974. The Euphrates Pilot Irrigation Project. Methods of Soil Analysis, Gadeb Soil Laboratory (A Laboratory manual). Food and Agriculture Organization, Rome, Italy.

Jackson, M. L. 1958. Soluble Salt Analysis for Soils and Water. Soil Chemical Analysis. Prentice Hall, Inc. Englewood Cliffs, N. J.

Jeong, S. T., G. W. Kim, H. Y. Hwang, P. J. Kim, and S. Y. Kim. 2018. Beneficial effect of compost utilization on reducing greenhouse gas emissions in a rice cultivation system through the overall management chain. Science of the Total Environment. 613–614: 115–122.

Ladha, J. K., H. Pathak, T. Krupnik, J. Six, and C. van Kessel. 2005. Efficiency of fertilizer nitrogen in cereal production: retrospects and prospects. Advance Agronomy. 87: 85-156.

Mclean, E. O. 1982. Soil pH and Lime Requirement. P. 199-224. In: A. L. Page (Ed.) Methods of Soil Analysis.

Peech, M., L. T. Alexander, L. A. Dean, and J. F. Reed. 1947. Method of Soil Analysis for Soil Fertility Investigation. Government Printing Office. Washington, U.S.

Sharma, S., P. Panneerselvam, R. Castillo, S. Manohar, R. Raj, V. Ravi, and R. J. Buresh. 2019. Web-based tool for calculating field-specific nutrient management for rice in India. Nutrient Cycling in Agroecosystems. 113: 21–33.

Thongjoo, C., S. Miyagawa, and N. Kawakubo. 2005. Effect of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Production Science. 8: 475-481.

Walkley, A. 1947. A critical examination of a rapid method for determining of organic carbon in soil: Effect of variation in digestion conditions and of inorganic soil constituents. Soil Science. 63: 251-263.