การผลิตและการจำหน่ายมันแกวผ่านแผงลอยริมถนนของเกษตรกรรายย่อยในหมู่บ้านพงโพด ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ร้านค้าแผงลอยจำหน่ายผลผลิตจากการเกษตรบริเวณริมถนนทางหลวงมีจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย มีบางชุมชนแผงลอยที่มีการขายผลผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรงและมีการจัดการเชิงการค้าหนึ่งในนั้นคือแผงลอยริมถนนจำหน่ายมันแกวในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ที่ดำเนินการเป็นระยะเวลานานและรู้จักทั่วไปในภูมิภาค จึงเป็นที่น่าสนใจว่าระบบการผลิตมันแกวและการตลาดของเกษตรกรเป็นอย่างไรบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจความเป็นมา กลไกของการตลาดรูปแบบแผงลอยริมถนนและ ความเชื่อมโยงกับการผลิตมันแกวในพื้นที่ การวิจัยนี้ ใช้วิธีการประเมินชนบทอย่างเร่งด่วนร่วมกับการใช้แบบสอบถามโดยการใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้รู้ จำนวน 19 คน และแบบสอบถามกับเกษตรกรผู้ปลูกมันแกว ทั้งหมด 87 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า ระบบการผลิตมันแกวที่ศึกษาเป็นระบบที่มีการผลิตมายาวนานและมีความเฉพาะพื้นที่ รูปแบบการตลาดแผงลอยริมถนนที่ขายมันแกวเกิดขึ ้นจากเกษตรกรผู้ผลิตที่ผันตัวเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ ซึ่งมาจากปัญหาพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตมันแกวมีจำนวนลดลงเพราะราคารับซื้อสูงขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรได้สวมบทบาทเป็นพ่อค้าคนกลางเช่นกันแต่ถือว่าเป็นพ่อค้าคนกลางภายในชุมชนส่วนในด้านระบบการผลิตมันแกวพบว่า เกษตรกรได้ใช้พื้นที่ขนาดเล็กปลูกพืชที่มีมูลค่าและวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ว่าเป็นพัฒนาการของเกษตรกรรายย่อยสู่การเป็นผู้ประกอบการและการตลาดด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามการขายสินค้าลักษณะนี้ยังถือว่าผิดกฎหมายของกรมทางหลวง ดังนั้นการส่งเสริมช่องทางตลาดหรือการบังคับใช้กฎหมายควรพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งในเชิงกฎหมาย เชิงความปลอดภัย เชิงเศรษฐกิจของเกษตรกรรายย่อย
Article Details
References
กรมทรัพยากรธรณี. 2552. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดมหาสารคาม. บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ.
สมพันธ์ เตชะอธิก, วิเชียร แสงโชติ, บุญยัง หมั่นแสงดี, อนันต์ ลิขิตประเสริฐ, โกวิทย์ กุลสุวรรณ, เอียด ดีพูน, จิตติ กิจพงษ์ประพันธ์ และทรงพล ตุละทา. 2547. ศัพท์พัฒนาเพื่อชุมชนและสังคม. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอนแก่นการพิมพ์, ขอนแก่น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559. แหล่งข้อมูล: http://oldweb.oae.go.th/download/download_journal/2560/yearbook59.pdf. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561.
สุจินต์ สิมารักษ์ และสุเกสินี สุภธีระ. 2530. คู่มือวิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน. โครงการวิจัยระบบการทำฟาร์ม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. 2559. ลืมตาอ้าปาก จาก “ชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ.
Aldous, D. 1983. A profile of cut flower purchases in Victoria, Australia. Acta Hortic. 135: 365-372.
Cottingham, J.,J. Hovland, J. Lenon, T. Roper,and C.Techtmann. 2000. Direct Marketing of Farm Produce and Home Goods. Available: http://learningstore.uwex.edu/assets/pdfs/A3602.pdf. Accessed Dec. 15, 2016.
Govindasamy, R., and M. Nayga. 1996. Characteristics of farmer-to-consumer directmarketing customer: An overview. J. Extension 34: 34-40.
Henderson, P., and H. Linstrom. 1982. Farmer to Consumer Direct Marketing: Selected States, 1979-80. United States Department of Agriculture. U.S.state.
Maicharoen, W. 2018. Roadside stalls in the Northeast Thailand and their benefits to farmers. Ph. D. Thesis. Khon Kaen University, Khon Kaen.
Morgan, T., and D. Alipoe. 2001. Factors of affecting the number and type of small-farm direct marketing outlets in Mississippi. Journal of Food Distribution Research. 32: 125-132.
Rambo, T. 2017. From poor peasants to entrepreneurial farmers: The transformation of rural life in Northeast Thailand. Asian Pacific Issues. No.132.
Yokota, T. 2004. Guidelines for roadside station – michinoeki. Available: http://www.worldbank.org/...%20docs/01_Intro-Note6.pdf. Accessed Dec. 20, 2016.