ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ออ้อยปลูกในชุดดินสตึกที่ปรับปรุงด้วยขี้เถ้าแกลบ ในอัตราที่แตกต่างกัน

Main Article Content

Souksady Insixiengmay
ศุภิฌา ธนะจิตต์
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
เอิบ เขียวรื่นรมณ์

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาผลของขี้เถ้าแกลบและฟอสฟอรัสต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยปลูกพันธุ์ K 95-84 ในชุดดินสตึก วางแผนการทดลองแบบ split plot โดยแปลงทดลองหลักเป็นการใส่ขี ้เถ้าแกลบในช่วงเตรียมดินจำนวน 4 อัตราได้แก่ 0, 1, 2 และ 4 ตัน/ไร่ แปลงทดลองรองเป็นอัตราปุ๋ ยฟอสฟอรัสจำนวน 3 อัตรา
ได้แก่ 0, 1 และ 2 เท่าของอัตราแนะนำสำหรับอ้อยที่ปลูกในดินทรายร่วนซึ่งมีค่าเท่ากับ 8.2 กก. P2O5/ไร่ เก็บผลผลิตอ้อยปลูกที่อายุ 12 เดือน นอกจากนี ้ได้ทำการเปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดินที่ใส่ขี้เถ้าแกลบในอัตราที่แตกต่างกันโดยการบ่มดินในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 270 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใส่ขี้เถ้าแกลบปลดปล่อยให้ฟอสฟอรัสได้ตลอดระยะการเจริญเติบโตของอ้อยเป็นเวลา 270 วัน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการบ่มดิน 30 วัน ฟอสฟอรัสในดินจะเพิ่มขึ้นตามอัตราของขี้เถ้าแกลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ในอัตรา 4 ตัน/ไร่ให้ค่าสูงสุดตลอดระยะเวลาการบ่มดินมีค่าอยู่ในพิสัย 10.3-13.7 มก./กก. การใส่ขี้เถ้าแกลบหรือการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสทำให้การเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของอ้อยปลูกเพิ่มขึ้นจากตำรับควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการใส่ขี้เถ้าแกลบในอัตรา 1-4 ตัน/ไร่ให้ผลผลิตอ้อยสด (14.9-17.3 ตัน/ไร่) ผลผลิตนน้ำตาล (2.64-2.92 ตัน/ไร่) ความยาวลำอ้อย (2.65-2.77 ม.) และจำนวนปล้องอ้อย (27-29 ปล้อง/ต้น) สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตรา 8.2 และ 16.4 กก. P2O5/ไร่ ให้ผลผลิตอ้อย (15.1-16.5 ตัน/ไร่) และผลผลิตน้ำตาล (2.61-2.71 ตัน/ไร่) สูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ ปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างขี้เถ้าแกลบและปุ๋ยฟอสฟอรัสไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยปลูก แต่ทำให้สมบัติของดินบนหลังปลูกอ้อยแตกต่างกันทางสถิติโดยดินจะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณธาตุอาหารพืชในดินจะแปรปรวนตามตำรับการทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2551. เอกสารวิชาการ อ้อยร้อยล้าน. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร. กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. 2558. ศักยภาพทรัพยากรดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ชัยฤกษ์ สุวรรณรัตน์. 2536. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

ประเสริฐ สองเมือง, วิทยา ศรีนานันท์, กรพล ลิ้มสมวงค์, อนนท์ สุขสวัสดิ์, ดิเรก อินตาพรม, กรรณิกา นากลาง และสว่าง โรจนกุศล. 2541. การใช้แกลบและขี้เถ้าแกลบเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

รัชณี ขำเดช, ศุภิฌา ธนะจิตต์, สมชัย อนุสนธิ์ พรเพิ่ม และ อัญชลี สุทธิประการ. 2554. การตอบสนองของอ้อยที่ปลูกในดินเนื้อหยาบต่อการใส่มูลไก่และการให้ปุ๋ยสังกะสีกับเหล็กทางใบ. แก่นเกษตร 39: 197-208.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558 แหล่งที่มา: www.oae.go.th/download/ download_journal/2559/yearbook58.pdf

อรรถสิทธิ์ บุญธรรม. 2541. เทคนิคการปลูกการดูแลรักษาอ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตและ CCS ของอ้อย. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Bakker, H. 1999. Sugarcane Cultivation and Management. Klwer Academic/Plenum Publisher. USA. Blackburn, F. 1984. Sugarcane. Longman, Inc.,New York.

Brady, N.C. and R.C. Weil. 2016. The Nature and Properties of Soils. 15th ed. Pearson Education, Inc. USA.

Bruand, A., C. Hartmann, and G. Lesturgez. 2006. Physical properties of tropical sandy soils: A large range of behaviors. HAL Id: hal-00079666. Available: https://hal-insu. archives-ouvertes.fr/hal-00079666. Accessed May.14, 2017.

Harish, K.P., M. Paswan, A. Kadir, and P.P. Om. 2015. Rice husk, its application, power generation and environmental impact: An overview. JSMaP 01: 438-445.

Hunsigi, G. 1993. Production of Sugarcane. Theory and Practice Springer-Verlag, Berlin.

Khan, I.A., K. Abdullah, G.S. Nizamani, M.A. Siddiqui, R. Saboohi, and A.N. Dahar. 2005. Effect of NPK fertilizers on the growth of sugarcane clone AEC86-347 developed at Nia, Tando jam, Pakistan. Pak. J. Bot. 37: 355-360.

Kumar, S., P. Sangwan, R. Dhankhar, V. Mor, and S. Bidra. 2013. Utilization of rice husk and their ash: A review. Res. J. Chem. Env. Sci. 01: 126-129.

Ludlow, M.M., R.C. Muchow, and G. Kigston. 1992. Quantification of the environmental and nutritional effects on sugar accumulation. In J.R. Wilson, ed., Improvement of Yield in Sugarcane through Increased Sucrose Accumulation. Brisbane: Sugar Research and Development Corporation.

Mohammed, T.E. 2005. Influence of Soil Moisture Content, Soil Texture and Quantity of Plant Residues Applied to Soils on Nitrogen Mineralization, Ph.D. Dissertation, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

Muntohar, A.S. 2002. Utilization of uncontrolled burnt rice husk ash in soil improvement. Dimensi Teknik Sipil. 04: 100-105.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Conservation Service, USDA.

Njoku, C. and C.N. Mbah. 2012. Effect of burnt and unburnt rice husk dust on maize yield and soil physico-chemical properties of an Ultisol in Nigeria. Biological Agriculture & Horticulture. 28: 49-60.

Okon, B.P., S.J. Ogeh, and C.U. Amalu. 2005. Effect of rice husk ash and phosphorus on some properties of acid sands and yield of okra. Commun. Soil Sci. Plant Anal. 36: 833-845.

Perez, O., M. Melgar, and I. Lazcano-Ferrat. 2003. Phosphorus fertilization and phosphorus-extraction method calibration for sugarcane soils. BCI. 17: 26-29.

Rose, R., T. John, and S.S. Jayasree. 2016. Impact of long term application of rice husk ash on soil-water relations in Palakkad Eastern plains. IJAPSA. 02: 126-130.

Sanchez, P.A. 1976. Properties and Management of Soils in the Tropics. John Wiley, New York.

Wayagari, J.W., A. Amosun, and S.M. Misari. 2001. Economic optimum NPK fertilizer ratios and time of application for high yield