ความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ของดินในพื้นที่เกิดดินถล่ม

Main Article Content

อลงกรณ์ วงศ์หมั่น
กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว
จรัณธร บุญญานุภาพ

บทคัดย่อ

ความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดิน (AWCA) มีความสำคัญมากในด้านเกษตรกรรม และการฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม เนื่องจากการเกิดดินถล่มและสูญเสียหน้าดินส่งผลต่อการเก็บกักน้ำของดิน ซึ่งพื้นที่ต้นน้ำต่ำบลแม่พูล เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มในปี 2549 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณและวิเคราะห์ความแตกต่างของ AWCA 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์และจัดกลุ่มองค์ประกอบหลักระหว่างตัวแปรคุณสมบัติดินกับ AWCA 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม AWCA ด้วยวิธีการแบบจำลองเชิงเส้นวางนัยทั่วไป (GLMs) โดยทำการศึกษาในระบบนิเวศป่าเบญจพรรณผสมไผ่และสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตร ภายใต้สถานการณ์ ปกติและเกิดดินถล่มเมื่อปี 2549 พบว่า ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณผสมไผ่ (BN) มี AWCA สูงที่สุดในทุกระดับความลึกโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 16.76 โดยปริมาตร รองลงมาเป็นระบบนิเวศสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตรที่เกิดดินถล่ม (FS) ป่าเบญจพรรณผสมไผ่ที่เกิดดินถล่ม (BS) และสวนไม้ผลผสมแบบวนเกษตร (FN) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 12.50 12.36 และ 8.32 โดยปริมาตรตามลำดับ โดย BN ที่มี AWCA สูงสุด พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ กับ AWCA ในเชิงบวก ได้แก่ ความจุความชื้นสนาม ปริมาณสัดส่วนของรากพืช ปริมาณสัดส่วนที่เป็นอากาศความพรุน พีเอชดิน และความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ขณะที่ตัวแปรองค์ประกอบดินสัดส่วนที่เป็นของแข็งความหนาแน่น และอนุภาคดินเหนียวมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ PCA ยังพบว่า ดินที่มีค่า AWCA สูง จะมีปริมาณสัดส่วนที่เป็นอากาศสูงเช่นกัน แต่ความชื ้นที่จุดเหี่ยวถาวร และองค์ประกอบดินสัดส่วนที่เป็นน้ำจะมีค่าต่ำ ทั้งนี้ BN มีลักษณะเฉพาะ คือ องค์ประกอบสัดส่วนที่เป็นอากาศ และอัตราการซึมขณะไม่อิ่มตัวสูง ขณะที่ความจุความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวร และองค์ประกอบดินสัดส่วนที่เป็นน้ำมีค่าต่ำ ดังนั้น BN จึงมีปริมาณของ AWCA สูงที่สุด และการวิเคราะห์ GLMs ยังบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าการเกิดดินถล่มเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง AWCA

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมทรัพยากรธรณี. 2554. แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานฉบับสมบูรณ์. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. http://www.dmr.go.th/download/north/Uttaradit_final.pdf. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2561.

จรัณธร บุญญานุภาพ, ประสิทธิ์ ทองเล่ม และแหลมไทย อาษานอก. 2559. การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของวิธีเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินสำหรับการป้องกันดินถล่มบริเวณพื้นที่ตำบลแม่พูล: นัยสู่การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มูลนิธิชัยพัฒนา.

จรัณธร บุญญานุภาพ และ ประสิทธิ์ ทองเล่ม. 2556. การประเมินศักยภาพที่ดินและแนวทางการจัดรูปที่ดินเพื่อกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจและพื้นที่คุ้มครองบริเวณแหล่งต้นน้ำบนพื้นที่ภูเขาสูงชัน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ชลดา อ่อนอาษา. 2551. ความผันแปรของความชื้นในดินในป่าดิบแล้งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศระดับต่าง ๆ. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

บัญชา รัตนีทู. 2552. ปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูสภาพดิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 1: 1-16

บุญมา ดีแสง, ชลดา อ่อนอาษา และ พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล. 2553. ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินลุ่มน้ำระยอง. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

บุญแสน เตียวนุกูลธรรม. 2548. บทเรียน E – learning วิชาปฐพีวิทยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/soil/lesson_3_5.php. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.

