ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดเบบี้เรดคอสที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์

Main Article Content

จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์
เธียร ธีระวรวงศ์
นราศักดิ์ บุญมี

บทคัดย่อ

น้ำหมักชีวภาพเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร จากการที่เกษตรกรได้นำเศษพืชและสัตว์หมักกับกากน้ำตาลพร้อมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรจำนวนมากที่ยังไม่มั่นใจในการใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ กับการใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดเบบี้เรดคอส (Lactuca sativa L.) ในระบบไฮโดรพอนิกส์ระบบกึ่งน้ำลึก (Dynamic Root Floating Technique, DRFT) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ น้ำหมักชีวภาพประกอบด้วย น้ำหมักชีวภาพจากนมสด น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา และน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ทำการปลูกเป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษาพบว่าในด้านความสูงสารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครให้ผลดีที่สุด (10.43±0.20 เซนติเมตร) รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพจากนมสด (9.48±0.29 เซนติเมตร) ด้านความกว้างทรงพุ่ม พบว่าน้ำหมักชีวภาพจากนมสดให้ผลการตอบสนองความกว้างทรงพุ่มดีที่สุด (17.56±0.43 เซนติเมตร) ด้านจำนวนใบพบว่าสารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครให้ผลดีที่สุด (32.08±0.47 ใบ) รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพจากนมสด (30.21±0.53 ใบ) ด้านน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งพบว่าสารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครให้ผลดีที่สุด (20.22 ±0.45 กรัม และ 0.86±0.78 กรัม ตามลำดับ) รองลงมา คือ น้ำหมักชีวภาพจากนมสด (14.89±0.86 กรัม และ 0.84±0.45 กรัม ตามลำดับ) และในด้านปริมาณรงควัตถุ (คลอโรฟิลล์เอ  คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์ทั้งหมด และแคโรทีนอยด์ทั้งหมด) พบว่าสารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครให้ผลดีที่สุด (119.97±0.5, 43.27±0.25, 43.05±0.54 และ 158.23±0.32 SPAD unit ตามลำดับ) รองลงมาคือสูตรน้ำหมักชีวภาพจากนมสด (90.04±0.67, 35.90±0.85, 35.21±0.34 และ 125.95 ± 0.46 SPAD unit ตามลำดับ) โดยสรุป การเปรียบเทียบการใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครและน้ำหมักชีวภาพทั้ง 4 สูตร พบว่าน้ำหมักชีวภาพจากนมสดให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรพระนครในผักสลัดเบบี้เรดคอส ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการปลูกผักและใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นทางเลือกทดแทนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คงเอก ศิริงาม, กุลิสรา ธีระวิภา และณัฐวุฒิ ไหลหาโคตร. 2557. ผลของสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 6: 828-836.

ดิเรก ทองอร่าม. 2550. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ทัตพล พุ่มดารา, อาคม คิดสง่า และนิสาชล เทศศรี. 2559. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปลูกผักกาดหอมกรีนคอสในระบบไฮโดรโปนิกส์. วารสารแก่นเกษตร. 44: 892-897.

ธนภูมิ ศิริงาม และนราศักดิ์ บุญมี. 2562. อิทธิพลของอัตราส่วนของสารละลายธาตุอาหารและน้ำหมักมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1: 77-84.

บัญชา รัตนีทู. 2556. ผลของน้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2: 76-82.

เยาวรัตน์ วงศ์ศรีสกุลแก้ว, ณัฐชัย พุทหอม, ฐิติมา ทองคำ และพวงผกา อุทธา. 2561. ผลของปุ๋ยเคมีและน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและสีของผักสลัดพันธุ์เรดคอสและพันธุ์เรดปัตตาเวีย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49: 42-46.

ศักดิ์สิทธิ์ มูลดำ และปิยะนุช จุลกะ. 2557. ผลของค่าความเป็นกรด-ด่างและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร ที่มีผลต่อการ เจริญเติบโต และปริมาณไนเตรทของผักกาดฮ่องเต้ที่ปลูกในระบบ Nutrient Film Technique (NFT). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45: 9-12.

สุภาพร ราชา และ ศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร. 2560. ผลของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาและผักที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊กที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22: 216-224.

อริสรา ผาสุข, ประสิทธิ์ ชุติชูเดช และ เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช. 2562. การเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณการสะสม ไนเตรทในผักสลัด 5 พันธุ์ ที่ปลูกภายใต้ระบบ ไฮโดรโปนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38: 391-401.

Chenard, C.H., D.A. Kopsell, and D.E. Kopsell. 2005. Nitrogen concentration affects nutrientand carotenoid accumulation in parsley. Journal Plant Nutrition. 28: 285-297.

Lesing, S., and O. Aungoolprasert. 2016. Efficacy of high quality organic fertilizer on growth and yield of Chinese kale. Journal of Science and Technology. 24(2): 320-332. (in Thai)

Hyun, S., E. Hwang, P.J. Kyung, P.N. Eun, G.Y. Han, and M., Yong. 2009. Methemoglobinemia development after ingestion of a Chinese herbal medicine: A case report. Korea Journal of Pediatrics. 52: 385-388.

Tongaram, D. 2007. Practical for soiless culture Principles of production management and Production technology Business in Thailand, Bangkok: pimdeekarnpim. (in Thai).

Phusermpoom, J. 2009. Leaf Vegetable. Bangkok: Kasetsiambook. (in Thai).