การจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแปรรูป : กรณีศึกษาหมี่โคราชตราดอกจิก

Main Article Content

ประภาพร ชุลีลัง
ปัญญา หมั่นเก็บ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแปรรูป กรณีศึกษาหมี่โคราชตราดอกจิก รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการจัดการโซ่อุปทาน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้เทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานหมี่โคราชตราดอกจิก ในพื้นที่อำเภอขามสะแกแสง และอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยผู้ประกอบการโรงสีข้าวจำนวน 1 ราย ผู้ประกอบการโรงงานผลิตหมี่โคราชตราดอกจิกจำนวน 1 ราย ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกหมี่โคราชตราดอกจิก จำนวน 20 ราย ผู้ขายอาหารที่ปรุงจากหมี่โคราชตราดอกจิกจำนวน  20 ราย และผู้บริโภคหมี่โคราชตราดอกจิกจำนวน 80 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงการเปรียบเทียบข้อมูล (content comparison)ผลการศึกษาพบว่า 1) โซ่อุปทานหมี่โคราชตราดอกจิก มีผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนต้นน้ำ ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงสี มีกิจกรรมหลักคือ การจัดหาข้าวเปลือก การแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และส่งให้กับลูกค้า ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ ผู้ประกอบการหมี่โคราชตราดอกจิก มีกิจกรรมหลักคือ การจัดหาวัตถุดิบในการผลิต การเตรียมเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน การวางแผนการผลิตและจำหน่าย  และส่วนปลายน้ำ ได้แก่ ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค โดยผู้จัดจำหน่ายประกอบด้วย ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ส่วนผู้บริโภคประกอบด้วย ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้บริโภคหมี่โคราชตราดอกจิก 2) ปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการหมี่โคราชตราดอกจิก ได้แก่ (1) โรงงานและกระบวนการผลิตเส้นหมี่เป็นแบบดั้งเดิมยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ไม่สามารถส่งสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้ารายเดิม หลังจากมีการขยายการผลิตเพื่อส่งเส้นหมี่ให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านของฝาก ของที่ระลึก เพื่อนำไปบรรจุหีบห่อภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง (3) วัตถุดิบได้แก่ข้าวที่ใช้สำหรับผลิตหมี่โคราชเริ่มหายากและขาดแคลนเนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้น (4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยังเป็นแบบดั้งเดิม และ (5) การผลิตในบางขั้นตอนต้องอาศัยเทคนิคและความชำนาญเฉพาะตัว และยังไม่มีผู้สืบทอด 3) ส่วนมูลค่าเพิ่มในโซ่อุปทานหมี่โคราชตราดอกจิกตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ได้แก่ ผู้ประกอบการหมี่โคราช ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ร้านจำหน่ายของฝากขนาดใหญ่ และร้านอาหาร มีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ย 11.65, 5.55, 2.78, 20.00 และ 111.12 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2560. แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2560. แหล่งข้อมูล: https://bsc.dip.go.th/th/ category/sale-marketing/sm-foodindustry2560 ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2560.

กัลยาณี ดีประเสริฐวงศ์. 2560. GMP กฎหมาย Updates. แหล่งข้อมูล: https://food.fda. moph.go.th/
data/document/2554/GMP4-2_LAW_Information.pdf. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2560.

ความเป็นมาของผัดหมี่โคราช. 2560. แหล่งข้อมูล: https://sites.google.com/site/plocho1126/3. ค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560.

ความรู้พื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการโซ่อุปทาน. 2558. แหล่งข้อมูล: http://techno.kpru.ac.th /logistics/
index.php/e-learning/13-e-learning/13-1?showall= 1&limitstart=. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2558.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. 2552. การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

ธนิตย์ โสรัตน์. 2550. การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ : ประชุมทอง พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ประสิทธิ์ เกิดกลาง. เจ้าของโรงงานเส้นหมี่พ่อจอย ตราดอกจิก. (20 เมษายน 2559). สัมภาษณ์.

ไพรัชต์ ดิฐคณารักษ์กุล, ภราดร หนูทอง และปรีชา ขันติโกมล. 2556. การออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งชั้นบางสำหรับอบแห้งเส้นหมี่โคราชโดยใช้อินฟราเรดและลมร้อน. นครราชสีมา : คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

วัฒนา นีสันเทียะ. 2555. โครงการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์การทำเส้นหมี่โคราชดั้งเดิม. ศิลปนิพนธ์โปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิทยาพล ธนวิศาลขจร. 2559. กลยุทธ์การตลาดธุรกิจอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29(1): 40-56.

ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. 2554. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2553. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สถาบันอาหาร. 2552. แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารพร้อมปรุง-พร้อมทานในตลาดโลกกับอนาคตที่สดใส. อุตสาหกรรมสาร. 52: 5-7.

สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์. 2554. การสังเคราะห์งานวิจัยด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตรและอาหาร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภางค์ จันทวานิช. 2547. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adebayo, I. T., 2012. Supply chain management (SCM) practices in Nigeria today: Impact on SCM performance. European Journal of Business and Social Sciences. 1(6): 107–115.

Chopra S., and P. Meindl. 2013. Supply chain management: strategy, planning and operations. (5th Ed.) New Jersey: Prentice-Hall.

Cochran W.G. 1977. Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.

Denizen N.K. 1970. The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods. Chicago: Aldine.

Kim, B. 2018. Agriculture value creation through effective supply management. Current Investigations in Agriculture and current Research (CIACR). 2(2): 180-183.

Min, H., and G. Zhou. 2002. Supply chain modeling: Past, present and future. Computers & Industrial Engineering. 43: 231–249.

Nunnally, J.C., and I.H. Bernstein. 1994. The Assessment of Reliability. Psychometric Theory. 3: 248-292.

Ogunmola, O.S., and N.I. Akeke. 2018. Effects of supply chain management practices on customer satisfaction of instant noodles in Ekiti
State, Nigeria: The roles of information sharing and communication. Transport & Logistics: the International Journal. 18(45): 87-100.

Parwez, S. 2014. Food supply chain management in Indian Agriculture: Issues, opportunities and further research. African Journal of Business Management. 8(14): 572-581.

Pattanawasanporn, P. 2014. Logistics and Supply Chain Management Approach to SMEs in Noodle Factory Industry - Lean and Six Sigma Tool. pp 3105-3118. Proceedings of the 2014 International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Bali, Indonesia.

Vogt, J.J, W.J. Pienaar, and Wit, P.W.C De. 2005. Business logistics management: theory and practice. England: Oxford University Press.