โมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยการขับเคลื่อนของสภาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อนันต์ ศรีพันธุ์
จินดา ขลิบทอง
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
ทิพวรรณ ลิมังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อลักษณะการดำเนินงานของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี ตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ และ 3) วิเคราะห์และพัฒนาโมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมโดยผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)คณะกรรมการสภาเกษตรกร 2)ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดอุดรธานี 3) เกษตรกรทั่วไป และ4)สมาชิกสภาเกษตรกร โดยเก็บประชากรทั้งหมดจากคณะกรรมการสภาเกษตรกร จำนวน 28 คน และภาคีเครือข่าย จำนวน 33 คน  และทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรทั่วไป จำนวน 330 คน และสมาชิกสภาเกษตรกร จำนวน 330 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Independent t-test ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้เชี่ยวชาญด้านสภาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ทั้งหมด จำนวน 11 คน โดยการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดอุดรธานี พบว่า คณะกรรมการสภาเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.22) ในขณะที่ภาคีเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรของ จ.อุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.65) อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กลุ่มมีความคิดเห็นในประเด็นย่อยที่อยู่ในระดับปานกลางเหมือนกัน คือในด้านรูปแบบการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร สำหรับเกษตรกรทั่วไปและสมาชิกสภาเกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีความคิดเห็นในประเด็นย่อยที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดการผลผลิตทางการเกษตร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อลักษณะการดำเนินงานของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี ตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ ระหว่างคณะกรรมการสภาเกษตรกร กับภาคีเครือข่าย พบว่า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรและด้านยุทธศาสตร์ และ 3) โมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยการขับเคลื่อนของสภาเกษตรกร จ.อุดรธานี ประกอบไปด้วย 1. การนำองค์กร มุ่งพัฒนาการเกษตร, พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ 2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และการพัฒนาองค์กร 3. การให้ความสำคัญกับเกษตรกร การเข้าถึงข้อมูลของเกษตรกรและการให้ความช่วยเหลือ 4. การวัด วิเคราะห์ และการจัดการข้อมูล ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล พัฒนาบุคลากรของสภาเกษตรกรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน รัก และผูกพันกับองค์กร 6. การจัดการกระบวนการ ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม และ 7. ผลลัพธ์การดำเนินการ กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานให้ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ 2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. 2551. การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์. ซีเอ็ดยูเคชัน. กรุงเทพฯ

บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ

ปัญญา หิรัญรัศมี. 2552. การติดต่อสื่อสารเพื่อการเผยแพร่สารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี

พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธ์ และสุรพล เศรษฐบุตร. 2553. แนวคิดและหลักการส่งเสริมการเกษตร สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี

พันวิทย์ ศรีสังข์งาม. 2560. การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 6: 5-7

สภาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี. 2559. รายงานประจำปี 2558. สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี, อุดรธานี.

สภาเกษตรกรแห่งชาติ. 2559. ยุทธศาสตร์สภาเกษตรกรแห่งชาติ ปี 2560-2564 .สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. 2558. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2557-2558 สำนักพิมพ์แกรนด์อาร์ต ครีเอทีฟ. กรุงเทพฯ

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. 2552. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ ราชกิจจานุเบกษา, กรุงเทพฯ.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. บุ๊คส์ ทู ยู, กรุงเทพฯ.

Bryan J. Hains. 2020. Community Reaction towards Social Innovation: A Discussion of Rogers, Diffusion of Innovations Theory in
Consideration of Community Emotional Response. Journal of International Agricultural and Extension Education. 27: 34-46

Cronbach, L. J. 1990. Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Kristin Davis. 2016. How will Extension Contribute to Sustainable Development Goals? A Global Stategy and Operationa plan. Journal of International Agricultural and Extension Education. 23: doi:10.5191/jiaee.2016.23101.

Kristin Davis David Dolly Alexa J. Lamm Kevan W. Lamm. 2018. The Future of Extension: A Network Emergence Perspective for Case of the Global Forum for Rural Advisory Services. Journal of Agricultural and Extension Education 25th Anniversary Special Issue.

Taro Yamane. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York.Harper and Row Publications.

Weihrich, H. and H. Koontz. 1993. Management: a Global Persective. 10th Ed. New York: McGraw-Hill, lnc.