การยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

วรารัตน์ สุดชา
ประภัสสร เกียรติสุรนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ได้จากการทดสอบแบบสัมภาษณ์จำนวน 30 ชุด เท่ากับ 0.842 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั ้นตอนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง เดือนตุลาคม–ธันวาคม พ.ศ. 2560 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ มาตราประมาณค่า (Rating scale) และ วิธี t-test F-test ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับต่ำจำนวน 4 ระยะของการผลิตข้าวนาปี คือ ระยะเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะข้าวเริ่มแตกกอหลังหว่านข้าว 5-7 วัน ระยะข้าวก่อนตั้งท้อง และระยะข้าวตั้งท้อง และการยอมรับในระดับไม่ปฏิบัติ 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมแปลงปลูกข้าว ระยะข้าวเริ่มโผล่ออกจากใบธงได้ 5 เปอร์เซ็นต์ และระยะข้าวออกรวงแล้วทุกต้น ผลการเปรียบเทียบการยอมรับ พบว่า เกษตรกรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาการพบปะกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวนครั้งที่เข้าร่วมการฝึกอบรมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าว พื้นที่ปลูกข้าว และประสบการณ์การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในบางประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. (2559). รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวปี 2559/2560 รอบที่ 1. กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร. คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร. สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีกรมส่งเสริมการเกษตร. 175 หน้า.

จิระเดช แจ่มสว่าง และ วรรณวิไล อินทนู. (2542).การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช.โครงการเกษตรกู้ชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 2. 90 หน้า.

จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. (2550). เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวินิจฉัยโรคพืชและการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีด้วยเชื ้อราไตรโคเดอร์มา. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม.

ชัชวาล จันทราสุริยารัตน์ และ สุรีพร เกตุงาม. (2552). โรคไหม้ในข้าวและสถานการณ์ปัจจุบันของงานวิจัยด้านยีนต้านทานโรคไหม้ในข้าว. แก่นเกษตร. 37: 69-78

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2527). หลักการส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์. (2559). คู่มือโครงการประจำปีงบประมาณ 2559. กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์.

สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์. (2555). คู่มือโครงการประจำปีงบประมาณ 2555. สำนักงานเกษตร จังหวัดกาฬสินธุ์.

Yamane, Taro. 1967.Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York : Harper and Row.