ระดับของสารส้มที่เหมาะสมต่อการฟอกหนังแกะ

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
องอาจ ส่องสี
ณัฐกานต์ มณีทอง
วิไลพร ทัณฑะรักษ์
สรัณกิติ์ แก้วกันใจ

บทคัดย่อ

การฟอกหนังแกะขน ทำโดยใช้หนังจากแกะขุนเพศผู้จำนวน 6 ตัว ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 14.6 ± 1.9 เดือน น้ำหนักตัว 37.1 ± 4.0 กิโลกรัม และหนังแต่ละผืนมีขนาด 13.04 ตารางฟุต แบ่งหนังแต่ละผืนออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน ทำความสะอาด ลอกเนื้อ ไขมัน และเยื่อออกให้มากที่สุด เลือกผืนที่สมบูรณ์และขนาดใกล้เคียงกันจำนวน 18 ผืน สุ่มแบ่งเป็น 9 ชุดๆ ละ 2 ผืน จากนั้นสุ่มไปแช่น้ำยาฟอก 3 สูตรที่เตรียมจากกรดเกลือ (35% HCl) ฟอร์มาลิน (37% formaldehyde, CH2O) เกลือเม็ด (NaCl) ปริมาณเท่ากันทั้ง 3 สูตร แต่มีสารส้ม (alum, Al2(SO4)3.xH2O) ต่างกัน 3 ระดับ คือ 0.75, 1.0 และ 1.25% (w/v, น้ำหนัก/ปริมาตรโดยประมาณ) แต่ละระดับความเข้มข้นของสารส้มจึงมีการทดลอง 3 ซ้ำ หลังการแช่ในน้ำยาฟอกนาน 4 วัน ผลปรากฏว่า pH ของน้ำยาฟอกหนังแกะมีค่าต่ำลงตามระดับการเพิ่มขึ้นของสารส้ม คือ 4.00 ± 0.10, 3.83 ± 0.06 และ 3.77 ± 0.15 ตามลำดับ โดยสูตรที่ใช้สารส้ม 1.25% มี pH ต่ำกว่าสูตร 0.75% อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) แต่ไม่แตกต่างจากสูตรที่ใช้ 1.0% สำหรับน้ำล้างหนังแกะที่ผ่านการแช่ในน้ำยาฟอกเป็นเวลา 4 วันจากทั้ง 3 สูตรมีค่า pH ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้องล้างหนังแกะถึง 3 ครั้งๆ ละ 10 นาที ค่า pH จึงใกล้จะเป็นกลาง (pH = 6.9) เมื่อนำหนังแกะที่ฟอกและล้างจนมีสภาพเป็นกลางแล้วไปขึงกับโครงไม้ตากในร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นเวลา 5 วัน จากนั้นประเมินทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point Hedonic scale โดยมีผู้ประเมิน 31 ราย ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่/นักวิชาการด้านปศุสัตว์ 16 ราย ผู้จะซื้อ 5 ราย และผู้สนใจ 10 ราย ผลปรากฏว่า ผู้ประเมินให้คะแนนความชอบโดยรวมต่อน้ำยาฟอกที่มีสารส้มระดับ 1.0 และ 1.25 สูงกว่า 0.75% อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) โดยมีคะแนนความชอบเท่ากับ 7.87 ± 0.13 (1.0%) และ 7.84 ± 0.16 (1.25%) เทียบกับ 7.42 ± 0.26 (0.75%) ซึ่งคะแนนของทุกสูตรอยู่ในระดับ “ชอบมาก” สำหรับสีขน สีหนัง กลิ่น และเนื้อสัมผัสของหนังที่ฟอกโดยน้ำยาทั้ง 3 สูตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P > 0.05) ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน จึงแนะนำให้ใช้สารส้มที่ระดับ 1.0% เป็นส่วนผสมในน้ำยาฟอกหนังแกะ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2549. คู่มือมาตรฐานการตรวจสอบโรงงานฟอกหนัง. สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.
งานมาตรฐานวิทยาศาสตร์ กองการควบคุมระบายน้ำ. 2563. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS): สารส้ม. แหล่งข้อมูล: http://wqc-portal.pwa.co.th/attachment/topic/30/MSDS-Alum2.pdf. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563.

ทวิช ทวิชศรี. 2542. การศึกษาหาสูตรน้ำยาฟอกหนังลูกโคที่เหมาะสม ปัญหาพิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีทางสัตว์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

บุญเสริม ชีวะอิสระกุล. 2541. การผลิตและการใช้ประโยชน์จากขนแกะที่เลี้ยงในภาคเหนือตอนบน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พิทักษ์ ศรีประยา และเยาวมาลย์ ค้าเจริญ. 2530. การชำแหละและการตัดแต่งเนื้อ และการฟอกหนังกระต่าย. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ภูริภพ นาใจเย็น. 2557. การเปรียบเทียบสูตรน้ำยาฟอกหนังลูกโค ปัญหาพิเศษ สาขาโคนมและโคเนื้อ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). 2562. งานศิลปหัตถกรรมประเภทผ้าทอขนแกะ. แหล่งข้อมูล: https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/3d76cc27d29c076b2c374df9ac79d6a8/_20f888d13e9e38c98e65e11700afcd75.pdf. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, ภัทวรา ปฐมรังษิยังกุล, บุญล้อม ชีวะอิสระกุล, วิไลพร ทัณฑะรักษ์, ณัฐกานต์ มณีทอง, เอื้องพลอย ใจลังกา และวุฒิชัย ลัดเครือ. 2563. การใช้สารช่วยหมักร่วมกับเครื่องเทศในขาแกะรมควันและสารช่วยย่อยในสตูเนื้อแกะ. วารสารเกษตร. 36(3): 377-386.

Boren, J., T. Terrell, R. Baker, B.J. Hurd, and G. Mason. 2004. Tanning deer hides and small fur skins. Bringing science to your life. Guide L-103. Cooperative Extension Service. College of Agriculture and Home Economics. New Mexico State University, New Mexico.

Boyd, C. E. 1979. Aluminum sulfate (alum) for precipitating clay turbidity from fish ponds. Transactions of the American Fisheries Society. 108: 307-313.

Boyd, C. E. 1990. Water quality in ponds for aquaculture. Alabama Agricultural Experiment Station. Auburn University, Auburn, Alabama.

Nasr, A. I., M. M. Abdelsalam, and A. H. Azzam. 2013. Effect of tanning method and region on physical and chemical properties of Barki sheep leather. Egyptian Journal of Sheep and Goat Sciences. 8(1): 123-130.

Peryam, D.R., and F.J. Pilgrim. 1957. Hedonic scale method of measuring food preferences. Food Technology. 11: 9-14.

Steel, R.G.D., J.H. Torrie, and D.A. Dickey. 1997. Principles and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach. 3rd Edition. McGraw-Hill Book Co. Inc., New York.

Valeika, V., K. Beleska, V. Valeikiene, and J. Sirvaityte. 2012. Commom tormentil tannins as tanning material for leather processing. Available:
https://www.researchgate.net/publication/258030561_COMMON_TORMENTIL_TANNINS_AS_TANNING_MATERIAL_FOR_LEATHER_PROCESSING. Accessed Sep. 1, 2020.

Wilkinson, S. 2002. The use of lime, gypsum, alum and potassium permanganate in water quality management. Aquaculture Asia. 7(2): 12-14.