การเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ระหว่างการพัฒนาของเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเก็บเกี่ยวอย่างทันท่วงทีเป็นกลยุทธ์สำคัญ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพสูงสุด เพราะการเก็บเกี่ยวเร็ว หรือช้าเกินไป จะกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวในแต่ละช่วงระยะพัฒนาการของเมล็ดต่างกันโดยเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดที่อายุ 25 30 35 40 45 50 55 และ 60 วันหลังผสมเกสร (DAP) ทำการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความชื้นของเมล็ด และน้ำหนักแห้ง คุณสมบัติทางสรีรวิทยา ได้แก่ ความงอกความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุ ความเร็วในการงอก อัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า ค่าการนำไฟฟ้า และ คุณสมบัติทางชีวเคมี ได้แก่ ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) กิจกรรมของเอนไซม์คะตะเลส (CAT) เอนไซม์เปอร์ออกซิเดส (POD) และปริมาณมาลอนไดอัลดีไฮด์ (MDA) ดำเนินการตามแผนการทดลองแบบสุ่ม สมบูรณ์ (CRD) ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติทางกายภาพและทางสรีรวิทยาของเมล็ดเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี โดยสามารถทำการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 30 DAP ส่วนระยะสุกแก่ทาง สรีรวิทยาคือที่ 40 DAP ในส่วนขอคุณสมบัติทางชีวเคมีในแต่ละระยะพัฒนาการนั้นพบว่า มีปริมาณสารH2O2 สูงในช่วงอายุ 25 DAP หลังจากนั้นมีแนวโน้มลดลงต่ำสุดที่อายุ 35 DAP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากระยะ 50 DAP ส่วนปริมาณสาร MDA มีแนวโน้มสูงขึ้น สวนทางกับกิจกรรมของเอนไซม์ CAT และ POD ที่ลดลง ตามระยะเวลาที่การปล่อยเมล็ดไว้ในแปลง ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าระยะในแต่ละ ช่วงพัฒนาการของเมล็ด เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อกำหนดเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ที่สามารถช่วยหลีกเลี่ยงความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการผลิตเมล็ดพันธุ์ได้
Article Details
References
บุญมี ศิริ, ธีระวัช สุวรรณนวล และเรณู ผาหัวดง. 2550. อายุสุกแก่ทางสรีรวิทยาและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ทานตะวันลูกผสมพันธุ์ ALRA012. แก่นเกษตร 35 (ฉบับพิเศษ): 72 -76.
บุญมี ศิริ. 2552. วิทยาการเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
พรพรรณ ศรีทอง, กาญจนา ตะถา, จุฑามาศ ร่มแก้ว, กนกวรรณ เที่ยงธรรม, วันชัย จันทร์ประเสริฐ, และชูศักดิ จอมพุก. 2553. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีในระหว่างการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน. รายงานการประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติครั ้งที่ 7. ณ โรงแรมท็คอปด์แลนด์. พิษณุโลก.
สกุลกานต์ สิมลา, กมล เลิศรัตน์ และ พลัง สุริหาร. 2552. การตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพการบริโภคในข้าวโพดข้าวเหนียว. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย. 2560. สถิตินำเข้า-ส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม. แหล่งข้อมูล: http://www.thasta.com/web/index.php/2016-05-29-01-47-24/2016-05-29-01-48-39. ค้นเมื่อ. 7 สิงหาคม 2560.
Baily, C., J. Leymarie, A. Lehner, S. Rousseau, D. Come, and F. Corbineau. 2004. Catalase activity and expression in developing sunflower seeds as related to drying. J. ExpBot. 55 : 475 – 483.
Bailly, C., H. El-maarouf-bouteau, and F. Corbineau. 2008. From intracellular signaling networks to cell death: the dual role of reactive oxygen species in seed physiology. C.R. Biologies. 331 : 806 – 814.
Bewley, J. D., and M. Black. 1978. Physiology and biochemistry of seed in relation to germination Springger-Verlag Berlin Heidelberg New York. pp: 305.
Bradford, M. M. 1976. A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram quantities of protein utilizing the principle of protein-dye binding. Anal. Biochem. 72 : 248 – 254.
Cao, D.D., J. Hu, X. Huang, X. Wang, Y. Guan, and Z. Wang. 2008. Relationships between changes of kernel nutritive components and seed vigor during developmental stages of F1 seeds of sh2 sweet corn. J. Zhejiang Univ Sci B. 9 :964 – 968.
Cao, D. D., J. Hu, S. Zhu, W. Hu, and A. Knapp. 2010. Relationship between changes in endogenous polyamines and seed quality during development of sh2 sweet corn (Zea mays L.) seed. Scientia Horticulturae. 123 : 301 – 307.
Delouche, J.C., and C.C. Baskin. 1973. Accelerated aging techniques for predicting the relative storability of seed lots. Seed Sci. & Techno.1: 27- 452.
Gill, S. S., and N. Tuteja. 2010. Reactive oxygen species and antioxidant machinery in abiotic stress tolerance in crop plants. Plant Physiology and Biochemistry, 48 : 909–930.
Guan, Y.J., J. Hu, Z. Wang, S. Zhu, J. Wang, and A. Knapp. 2013. Time series regression analysis between changes in kernel size and seed vigor during developmental stage of sh2 sweet corn (Zea mays L.) seeds. Scientia Horticulturae. 154: 25 – 30.
ISTA. 1999. International seed testing associate. international rules for seed testing. Seed Science and Technology. 27. Supplement.
Zurich, Switzerland. Kozlowski T.T. (ed.) Seed biology. Academic Press, New York.
Ketthaisong, D., B. Suriharn, R. Tangwongchai, and K. Lertrat. 2013. Changes in physicochemical properties of waxy corn starches at different stages of harvesting. Carbohydrate Polymers. 98 : 241 – 248.
Lertrat, K., and N. Thongnarin. 2008. Novel approach to eating quality improvement in local waxy corn: improvement of sweet taste in local waxy corn variety with mixed kernels from super sweet corn. Acta Horticulturae. 769 : 145 – 150.
Leroux, B. M., A. J. Goodyke, K. I. Schumacher, C. P. Abbott, A. M. Clore, R. Yadegari, and J. M. Dannenhoffer. 2014. Maize early endosperm growth and development: from fertilization through cell type differentiation. American Journal of Botany, 101 : 1259 – 1274.
Macrobert, J. F., P. Setimela, J. Gethi, and M. Regasa. 2014. Maize hybrid seed production manual. Mexico,D.F.:CIMMYT. Marcos-filho, J. 2015. Seed vigor testing: an overview of the past, present and future perspective. Sci. Agric. 72 : 363 – 374.
Shaban, M. 2013. Review on physiological aspects of seed deterioration. International Journal of Agriculture and Crop Sciences. 6 : 627 - 631.
Szymanek, M., W. Tana, and F. Hammed. 2015. Kernel carbohydrates concentration in sugary-1 sugary enhanced and shrunken sweet corn kernels. 7 : 260 –264.
Velikova, V., I. Yordanov, and A. Edreva. 2000. Oxidative stress and some antioxidant systems in acid rain treated bean plants. Plant Science. 151 : 59 – 66.
Veselova, T. V., V. A. Veselovsky, and N. V. Obroucheva. 2015. Deterioration mechanisms in air-dry pea seeds during early aging. Plant Physiology and Biochemistry. 87 : 133 – 139.