ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกุ้งฝอยในพื้นที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ทำการสำรวจโดยสุ่มกุ้งฝอยจำนวน 4,128 ตัว จากชาวประมง ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 12 เดือนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป FiSATII (FAO-ICLARM Stock Assessment Tools) พบว่าผลการศึกษาความยาวตัวและน้ำหนักตัว มีความสัมพันธ์ตามสมการ W = 0.0107 TL2.7073 (R2= 0.9284, n = 4,128) มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.21 ขนาดเจริญพันธุ์พบว่าสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปีโดยช่วงที่มีจำนวนของแม่กุ้งที่มีไข่มากที่สุดในเดือน เมษายน-กันยายน ขนาดของแม่กุ้งมีไข่ที่เล็กที่สุดมีความยาวตัว 2.0 เซนติเมตร และน้ำหนักตัว 0.11 กรัมส่วนขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวตัว 6.2 เซนติเมตร และน้ำหนักตัว 1.62 กรัม อัตราการนำมาใช้ประโยชน์เท่ากับ 0.74 ขนาดความยาวที่สมบูรณ์เพศอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ (Lm) เท่ากับ 3.33 เซนติเมตร โดยผลจับของกุ้งฝอยร้อยละ 43.0 มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ เครื่องมือทำการประมงกุ้งฝอย ได้แก่ ไซกุ้ง ช้อนกุ้ง และหลง มีผลจับกุ้งฝอยเฉลี่ย 2.4±0.7 กิโลกรัมวัน/ราย ซึ่งหลง (อีแอบ) เป็นเครื่องมือที่มีผลจับเฉลี่ยมากที่สุด 3.2±2.0 /วัน/ราย รองลงมา คือ ช้อนกุ้ง และไซกุ้ง มีผลจับเฉลี่ย 2.5±1.3 และ 1.5±0.6 กิโลกรัม/วัน/ราย ตามลำดับ ดังนั้นควรดำเนินการจัดการประมงกุ้งฝอยในกว๊านพะเยาอย่างเร่งด่วน โดยการควบคุมปริมาณการลงแรงทำการประมงให้สอดคล้องกับขนาดประชากรของกุ้งฝอย
Article Details
References
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์. 2557a. พลวัตประชากร บางประการของกุ้งฝอยในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 1): 142-148.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ. 2557b. สภาวการณ์ประมงกุ้งฝอยในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองเล็งทราย จังหวัดพะเยา. วารสารสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย. 1(ฉบับพิเศษ 2): 239-242.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์, สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล, ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร, หทัยทิพย์ นิมิตเกียรติไกล และ ตรีสินธุ์ โพธารส. 2559. คู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยาเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (ระยะ 2). คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยพะเยา. 84 หน้า.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, กรทิพย์ กันนิการ์ และ กันตภณ โรจนอุดมพร. 2561. ศักย์การผลิตเพื่อการจัดการทรัพยากรกุ้ งฝอยในพื ้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
ทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา. 2547. ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยน้ำจืดในกุดทิงใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ธนิษฐา ทรรพนันทน์. 2543. ชีววิทยาประมง. ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นภาพร ศรีพุฒินิพนธ์ และสุริยา จงโยธา. 2540. ชี ว วิ ท ย า บ า ง ป ร ะ ก า ร ข อ ง กุ้ ง ฝ อ ย Macrobrachium lanchesteri De Man ในบึงทุ่งสร้าง จังหวัดขอนแก่น. เอกสารวิชาการฉบับที่ 35 กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 35 หน้า.
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, จุลทรรศน์ คีรีแลง, นิวุฒิ หวังชัย, เมธี พะยอมยงค์, ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์, ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และ กรทิพย์ กันนิการ์. 2556. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ แผนงานวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยาเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (ระยะ I). คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล และ ดวงประภา ถิ่นลาปาง. 2555. ํ การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ): 346-354.
สำนักงานประมงจังหวัดพะเยา. 2553. จำนวนผู้มีอาชีพทำการประมงในกว๊านพะเยาและแม่น้ำสาขา. http://www.fisheries.go.th/fpophayao/index.html. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558
Bond, N. R., P. S. Lake and A. H. Arthington. 2008. The impacts of drought on freshwater ecosystems: anAustralian perspective. Hydrobiologia, 600(1), 3-16.
De Grave, S., Y. Cai, and A. Anker. 2008. Global diversity of shrimps (Crustacea: Decapoda: Caridea) in freshwater. Hydrobiologia 595: 287-293.
Kaewsri, K. and S. Traichaiyaporn. 2012. Monitoring on water quality and algae diversity of Kwan Phayao, Phayao Province, Thailand. Journal of Agricultural Technology 2012 Vol. 8(2): 537-550.
Mattson, D.J. 1997. Wilderness-dependent wildlife: the large and the carnivorous. International Journal of Wilderness 3 : 34-38.
Ricker, W. E. 1971. Methods for assessment of fish production in fresh waters London: International Biological Programme.
Wowor, D., V. Muthu, R. Meier, M. Balke, Y. Cai, and PK. Ng. 2009. Evolution of life history traits in Asian freshwater prawns of the genus Macrobrachium (Crustacea: Decapoda: Palaemonidae) based on multilocus molecular phylogenetic analysis. Molecular Phylogenetics and Evolution 52: 340-350.
Yamane, Taro. 1970. Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. John Weatherhill, Inc., ToKyo.
Yawen, G., Z. Ke, Y. Xiangdong. 2018. Longterm succession of aquatic plants reconstructed from palynological records in a shallow freshwater lake. Science of The Total Environment 643: 312-323.