การประยุกต์ใช้วิธีการคัดเลือกพันธุ์พืชแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย

Main Article Content

มณีรัตน์ เมฆา
พัชริน ส่งศรี
จุฑามาศ เครื่องพาที
ณกรณ์ จงรั้งกลาง
ประสิทธิ์ ใจศิล

บทคัดย่อ

การคัดเลือกพันธุ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชแต่เพียงฝ่ายเดียวและเผยแพร่พันธุ์ใหม่สู่เกษตรกร อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรทำให้สูญเสียทรัพยากรทั้งเวลาและงบประมาณในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งการคัดเลือกพันธุ์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (Participatory Variety Selection ; PVS) น่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตของอ้อยพันธุ์ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และคัดเลือกพันธุ์โดยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็ก และรายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม และหาความสัมพันธ์ระหว่างความชอบของเกษตรกร และการประเมินผลผลิตอ้อยเพื่อระบุลักษณะทางการเกษตรที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกพันธุ์อ้อยของชาวไร่แต่ละกลุ่มในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ 12 พันธุ์ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จำนวน 14 สถานที่ ในปีเพาะปลูก 2558/59 (อ้อยปลูก) และ 2559/60 (อ้อยตอ1) วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปลูกอ้อย 4 แถวต่อแปลงย่อย ความยาวแถว 6 เมตร ระยะระหว่างร่อง 1.5 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.50 เมตร ปลูกแบบวางท่อนคู่ ผลการเปรียบเทียบพันธุ์ที่สรุปจากทั้ง 14 แปลง พบว่าพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยสูงทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ1 คือ พันธุ์ CSB08-111 (20.65 ตัน/ไร่), CSB08-108 (20.44 ตัน/ไร่) และพันธุ์ CSB08-99 (19.33 ตัน/ไร่) โดยอ้อยพันธุ์ CSB08-111 และ CSB08-108 ให้ผลผลิตเฉลี่ยน้ำตาลสูงที่สุด 2.76 และ 2.73 ตันซีซีเอส/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การคัดเลือกพันธุ์ด้วยสายตาของชาวไร่อ้อยในทั้ง 14 แปลง ในอ้อยปลูกพบว่าพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่พึงพอใจเลือก ได้แก่ CSB08-108 คะแนนโหวตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่ เท่ากับ 14.79 และ 15.61 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ CSB08-99 (13.95 และ 15.45 เปอร์เซ็นต์) และ CSB08-111 (13.55 และ 21.13 เปอร์เซ็นต์) ในรุ่นอ้อยตอ พบว่าพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่เลือก ได้แก่ CSB08-99        คิดเป็นคะแนนโหวตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่เท่ากับ 21.69 และ 21.41 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ CSB08-108 (20.81 และ 19.05 เปอร์เซ็นต์) และ CSB08-111 (16.68 และ 16.11 เปอร์เซ็นต์) สรุปได้ว่าการคัดเลือกพันธุ์อ้อยด้วยสายตาของชาวไร่อ้อยทั้งสองกลุ่มสามารถคัดเลือกได้สอดคล้องกับผลการทดสอบผลผลิต โดยลักษณะทางการเกษตรที่ชาวไร่อ้อยรายเล็กและรายใหญ่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกได้แก่ การแตกกอ (51.77 และ 37.86 เปอร์เซ็นต์) ขนาดลำ (30.69 และ 42.90 เปอร์เซ็นต์) การเจริญเติบโต (5.60 และ 11.12 เปอร์เซ็นต์) และการหลุดร่วงของกาบใบ (2.28 และ 3.38 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ ซึ่งลักษณะที่ชาวไร่อ้อยทั้งสองกลุ่มใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยจะเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยโดยตรงกล่าวคือ จำนวนลำต่อไร่ และน้ำหนักลำ ดังนั้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงต้องให้ความสำคัญกับลักษณะทางการเกษตรดังกล่าวในการคัดเลือกพันธุ์อ้อย เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ยอมรับของชาวไร่อ้อยซึ่งจะทำให้การคัดเลือกพันธุ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและอ้อยพันธุ์ใหม่ได้รับการยอมรับจากชาวไร่อ้อยในการนำไปใช้เพื่อยกระดับผลผลิตอ้อยของประเทศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ ทักษิณา ศันสยะวิชัย ศรีสุดา ทิพยรักษ์ วีระพล พลรักดี และเกษม ชูสอน. 2551. การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยอย่างเหมาะสมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จ. ขอนแก่น. รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2551. ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น. 255-257.

