การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนผลิตสารหอมกฤษณา

Main Article Content

สิทธินันท์ วิวัฒนาพรชัย
ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี
ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร
อภิฤดี คงคาทิพย์

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนผลิตสารหอมกฤษณาหรือน้ำมันกฤษณา เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ (cost-benefit analysis: CBA) ผลการศึกษา พบว่า การปลูกไม้กฤษณาและกระตุ้นสารหอมกฤษณาด้วยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัยมีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่ากระตุ้นด้วยวิธีการแบบดั้งเดิม 2.5 เท่า คือ มีค่า IRR เท่ากับ 45.29% และ 16.66% และการลงทุนแปรรูปสารหอมกฤษณามีความคุ้มค่าสูงมาก มีค่า IRR เท่ากับ 238.84% แต่มีความเสี่ยงในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และความต่อเนื่องของไม้กฤษณา ดังนั้น ผู้แปรรูปสารหอมกฤษณาควรปลูกไม้กฤษณาและกระตุ้นสารหอมกฤษณาด้วยเชื้อราและสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย เพื่อให้กลั่นได้สารหอมกฤษณาคุณภาพเกรด A++ ซึ่งมีความคุ้มค่าทางการเงินสูง คือ มีค่า IRR เท่ากับ 120.33% และมีความคุ้มค่าภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในสถานการณ์ต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

งามผ่อง คงคาทิพย์. 2551. การพัฒนาวิธีการทำให้เกิดสารหอมในไม้กฤษณาในปริมาณสูงทุกแหล่งปลูกในประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.

งามผ่อง คงคาทิพย์, ศลิษา สุจิตวรสาร, บุญส่ง คงคาทิพย์ และ พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์. 2551. การกระตุ้นการเกิดยางไม้ที่มีกลิ่นหอมของไม้กฤษณา (Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte) โดยเชื้อราและสารเคมี. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

งามผ่อง คงคาทิพย์, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ และศลิษา สุจิตวรสาร. 2552. วิธีการกระตุ้นให้เกิดสารที่มีกลิ่นหอมในไม้กฤษณาโดยสารอินทรีย์. ประเทศไทย. เลขที่สิทธิบัตร 0701006251.

งามผ่อง คงคาทิพย์. 2552. วิธีการกระตุ้นให้เกิดสารที่มีกลิ่นหอมในไม้กฤษณาโดยสารอินทรีย์ที่ปลอดภัย. ประเทศไทย. เลขที่สิทธิบัตร 0701006252.

งามผ่อง คงคาทิพย์. 2552. วิธีการกระตุ้นให้เกิดสารที่มีกลิ่นหอมในไม้กฤษณาโดยเชื้อราและสารอินทรีย์. ประเทศไทย. เลขที่สิทธิบัตร 0701006253.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. 2544. เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี, ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร, สิทธินันท์ วิวัฒนาพรชัย และอภิฤดี คงคาทิพย์. 2555. การศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนการผลิตสารหอมกฤษณา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ไทยรัฐออนไลน์. 2552. จ.ตราดสั่งศึกษาความคุ้มค่าปลูกไม้กฤษณา. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/iSSqaw. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2560.

บุญส่ง คงคาทิพย์, งามผ่อง คงคาทิพย์, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์, ศลิษา สุจิตวรสาร, ศิรินันท์ ทับทิมเทศ, อุบล ฤกษ์อ่ำ, ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี, ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร, สิทธินันท์ วิวัฒนา พรชัย และอภิฤดี คงคาทิพย์. 2555. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การจัดทำมาตรฐาน และการใช้ประโยชน์สารหอมกฤษณาในเชิงพาณิชย์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

วิชาญ เอียดทอง และ จงรัก วัชรินทร์รัตน์. 2556. การเพิ่มประสิทธิภาพการกระตุ้นการสร้างเนื้อไม้หอมในต้นกฤษณา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อน.

วิชาญ เอียดทอง และ จงรัก วัชรินทร์รัตน์. 2557. การเพิ่มประสิทธิภาพการกระตุ้นการสร้างเนื้อไม้หอมในต้นกฤษณาในแปลงปลูก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สันติ สุขสะอาด และ อรรถชัย บรมบัญญัติ. 2557. การตลาดและการวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำสวนไม้กฤษณาในจังหวัดระยอง. วนศาสตร์. 33(2): 103-112.

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. 2558. เอกสารประกอบการสอนการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรรถชัย บรมบัญญัติ. 2556. การวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำสวนไม้กฤษณา การผลิตและการตลาดของไม้หอมในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุทัยวรรณ แสงวณิช, ลดาวัลย์ พวงจิตร, มณฑล จำเริญพฤกษ์, สุรัตน์วดี จิวะจินดา และบุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี. 2549. การศึกษาการปลูกสร้างสวนป่าไม้กฤษณาและการเปรียบเทียบผลของการชักนำให้เกิดสารกฤษณาโดยวิธีการต่างๆของเกษตรกร. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Osoguchi, T. 2002. Domestication of Aquilaria crassna Tree in Hevea brasiliensis Plantation, Huai Raeng-Klong Peed Watershed, Trat Province, Eastern Thailand. M.S.Thesis, Kasetsart University.