ผลการเสริมกรดอินทรีย์รวมในไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่

Main Article Content

อุบลวรรณ ศรีสงคราม
เจษฎา รัตนวุฒิ
ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา

บทคัดย่อ

การใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารหรือน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคหรือส่งเสริมการเจริญเติบโต ซึ่งอาจมีการตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ การทดลองนี้ออกแบบเพื่อประเมินผลการเสริมกรดอินทรีย์รวมทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารและน้ำดื่มของไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้ไก่ไข่ไฮไลน์ บราวน์ อายุ 22 สัปดาห์ จำนวน 84 ตัว แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ซ้ำๆ ละ 3 ตัว กลุ่มการทดลองประกอบด้วย อาหารควบคุม อาหารเสริมยาปฏิชีวนะ (enrofloxacin 10 mg/kg) อาหารเสริมกรดอินทรีย์รวมที่ระดับ  0.2 และ 0.3%  และกลุ่มที่ได้รับน้ำเสริมกรดอินทรีย์รวม  0.1, 0.2 และ 0.3% เลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือนระบบเปิด ให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ให้อาหารและน้ำเต็มที่ ทดลอง 4 สัปดาห์ (ไก่ไข่อายุ 22-25 สัปดาห์) บันทึกข้อมูลผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ อาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ และวัดคุณภาพไข่ในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลอง ผลการทดลองพบว่า การเสริมกรดอินทรีย์รวมไม่มีผลต่อผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ และต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มผลผลิตไข่ (P>0.05) แต่พบว่า กลุ่มที่เสริมกรดอินทรีย์รวมในน้ำ มีค่ามวลไข่เพิ่มขึ้น (P<0.01) และในด้านคุณภาพไข่ พบว่า การเสริมกรดอินทรีย์รวมในน้ำที่ระดับ 0.1% มีผลทำให้น้ำหนักไข่ทั้งฟองเพิ่มขึ้น (P<0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรรณิการ์ พนาบุญเจริญ. 2545. ผลการเสริมฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์และกรดอินทรีย์รวมในอาหารสุกรหย่านม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กมลชัย ตรงวานิชนาม, ปารียา อุดมกุศลศรี, วิราช นิมิตสันติวงศ์, อารินี ชัชวาลชลธระ, และสมหมาย หอมสวาท. 2554. คุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์และชีวปริมาณออกฤทธิ์สัมพัทธ์ของยาเอนโรฟลอกซาซินในหมูป่า. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร. 9(1): 21-30.

สาโรช ค้าเจริญ. 2547. อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

Akyurek, H., M.L. Ozduven, A.A. Okur, F. Koc, and H.E. Samli. 2011. The effect of supplementing an organic acid blend and/or microbial phytase to a corn-soybean based diet fed to broiler chickens. African Journal of Agricultural Research. 6: 642-649.

Byrd, J.A., B.M. Hargis, D.J. Caldwell, R.H. Bailey, K.L. Herron, J.L. McReynolds, R.L. Brewer, R.C. Anderson, K. M. Bischoff, T.R. Callaway, and L.F. Kubena. 2001. Effect of lactic acid administration in the drinking water during pre-slaughter feed withdrawal on Salmonella and Campylobacter contamination of broilers. Poultry Science. 80: 278–283.

Hamed, D.M. and A.M.A. Hassan. 2013. Acids supplementation to drinking water and their effects on Japanese quails experimentally challenged with Salmonella enteritidis. Research in Zoology. 3(1): 15–22.

Hedayati, M., M. Manafi, M. Yari, and A. Avara. 2014. The Influence of an acidifier feed additive on biochemical parameters and immune response of broilers. Annual Research and Review in Biology. 4(10): 1637-1645.

Wang, J.P., J.S. Yoo, J.H. Lee, T.X. Zhou, H.D. Jang, H.J. Kim, and I.H. Kim. 2009. Effects of phenyllactic acid on production performance, egg quality parameters, and blood characteristics in laying hens. Journal of Applied Poultry Research. 18: 203–209.