การเจริญเติบโตและการตอบสนองทางสรีรวิทยาของอ้อย 4 พันธุ์ ภายใต้สภาพเครียดจากความเค็ม

Main Article Content

คัทลียา ฉัตร์เที่ยง
ประกายมาส รุ่นประพันธ์
สุรีพร นันท์ดี
สนธิชัย จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

การตอบสนองของพืชต่อสภาพเครียดจากความเค็มขึ้นกับระดับของความเค็ม ระยะเวลาที่พืชได้รับสภาพเครียดจากความเค็ม และพันธุกรรมของพืช งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสภาพเครียดจากความเค็มต่อการเจริญเติบโตและการตอบสนองทางสรีรวิทยาบางประการของอ้อย 4 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสปริทพลอทสุ่มสมบูรณ์ (split plot in completely randomized design) ปัจจัยหลักคือ ระดับความเค็ม 3 ระดับ ได้แก่ 0 100 และ 200 mM NaCl ส่วนปัจจัยรองคือ พันธุ์อ้อยจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ อ้อยพันธุ์ป่า (Saccharum spontaneum) อ้อยอาหารสัตว์พันธุ์ไบโอเทค2 (BT2) และอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น3 (KK3) และ สุพรรณบุรี72 (SP72) ปลูกอ้อยในระบบไฮไดรโพรนิกส์ บันทึกการเจริญเติบโต พื้นที่ใบ และน้ำหนักแห้งวัดอัตราแลกเปลี่ยนแก๊สในใบ คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์ ปริมาณคลอโรฟิลล์รวม พลังงานศักย์ของน้ำในใบและการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ ในระหว่างที่อ้อยได้รับสภาพเครียดและในช่วงฟื้นตัว จากการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสรีรวิทยาและชีวมวลของอ้อยขึ้นกับระดับของความเข้มข้นของเกลือ ที่ระดับความเค็ม 200 mM NaCl เป็นสภาพเค็มมากทำให้อ้อยทั้ง 4 พันธุ์ชะงักการเจริญเติบโต มี การรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์สูง ปริมาณคลอโรฟิลล์รวม ประสิทธิภาพการใช้แสง อัตราสังเคราะห์แสงและประสิทธิภาพการคายระเหยลดลงมาก อ้อยพันธุ์ป่า และ ขอนแก่น3 มีการลดลงของน้ำหนักแห้งน้อยกว่าไบโอเทค2 และ สุพรรณบุรี72 ทั ้งนี้เนื่องจากสามารถควบคุมการเปิดปากใบและรักษาค่าศักย์ของน้ำในใบได้ดีมีประสิทธิภาพการคายระเหย ประสิทธิภาพการใช้แสง อัตราสังเคราะห์แสงสุทธิสูง และสามารถฟื้นตัวได้ดีหลังได้รับสภาพเครียดจากความเค็มทั้ง 2 ระดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้ สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นิธญา เลณะสวัสดิ, วัฒนชัย ล้นทม, มานิตย์ โฆษิตตระกูล, ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ และวิทยา ตรีโลเกศ. 2559. กิจกรรมของเอนไซม์ต้านออกซิดชันและปริมาณเปอร์ออกไซด์ในใบอ้อยที่ได้รับความเครียดแล้ง. ว.พฤกษศาสตร์ไทย. 8: 65-80.

ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์, โฆสิต บุญเอก และกิตติมา รัก โสภา. 2552 การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยอาหารสัตว์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม, สำนักบริหารจัดการคลัสเตอร์, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สมศรี อรุณินท์. 2539. การปรับปรุงดินเค็ม. สมศรี อรุณินท์. หน้า 19-29. ใน: ดินเค็ม. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2559/60. Available:http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561

Bromham, L. and T.H. Bennett. 2014. Salt tolerance evolves more frequently in C4 grass lineages. J. Evol. Biol. 27: 653–659.

Cha-Um, S., S. Chantawong, C.M. Siriwatana, M. Ashraf, and C. Kirdmanee. 2013. Field screening of sugarcane (Saccharum spp.) mutant and commercial genotypes for salt tolerance. Not. Bot. Horti. Agrobo. 41: 286-293.

Cha-Um, S., S. Chuencharoen, C. Mongkolsiriwatana, M. Ashraf, and C. Kirdmanee. 2012. Screening sugarcane (Saccharum sp.) genotypes for salt tolerance using multivariate cluster analysis. Plant Cell. Tiss. Organ. Cult. 110:23–33.

Cheavegatti-Gianotto, A., H.M.C. Abreu, P. Arruda, J.C.B. Filho, W.L. Burnquist, S. Creste, L. Ciero, J.A. Ferro, A.V.O Figueiria, T.S. Figueiras, M.F. Grossi-de-Sa, F.C. Guzzo, H.P. Hoffmann, M.G.A. Landell, N. Macedo, S. Matsuoka, F.C. Reinach, E. Romano, W.J. Silva, M.C.S. Filho, and E.C. Ulian. 2011. Sugarcane (Saccharum officinarum): A reference study for the regulation of genetically modified cultivars in Brazil. Tropical Plant Biol. 4: 62–89.

Jangpromma, N., S. Thammasirirak, P. Jaisil, and P. Songsri. 2012. Effects of drought and recovery from drought stress on above ground and root growth, and water use efficiency in sugarcane (Saccharum officinarum L.). Aust. J. Crop. Sci. 6:1298-1304.

Moran, R. 1982. Formulae for determination of chlorophyllous pigments extracted with N,Ndimetylformamide. Plant Physiol. 69:1376-1381.

Murad, A.M., H.B.C Molinari, B.S. Magalhaes, A.C. Franco, F.S.C. Takahashi, N.G. de OliveiraJunior, O.L. Franco, and B.F. Quirino. 2014. Physiological and proteomic analyses of Saccharum spp. grown under salt stress. PLOS ONE. 4: 1-12.

Silva, J.A.G., P.M.A. Costa, T.G. Marconi, E.J.S. Barreto, N.S. Gracia, J.W. Park, and N.C. Glynn. 2018. Agronomic and molecular characterization of wild germplasm Saccharum spontaneum for sugarcane and energycane breeding purposes. Sci. Agric. 75:329-338

Wiedenfied, B. 2008. Effects of irrigation water salinity and electrostatic water treatment for sugarcane production. Agric. Water Manage. 95: 85-88.

Zhu, J.K. 2007. Plant salt stress. P1-3. In: Encyclopedia of life sciences. John Wiley and Sons Ltd., USA.