การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาระบบรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา เครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทเรียนกระบวนการพัฒนาระบบรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม(ระบบพีจีเอส) และ 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม วิธีการวิจัยได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 18 คน จากการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาระบบพีจีเอส เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาเครือข่าย แบ่งเป็น 3 กระบวนการ คือ 1) การจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรปลูกผักอินทรีย์เพื่อพัฒนาระบบพีจีเอส 2) การเคลื่อนไหวเครือข่ายและการกำหนดมาตรฐานระบบพีจีเอส โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การตรวจประเมินแปลงสมาชิก อบรมให้ความรู้ เป็นต้น และ 3) การเจริญเติบโตของเครือข่ายและการขยายผลระบบพีจีเอส ด้วยการขยายการรับสมาชิกใหม่และการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลผลิต รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบพีจีเอสของเครือข่ายนี้ ได้แก่ 1) สมาชิกที่ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 2) การมีส่วนร่วมของทุกภาคี 3) ผู้นำและการบริหารระบบการรับรองและเครือข่าย 4) การพัฒนาความสัมพันธ์และการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย และ 5) การรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ บวรอารักษ์. 2558. กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในเขตทุ่งครุ. สารนิพนธ์ ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
กฤษดา ภักดี ธนรักษ์ เมฆขยาย, ยงยุทธ ศรีเกี่ยวฟั่น, ขยัน สุวรรณ, อุบล ทัศนโกวิท, สุวิชชา อินหนองฉาง, ศุภลักษณ์ ล้อมลาย และสุจิตรา อมรสุวรรณ. 2555.
กระบวนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรใน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และการบูรณาการสร้างและพัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรีย์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. 2560. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักงาน-เศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. 2563. แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560 – 2565. สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, กรุงเทพฯ.
จินตนา อินทรมงคล. 2559. คู่มือการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พีจีเอส. บริษัท คอมม่า ดีไซน์แอนด์พริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ.
ดุสิต อธินุวัฒน์, จินตนา อินทรมงคล, สมชัย วิสารทพงศ์, ปริญญา พรสิริชัยวัฒนา และลักษมี เมตปราณี. 2559. มาตรฐานเกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วมคืออะไร?. Thai Journal of Science and Technology. 5: 119-134.
ทัศนีย์ ดวงแย้ม. 2555. กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรโป่งน้ำร้อนที่ได้รับรางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2552 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ธวัชชัย เสือเมือง และยุภาพรรณ มันกระโทก. 2560. การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารเภสัชกรรมไทย. 10: 49-59.
ปาริชาติ วลัยเสถียร, พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์ และชลกาญจน์ ฮาซันนารี. 2543. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. สำนักกองทุนและสนับสนุนงานวิจัย, กรุงเทพฯ.
พนามาศ ตรีวรรณกุล, เมตตา เร่งขวนขวาย, เสถียร แสงแถวทิม, อรุษ นวราช และชฤทธิพร เม็งเกร็ด. 2562. การถอดบทเรียนการ ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่นร่วมของเกษตรกรในโซ่คุณค่าสามพรานโมเดล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนัก กองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
ยุพิน เถื่อนศรี. 2559. การพัฒนาเครือข่ายด้านการผลิตและการตลาดหอมแดงของเกษตรในตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารพัฒนาสังคม. 18: 85–102.
ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. 2559. การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กรณีศึกษาตำบลวังกระพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 5: 116–132.
สรธรรม เกตตะพันธุ์, กฤติเดช อนันต์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และลักษมี เมตปราณี. 2561. ผลของการใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส) ในชุมชนเกษตรอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology. 7: 333-354.
สุภางค์ จันทวานิช. 2554. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Herve, B. 2014. Global Comparative study on interactions between social Processes and Paricipatory Guarantee Systems. IFOAM - Organics International, Bonn.
Hruschka, N., S. Kaufmann, and C. R. Vogl. 2021. The benefits and challenges of participating in Participatory Guarantee Systems (PGS) initiatives following institutional formalization in Chile. International Journal of Agricultural Sustainability. 1-15.
IFOAM. 2019. PGS Guidelines: How to Develop and Manage Participatory Guarantee Systems for Organic Agriculture. IFOAM - Organics International, Bonn.
Kaufmann, S., and C. R. Vogl. 2018. Participatory Guarantee Systems (PGS) in Mexico: a theoretic ideal or everyday practice?. Agriculture and human values. 35: 457-472.
Willer, H., J. Travnicek, C. Meier, and B. Schlatter. 2021. The World of Organic Agriculture: Statistics and Emerging Trends 2021. Research Institute of Organic Agriculture FiBL, Frick, and IFOAM-Organics International, Bonn.