พงษ์ศักดิ วิทวัสชุติกุล, สำเริง ปานอุทัย และ พิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์. 2554. บทบาททรัพยากรป่ าไม้กับปัญหาน้ำบ่าไหลหลาก-แผ่นดินถล่ม: ข้อสังเกตจากข้อมูลเชิงประจักษ์. ส่วนวิจัยต้นน้ำสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ, กรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

วรนันท์ สนกันหา, สมชัย อนุสนธิพรเพิ่ม, ศุภิฌา ธนะจิตต์, เอิบ เขียวรื่นรมณ์ และ ทักษิณ อาชวาคม. 2555. ลักษณะดินภายใต้สภาพป่าต่างชนิดบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช. แก่นเกษตร. 40: 7-18.

วิทยา ตรีโลเกศ. 2526. สมบัติการนำน้ำ และความเป็นประโยชน์ต่อพืชของน้ำในดินชุดหลักของบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สำนักสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. 2557. สมบัติที่สำคัญๆ ของดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์. 2536. บทปฏิบัติการปฐพีวิทยามูลฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. ฝ่ายโรงพิมพ์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน, กรุงเทพฯ.

Alliaume, F., W.A.H. Rossing, M. García, K.E. Giller and S. Dogliotti. 2013. Changes in soil quality and plant available water capacity following systems re-design on commercial vegetable farms. European Journal of Agronomy. 46:10 - 9.

Blake, G. R and K. H. Hartge. 1986. Bulk density, In: Klute, Ed. A. Methods of Soil Analysis, Part 1: Physical and Mineralogical Methods, 2nd Edition, SSSA Book Series 5. Soil Science Society of America, Madison.

Campos, I., J. G. Piqueras, A. Carrara, J. Villodre and A. Calera. 2016. Estimation of total available water in the soil layer by integrating actual evapotranspiration data in a remote sensing-driven soil water balance. Journal of Hydrology. 534: 427- 439.

Day, P.R. 1965. Particle fractionation and particle size analysis, In Methods of Soil Analysis, C.A. Black, editor. Agronomy no. 9, Part 1. American Society of Agronomy, Madison.

Easton, Z. M. 2016. Soil and Soil Water Relationships. VCE publication. BSE-194.

Jiang, P., S.H. Anderson, N.R. Kitchen, K.A. Sudduth and E.J. Sadler. 2007. Estimating plant-available water capacity for claypan landscapes using apparent electrical conductivity. Soil Science Society of America Journal. 71: 1903-1908.

Kirkham, M. B. 2014. Chapter 10 – Field Capacity, Wilting Point, Available Water, and the Nonlimiting Water Range. Principles of Soil and Plant Water Relations. 32: 153-170.

Liu, J., C. H. Wei, Q. Xie, and W. H. Zhang. 2014. Capacities of soil water reservoirs and their better regression models by combining ‘‘merged groups PCA’’ in Chongqing, China. Acta Ecologica Sinica. 34: 53-65.

Mbah, C.N. 2012. Determining the field capacity, wilting point and available water capacity of some southeast Nigerian soils using soil saturation from capillary rise. Nigerian Journal of Biotechnology. 24: 35-42.

Peech, M. 1965. Hydrogen-ion Activity, In Methods of Soil Analysis, C.A. Black, Ed. Agronomy no. 9, Part 2. American Society of Agronomy, Madison.

Poesen, J. and B. Lavee. 1994. Rock fragments in top soils: significance and processes. Catena. 23: 1-28.