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ อุดม พูลเกษ พรทิพย์ วิสารัตน์ และประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์. 2534. รายงานการวิเคราะห์ข้อมูล โครงการวิเคราะห์การปรับตัวของพันธุ์อ้อยที่สำคัญในประเทศไทย. ภาควิชาพืชไร่นา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561. โครงการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาด้านอ้อย ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2562. โครงการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเพิ่มผลิตภาพอ้อย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม.

อุดม เลียบวัน อดิศักดิ์ คำนวณศิลป์ วัลลิภา สุชาโต อรรถสิทธิ์ บุญธรรม วัฒนศักดิ์ ชมพูนิช สุนี ศรีสิงห์ สำราญ พ่วงสกุล ประชา ถ้ำทอง อุดมศักดิ์ ดวนมีสุข และวาสนา วันดี. 2555. อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-10. แก่นเกษตร. 40(พิเศษ 3): 15-21.

Anonymons. 2009. Sugar Statistics. Cooperative Sugar. 40: 72-73.

Atlin, G., T. Paris, and B. Courtois. 2001. Sources of variation in rainfed rice PVS trials implications for the design of ùMother-Babyû Trial networks. Paper presented on Quantitative Analysis of Data from Participatory Method in Plant Breeding held from 23-25 August 2001 in Giessen, Germany.

Becker, H.C., and J. Leon. 1988. Stability analysis in plant breeding. Plant Breeding. 101: 1-23.

Chimonyo, V.G.P., C.S. Mutengwa, C. Chiduza, and L.N. Tandzi. 2019. Participatory variety selection of maize genotypes in the Eastern Cape Province of South Africa. South African Journal of Agricultural Extension (SAJAE). 47: 103-117.

Mullatu, E., and K. Belete. 2001. Participatory variety selection in lowland sorghum in Eastern Ethiopia – Impact on adoption and genetic diversity. Experimental Agriculture. 37: 211-229.

Nair, N.V. 2008. Sugarcane Breeding Institute-A perspective. Sugar Tech. 10: 285-292.

OECD-FAO Agricultural. 2018. OECD-FAO Agricultural Outlook 2018-2027. Available: http://dx.doi.org/10.1787/443aa5a1-es. Accessed Jul. 3, 2018.

Ottai, M.E.S., K.A. Aboud, I.M. Mahmoud, and D.M. El-Hariri. 2006. Stability analysis of Rosella cultivars (Hibiscus sabdariffa L.) under different nitrogen fertilizer envi¬ronments. World Journal of Agricultural Sciences. 2: 333-339.

Rajula Shanthy, T. 2010. Participatory varietal selection in sugarcane. Sugar Tech. 12: 1–4.

Rasabandit, S., P. Jaisil, G. Atlin, C.V. Cruz, B. Jongdee, and P. Banterng. 2006. Participatory variety selection (PVS) to assess farmer preferences of traditional glutinous rice varieties in the Lao PDR. Khon Kaen Agriculture Journal. 34: 128- 141.

Watkins, C.D. 1965. Some practical aspects of sugarcane selection in British Guiana. Proceedings International Society of Sugar Cane Technologists. 12: 931-937.

Witcombe, J.R., L.B. Parr, and G.N. Atlin. 2002. Breeding rainfed rice for drought-prone environment: integrating conventional and participatory plant breeding in South and Southeast Asia. Proceedings of a DFID Plant Sciences Research Programme/IRRI Conference 12-15 March 2002, IRRI, Los Banos, Laguna. Philippines.

Witcombe, J.R., K.D. Joshi, and B.P. Stahpit. 1996. Farmer participatory crop improvement. I. Varietal selection and breeding methods and their impact on biodiversity. Experimental Agriculture. 32: 445-460.