การใช้ยูเรียร่วมกับกากน้ำตาลหมักกากมันสำปะหลังต่อปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ และค่าชีวเคมีในเลือดของโคเนื้อ

Main Article Content

ฐิติมา นรโภค
ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร
อนุสรณ์ เชิดทอง
พีรพจน์ นิติพจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ยูเรียร่วมกับกากน้ำตาล ในการหมักกากมันสำปะหลังต่อปริมาณการกินได้ และความสามารถในการย่อยได้ในโคเนื้อ ใช้โคเนื้อ 4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 300±50 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสละตินแบบทำซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบกากมันสำปะหลังหมัก 4 รูปแบบ ได้แก่ กากมันสำปะหลังแห้ง (กลุ่มควบคุม) กากมันสำปะหลังหมักด้วยยูเรีย 4% กากมันสำปะหลังหมักด้วยกากน้ำตาล 4% และกากมันสำปะหลังหมักยูเรีย 4% ร่วมกับกากน้ำตาล 4% ผลการศึกษาพบว่า กากมันสำปะหลังหมักทั้ง 3 รูปแบบใกล้เคียงกันทั้งสี กลิ่น และผิวสัมผัสซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่ค่อนข้างดีคือ ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอม ผิวสัมผัสแน่น พิจารณาจากค่า pH พบว่าค่า pH อยู่ในช่วงต่ำกว่า 4.3 ซึ่งจัดว่าเป็นอาหารหมักคุณภาพดี และกากมันสำปะหลังหมักไม่ส่งผลต่อ pH อุณหภูมิ ยูเรียในกระแสเลือด ฮีมาโทคริต และปริมาณการกินได้ โดยเมื่อคิดในหน่วย กิโลกรัม/วัน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว และกรัม/น้ำหนักเมแทบอลิก มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนั้นโคเนื้อที่ได้รับอาหารทรีทเมนต์ที่ 1 และทรีทเมนต์ที่ 3 (55.31 และ 55.13%DM) มีค่าความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูงกว่า ทรีทเมนต์ที่ 2 และทรีทเมนต์ที่ 4 (49.57 และ 52.44%DM) ขณะที่แอมโมเนียไนโตรเจนมีค่าสูงในโคเนื้อที่ได้รับทรีทเมนต์ที่ 4 (16.03 mg/dl) และความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีนจะมีค่าสูงในโคเนื้อที่ได้รับทรีทเมนต์ที่ 3 (51.06%) และทรีทเมนต์ที่ 4 (55.02%) ส่วนความสามารถในการย่อยได้ของเยื่อใยจะมีค่าสูงที่สุดในโคเนื้อที่ได้รับทรีทเมนต์ที่ 4 การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การใช้กากน้ำตาลร่วมกับยูเรียในการหมักกากมันสำปะหลังช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยได้และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง. 2544. การศึกษาการนำผลพลอยได้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นอาหารหยาบหมักเพื่อใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโคนมในช่วงฤดูแล้งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เยาวมาลย์ ค้าเจริญ และ สาโรจ ค้าเจริญ. 2543. คุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของข้าวโพดเทียบกับการผลิตข้าวโพดวิทยาศาสตร์จากมันสำปะหลัง. วารสาส์นไก่และการเกษตร. 48: 44-51.

สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย. 2552. อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง.แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/uGY19S. ค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2555.

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย. 2546. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในเขตพื้นที่ อสค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน: ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. หจก.ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.

Ahola, J. K., R. M. Enns, and T. Holts. 2006. Examination of potential method to predict pulmonary arterial pressure score in beef cattle. J. Anim. Sci. 84: 1259-1264.

AOAC. 1985. Official method of analysis (18ED). Association of official, chemists. Arlington, VA.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. Association of Official Analysis Chemists, Washington, DC, U.S.A.

Bromner, J. H., and D. R. Keeney. 1965. Steam distillation methods of determination of ammonium, nitrate and nitrite. Annual. Chem. Acta. 32: 485-495.

Chanjula, P., W. Ngampongsai, and M. Wanapat. 2007a. Effect of levels of urea and cassava chip on feed intake, rumen fermentation, blood metabolites and microbial populations in growing goats. Songklanakarin J. Sci. Technol. 29: 37-48.

Crocker, C. L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. Am. J. Med. Technol. 33: 361-365.

Ferreiro, H. M., and T. R. Preston. 1976. Effect of different concentrations of urea in final molasses given as a supplement to chopped sugar cane for fattening cattle. Trop. Anim. Prod. 1: 66-71.

Goering, H. K., and P. J. Van Soest. 1970. Forage fiber analysis(apparatus, Reagent, Procedures and someApplication). Agric. Handbook. N. 397. ARS, USDA, Washington, D.C.

Kaneko, J. J., J. W. Harvey, and M. L. Bruss. 1997. Clinical Biochemistry of Domestic Animal. 5th revised ed. Acedemic Press Inc., New York.

Khajarern, J., S. Khajarern, K. Bunsiddhi, and P.Sakiya. 1979. Determination of basic chemical parameters of cassava root products of different origin, processing technology and quality. pp. 13-32. In: KKUIDRC cassava/Nutrition Project 1978 Annual Report, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Ki, K.S., M.A. Khan, W.S. Lee, H. J. Lee, S.B. Kim, S.H. Yang, K.S. Baek, J.G. Kim, and H.S. Kim. 2009. Effect of replacing corn silage with whole crop rice silage in total mixed ration on intake, milk yield and its composition in Holsteins. Asian- Aust J. Anim. Sci. 22: 516-519.

Losada, H., and R. Alderete. 1977. Effect of cassava root meal and urea level on the performance of steers grazed on poor quality pasture with free access to molasses. Tropical Animal Production. 4: 47-50.

Norrapoke, T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Pongjongmit. 2017. Improvement of nutritive value of cassava pulp and in vitro fermentation and microbial population by urea and molasses supplementation. J. Appl. Anim. Res. DOI:http://dx.doi.org/10.1080/90712119.2017. 1288630.

SAS Institute. Inc. 1996. SAS/STAT User’s Guide: Version 6. 12. 4th ed. SAS Institute Inc., Cary, North Carolina.

Silvestre, R., N. A. MacLeod, and T. R. Preston. 1977a. Voluntary intake and liveweight gain of cattle given chopped sugar cane and solutions of molasses containing different concentrations of urea. Trop. Anim. Prod. 2: 1-12.

Silvestre, R., N. A. MacLeod, and T. R. Preston.1977b. Fattening cattle with molasses/ urea: Effect of different urea levels. Trop. Anim. Prod. 2: 315-318.

Steel, R.G.D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and prodecure of statistics. McGraw Hill Books. Co., New York.

Norrapoke T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Phongchongmit. 2016. Improvement of cassava pulp nutritive value and in vitro fermentation by urea and molasses treatment. Khon Kaen Agr. J. 44(Suppl.1): 405-412.

Van Keulen, J., and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a neutral marker in ruminant digestibility studies. J. Anim. Sci. 44: 282-287.

Wanapat, M. 2000. Rumen manipulation to increase the efficient use of local feed resources and productivity of ruminants in the tropics. Asian-Aust. J. Anim. Sci.1(Suppl.): 59-67.

Wanapat, M., S. Kang, P. Khejornsart, and R. Pilajun. 2013. Improvement of whole crop rice silage nutritive value and rumen degradability by molasses and urea supplementation. Trop. Anim. Health Prod. 45: 1-5.