การดูดใช้ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และสัดส่วน N:S ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยผลผลิตสูง

Main Article Content

กุมุท สังขศิลา
ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ
สุชาดา กรุณา

บทคัดย่อ

หาปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน (N) และซัลเฟอร์ (S) ที่เพียงพอต่อการปลูกอ้อยผลผลิตสูงโดยเก็บตัวอย่างอ้อยพันธุ์ LK92-11 และ K84-200 จากแปลงที่จะได้ผลผลิตเป็น 5, 10, 15, 20 และ 25 ตัน/ไร่ ในเขตจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์ แต่ละระดับผลผลิตเก็บตัวอย่างใบ ลำต้น และรากทุก 30 วันตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว แต่ละเนื้อเยื่อนำไปหามวลสด มวลแห้ง และความเข้มข้น N และ S ใช้สมการ Michaelis-Menten kinetics อธิบายความต้องการ N และ S ที่เป็นฟังก์ชั่นของเวลาหลังปลูก พบความต้องการ N หรือ S กับระดับผลผลิตไม่เป็นเส้นตรง แสดงถึงอัตราเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย N หรือ S ที่ใส่จะมีค่าน้อยที่ระดับผลผลิตต่ำ แต่จะมีค่าสูงมากที่ระดับผลผลิตสูง สมการรูปตัวเอสใช้อธิบายการดูดใช้ N หรือ S ที่เป็นฟังก์ชั่นของเวลาหลังปลูกแบบไร้มิติได้ดี ค่าอนุพันธ์ชี้ว่าการดูดใช้ N เพื่อสร้างชีวมวลทั้งหมดมีถึง 180 วันหลังปลูก ในขณะที่การดูดใช้เพื่อสร้างลำต้นมีถึง 252 วันหลังปลูก แสดงถึงในช่วง 180-เก็บเกี่ยวลำต้นอ้อยต้องการใช้ N ในกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตหรือใช้เพื่อสร้างลำต้นลดน้อยลง สำหรับการดูดใช้ S เพื่อการสร้างชีวมวลทั้งหมดมีถึงเพียง 240 วันหลังปลูก แต่ใช้สร้างลำต้นอ้อยต้องการจนถึงเก็บเกี่ยว ดังนั้น S จึงเป็นธาตุอาหารอีกธาตุหนึ่งที่อ้อยต้องการใช้ร่วมกับ N เพื่อใช้ไปกับกระบวนการสะสมและขนส่งน้ำตาล

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 2 ดินบนพื้นที่ดอน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กุมุท สังขศิลา พูนพิภพ เกษมทรัพย์ วิภาวรรณ ท้ายเมือง ณัฏฐยาเรือนแป้น เมทินี เนียมแก้ว และสุดารัตน์ แช่มช้อย. 2550. ความต้องการธาตุอาหารหลักและรองของอ้อยที่ระดับการให้ผลผลิตต่างๆ กัน. ใน: รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาด้านอ้อย ส่วนที่ 3. โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จตุจักร, กรุงเทพฯ.

Atkins, P. and de P. Julio. 2006. Physical Chemistry for the Life Sciences. W. H. Freeman and Company, New York.

Barker, A. V., and D. J. Pilbeam. 2006. Chapter 1: Introduction. pp.3-18. In: Handbook of Plant Nutrition. A. V. Barker and D. J. Pilbeam eds. CRC series. Taylor and Francis, New York.

Gardiner D. T., and N. W. Christensen. 1997. A simple model for phosphorus uptake kinetics of wheat seedlings, Journal of Plant Nutrition. 20: 271-277.

Hamid, A. M. A., and Y. M. Ib. Dagash. 2014. Effect of sulfur on sugarcane yield and quality at the heavy clay soil “Vertisols” of Sudan. Universal Journal of Applied Science. 2(3): 68-71.

Haneklaus, S., E. Bloem, E. Schnug, L. J. de Kok, and I. Stulen. 2006. Chapter 7: Sulfur. pp.183-238. In:Handbook of Plant Nutrition. A. V. Barker and D. J. Pilbeam eds. CRC series. Taylor and Francis, New York.

Harrison, M. T., E. J. Edwards, G. D. Farquhar, A. B. Nicotra, and J. R. Evans. 2009. Nitrogen in cell walls of sclerophyllous leaves accounts for little of the variation in photosynthetic nitrogen-use efficiency. Plant, Cell and Environment. 32: 259-270.

Haun, W. 2015. Sulphur and sugarcane production. Agronomic Technical Bulletin. Tiger Sul University. Jeevika, K., S. Pragadeesh, and A. M. Haroon. 2016. Assessment of nutrient ratios in the leaf of sugarcane grown in Theni district of Tamil Nadu, India. Journal of Applied and Natural Science. 8(1): 77-79.

Kaler, A. S., J. M. McCray, A. L. Wright, and J. E. Erickson. 2017. Sugarcane yield and plant nutrient response to sulfur-amended Everglades Histosols. Journal of Plant Nutrition. 40(2): 187-196.

Malusa E., and N. Vassilev. 2014. A contribution to set a legal framework for biofertilizers. Appl. Microbiol. Biotechnol. 98: 6599-6607.

McNickle G. G., and J. S. Brown. 2014. When Michaelis and Menten met Holling: towards a mechanistic theory of plant nutrient foraging behaviour. Available: https://goo.gl/QvzkpN. Accessed Jul. 20, 2017.

Muchow, R. C., M. J. Robertson, A. W. Wood, and B. A. Keating. 1996. Effect nitrogen on the time-course of sucrose accumulation in sugarcane. Field Crops Research. 47: 143-153.

Mullins G. L., and H. Edwards. 1989. A comparison of two methods for measuring potassium influx kinetics by intact corn seedlings. Journal of Plant Nutrition. 12(4): 485-496.

Tisdale S. L., J. L. Havlin, J. D. Beaton, and W. L. Nelson. 1999. Soil Fertility and Fertilizers: An Introduction to Nutrient Management. 6th Edition. Prentice-Hall Inc, NJ.

van Rees K. C. J. 1995. Michaelis-Menten Kinetics: Calculation and use in nutrient uptake model. New Zealand Journal of Forestry Science. 24(2/3): 226-233.

Yao F., J. Sun, C. Tang, and W. Ni. 2011. Kinetics of ammonium, nitrate, and phospphate uptake by candidate plants used in constructed wetlands. Procedia Environmental Sciences. 10: 1854-1861.

Yin, X., J. Gouriaan, E. A. Lantinga, J. Vos, and H. J. Spiertz. 2003. A Flexible sigmoid function of determinate growth. Annals of Botany. 91: 361-371.