การยอมรับและความเต็มใจจ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์แตนเบียนของหนอนกออ้อยของเกษตรกร

Main Article Content

เยาวรัตน์ ศรีวรานันท์
นุชรีย์ ศิริ
ทัศนีย์ แจ่มจรรยา
เสาวภา ป้องโล่ห์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับและความเต็มใจจ่ายผลิตภัณฑ์แตนเบียนของเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 111 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์มูลค่าความเต็มใจจ่ายผลิตภัณฑ์แตนเบียนโดยใช้ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายโดยใช้แบบจำลองโทบิท (Tobit model) ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาใน 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบเสียบ แขวน และหว่าน เกษตรกรมีความเต็มใจจ่ายในราคาเฉลี่ย 14.09, 14.31 และ 13.91 บาท/ชิ้น ตามลำดับ และผลิตภัณฑ์แตนเบียนหนอน 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบแขวน และแบบหว่าน มูลค่าความเต็มใจจ่ายในราคาเฉลี่ย 18.89 และ 19.41 บาท/ชิ้น ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่ายของเกษตรกรสำหรับผลิตภัณฑ์แตนเบียนที่สูงขึ้น คือ ราคาอ้อยที่เกษตรกรจำหน่ายได้มีราคาสูงขึ้น เกษตรกรที่พื้นที่ปลูกอ้อยขนาดใหญ่ และเกษตรกรได้เข้าอบรมและมีความรู้เรื่องแตนเบียนและประโยชน์ของแตนเบียน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ณัฐกฤต พิทักษ์. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการป้องกันกําจัดหนอนกอ้อยโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรชาวไร่อ้อย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรพรรณ ภู่แก้ว. 2553. มูลค่าผลประโยขน์ของการควบคุมหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยโดยชีววิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมพร อิศวิลานนท์. 2559. ทำกินถิ่นอาเซียน:ไทยผู้นำผลิต-ส่งออกน้ำตาลของอาเซียน. คม ชัด ลึก. แหล่งข้อมูล: http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/222238. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2559.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2561. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/2562/commodity2561.pdf. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562.

สุวรรณา ประณีตวตกุล. 2552. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 16 (2): 48-64.

อภิชาติ ศรีวรมณ์. 2559. Parasitoid แตนเบียนปราบเกรียนทำลายอ้อย. วารสารมิตรชาวไร่. 3(3): 40-41.

อธิราช ทวีปฏิมากร และอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. 2561. ความเต็มใจจะจ่ายค่าบริการน้ำประปาเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์. 12(1): 107-133.

อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. 2556. การประเมินมูลค่าทาง เศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม. พี.เอ.ลีฟวิ่ง,กรุงเทพมหานคร.

Abdollahzadeh, G., M. Sharifzadeh, and C. Damalas. 2015. Perceptions of the beneficial and harmful effects of pesticides among Iranian rice farmers influence the adoption of biological control. Crop Protection. 75:124-131.

Ayedun, B., G. Okpachu, V. Manyong, J. Atehnkeng, A. Akinola, G. A. ABU, R. Bandyopadhyay, and T. Abdoulaye. 2017. An assessment of willingness to pay by maize and groundnut farmers for aflatoxin biocontrol product in northern nigeria. Journal of Food Protection. 80(9): 1451–1460.

Colloff, M. J., E. A. Lindsay, and D. C. Cook. 2013. Natural pest control in citrus as an ecosystem service: Integrating ecology, economics and management at the farm scale. Biological Control. 67: 170-177.

Lecat, B., E. Le Fur, and J. F. Outreville. 2016. Perceived risk and the willingness to buy and pay for “corked” bottles of wine. International Journal of Wine Business Research. 28(4): 286-307.

Long, J. S. 1997. Regression models for categorical and limited dependent variables. Thousand Oaks, CA: Sage.

Sharifzadeh, M. S., C. A. Damalas, G. Abdollahzadeh, and H. Ahmadi-Gorgi. 2017. Predicting adoption of biological control among Iranian rice farmers: An application of the extended technology acceptance model (TAM2). Crop Protection. 96: 88-96.

Tobin, J. 1958. Estimation of relationships for limited dependent variables. Econometrica. 26(1): 24-36.