ฤดูกาลวางไข่ของปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ตันเจริญ
ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤดูกาลวางไข่ของปลาในกว๊านพะเยา ทำการศึกษาดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 8 ชนิด ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จากดัชนีความสมบูรณ์เพศ พบว่าปลา 7 ชนิด มีฤดูกาลวางไข่ปีละ 1 ครั้ง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนได้แก่ปลาสลาด ปลาไส้ตันตาขาว ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยขาว ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง และปลาสลิด ปลาที่มีการวางไข่มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี ได้แก่ ปลาหมอเทศ ทำการสำรวจความชุกชุมของลูกปลาในลำน้ำสาขาของกว๊านพะเยาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 พบลูกปลา 10,405 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ร้อยละ 20.21, กลุ่มปลาหนัง (catfish) ร้อยละ0.07, กลุ่มปลาช่อน (murrel) ร้อยละ 27.22 และกลุ่มปลาอื่นๆ (miscellaneous) ร้อยละ 52.50 โดยพบลูกปลาร้อยละ 70.60 แพร่กระจายในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้านการกำหนดฤดูกาลวางไข่ของปลาในกว๊านพะเยาอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2559. รายงานประจำปี. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2554. พลวัตประชากรของปลาชะโด Channa micropeltes ในกว๊านพะเยา. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 49 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 กุมภาพันธ์-4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2556ก. การวิเคราะห์ศักย์การผลิตทรัพยากรปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในกว๊านพะเยา. วารสารเทคโนโลยีการประมง. 7(1): 79-89.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2556ข. ชีววิทยาบางประการของปลาชะโด Channa micropeltes ในกว๊านพะเยา. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 51 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5 กุมภาพันธ์2556 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, จุลทรรศน์ คีรีแลง และ สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2556. เครื่องมือประมงและผลจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 วันที่ 3 สิงหาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. 2549. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/fNQZ6e. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556.

ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์. 2560. ระดับการแสดงออกตามฤดูกาลของยีนไวเทลโลจีนินและดัชนีความสมบูรณ์เพศของปลาหมอช้างเหยียบในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารเกษตร. 33(1): 121-130.

ธนิษฐา ทรรพนันทน์. 2543. ชีววิทยาประมง. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปริญดา รัตนแดง, คฑาวุธ ปานบุญ และสุธิดา โส๊ะบีน. 2558. โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2558. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้าจืดสุโขทัย กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง. 95 หน้า.

วิมลรัตน์ บุตรดาซุย, เจนจริา หมื่นเร็ว และสุขทัย พงศ์พัฒนศิริ. 2556. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำผิวดินในกว๊านพะเยา (ลุ่มน้ำแม่โขง). วารสารนเรศวรพะเยา. 6(2): 111- 115.

ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และ กรทิพย์ กันนิการ์. 2555. ชีววิทยาบางประการของปลาหมอเทศ (Oreochromis mossambicus) ในกว๊านพะเยา. วารสารนเรศวรพะเยา. 5(3): 290-295.

ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และ ณัฐวุฒิ งามสม. 2557. ฤดูกาลวางไข่ของปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepis fasciata) ในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ1): 768- 772.

ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร, อภิชาติ สุตาต๊ะ และอรพรรณ ประดิษฐ์. 2558. ฤดูกาลวางไข่และนิสัยการกินอาหารของปลาซัคเกอร์ (Hypostomus plecostomus) ในแม่น้ำอิง จังหวัดพะเยา. แก่นเกษตร. 43(3): 515-524.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา. 2553. รายงานประจำปี 2552. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา, กรมประมง.

สันติ พ่วงเจริญ. 2551. ฤดูวางไข่และแหล่งวางไข่ของปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, กรทิพย์ กันนิการ์, นิวุฒิ หวังชัย, เมธี พยอมยงค์ และวิฑูรย์ ตลุดกำ. 2557. การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยาเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา. 2552. รายงานประจำปี 2551. สำนักงานประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา, กรมประมง.

Cowx, I.G., W. Kamonrat, N. Sukumasavin, R. Sirimongkolthawon, S. Suksri, and N. Phila. 2015. Larval and Juvenile Fish Communities of the Lower Mekong Basin. MRC Technical Paper No. 49. Mekong River Commission, Phnom Penh, Cambodia.

Jutagate T., A. Rattanachai, S. Udduang, S. Lek-Ang, and S. Lek. 2016. Spatio- temporal variations abundance and assemblage patterns of fish larvae and their relationships to environmental variables in Sirindhron Reservoir of the lower Mekong Basin, Thailand. Indian Journal of Fisheries. 63(3): 11-23.

Panprommin, D., S. Pitakpol, S. Valunpion, and K. Soontornprasit. 2015. Correlation of spawning season and maturational parameters, Expression levels of Vitellogenin genes in Notopterus notopterus and Anematichthys armatus in Kwan Phayao, Thailand. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin. 39(3): 1-14.

Pithakpol, S. 2007. The Impact of Maintenance Dredging on Water Quality and Phytoplankton Standing Stock in Kwan Phayao Lake, Thailand. Naresuan University Journal. Science and Technology. 15(1): 1-8.

Poulsen, A.F., and J. Valbo-Jorgensen (editors). 2000. Fish migrations and spawning habits in the Mekong

Mainstream-a survey using local knowledge. AMFC Technical Report. Mekong River Commission.

Termvidchakorn, A., and K.G. Hortle. 2013. A guide to larvae and juveniles of some common fish species from the Mekong River Basin. MRC Technical Paper No. 38. Mekong River Commission, Phnom Penh.