วัสดุทดแทนพีทมอสในระยะอนุบาลของการผลิตต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes ampullaria) เป็นไม้กระถาง

Main Article Content

สุรวิช วรรณไกรโรจน์
ปริยานุช จุลกะ
วสันต์ หนูนัง
เจนวิทย์ สมอคร

บทคัดย่อ

การหาวัสดุปลูกเพื่อทดแทนพีทมอสในการอนุบาลต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด Nepenthes ampullaria ที่ได้จากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับกระบวนการผลิตต้นเป็นไม้กระถางจำหน่าย โดยนำต้นอ่อนจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปอนุบาลในถาดหลุมซึ่งใช้วัสดุปลูก 5 ชนิดคือ พีทมอส, ขุยมะพร้าว,ขุยมะพร้าวหมักนาน 4 เดือน, วัสดุผสมขุยมะพร้าว:แกลบ อัตราส่วน 3:1 โดยปริมาตร และวัสดุผสมขุยมะพร้าว:แกลบ:ปุ๋ยหมักเถ้าหม้อกรองโรงงานน้ำตาล ตรามดเขียว อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร นาน 6 สัปดาห์ แล้วย้ายทั้งต้นและวัสดุปลูกออกจากถาดหลุม ไปลง ปลูกในกระถางขนาด 4 นิ้ว ซึ่งใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุปลูกในโรงเรือนพรางแสง 50 % รดน้ำวันละ 1 ครั้ง โดยไม่ใส่ปุ๋ยเป็นเวลาอีก 16 สัปดาห์ พบว่าวัสดุผสมขุยมะพร้าว: แกลบ:ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร สามารถทดแทนพีทมอสในช่วงการอนุบาลต้นอ่อนหม้อข้าวหม้อแกงลิงนาน 6 สัปดาห์ ก่อนย้ายปลูกในขุยมะพร้าว เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตด้านความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม จำนวนใบต่อต้น และความกว้างใบที่ยาวที่สุดซึ่งมีหม้อ ตลอดจนคุณภาพเชิงสุนทรียะ ดีที่สุดในระยะพร้อมจำหน่าย ได้แก่จำนวนหม้อต่อต้น ขนาดและความกว้างของปีกของหม้อที่ยาวที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เจนวิทย์ สมอคร, ปริยานุช จุลกะ และ สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2557. วัสดุปลูกทดแทนพีทมอสสำหรับต้นกล้าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด Nepenthes ampullaria. แก่นเกษตร 42: 501-505.

เต็ม สมิตินันทน์. 2549. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

ทิพย์ดรุณี สิทธินาม. 2547. ผลของวัสดุปลูกและปุ๋ ยต่อการงอกและการเจริญเติบโตของไม้ดอกกระถาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

ป่าไม้. 2555. พืชกินแมลง. เอกสารเผยแพร่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ 17(3): 3 - 4.แหล่งที่ข้อมูล: https://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/kkb43.pdf ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2561.

พนม สุทธิศักดิ์ โสภณ, วิสินี ไขว้พันธุ์ และสุมาลี เหลืองสกุล. 2553. การสำรวจหม้อข้าวหม้อแกงลิงในตลาดจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41: 429 – 432.

ภัทรา แสงดานุช และวีระ โดแวนเว. 2551. พืชกินแมลง. บริษัทอมรินทร์พริ ้นติ ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ. 183 น.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2547. วัสดุปลูกไม้ดอกไม้ประดับ.สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพมหานคร.

มะลิวัลย์ ธนะสมบัติ, ยุทธนา บรรจง, ปฐมะ ตั้งประดิษฐ์, พนิดา วงษ์แหวน และยุพา ปานแก้ว. (2552). การพัฒนาและขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงในเชิงการค้า (ตอนที่ 2) การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 54:15-25.

วรวุฒิ พรหมมา.2547. การศึกษาเพื่อพัฒนาวัสดุเพาะเมล็ดจากกากก้นตะกอนกรองอ้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

วัลลีย์ อมรพล, พินิจ กัญญาศิลปิน, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, ศรีสุดา ทิพยรักษ์ และกอบเกียรติ ไพศาลเจริญ. 2555. การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินทรายภาคตะวันออก. วารสารแก่นเกษตร 40: 141 – 148.

สุกัญญา จัตตุพรพงษ์, อุทัย คันโธ และปฏิมา อู๋สูงเนิน. มปป. นํ้าสกัดมูลสุกร: การใช้มูลสัตว์เป็ นปุ๋ยสำหรับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ. เอกสารเผยแพร่สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 1.

สุริยา สาสนรักกิจ. มปป. ปุ๋ ยน้ำชีวภาพ: เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ ยปลาหมัก. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2561. พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518. แหล่งที่ข้อมูล: http://www.doa.go.th/pvp/index.php?option=com_content&view=article&id=210&Itemid=110 ค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561.

เหนียวคำ คำมีนาที. 2555. ผลของวัสดุปลูกอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.

Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), KotaKinabalu.International Peatland Society. 2001. What is peat? http://www.peatsociety.org/peatlandsa n d - p e a t / p e a t - e n e r g y - r e s o u r c e . Accessed 3 Aug. 2018.