ผลผลิต คุณภาพเมล็ด และความหอมของข้าวหอมพื้นเมืองที่สูงพันธุ์บือเนอมู

Main Article Content

ปวีณา เตจาคำ
ศรันย์ ขำโท้
ศันสนีย์ จำจด
นริศ ยิ้มแย้ม
ต่อนภา ผุสดี

บทคัดย่อ

ข้าวพันธุ์บือเนอมูเป็นพันธุ์ข้าวหอมพื้นเมืองที่ปลูกโดยเกษตรกรชาวไทยภูเขาในบริเวณพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมและมีคุณภาพในการบริโภคดี ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม ข้าวพื้นเมืองมักมีความแตกต่างระหว่างประชากรเนื่องจากการคัดเลือกของเกษตรกรท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการทดลองนี้จึงได้รวบรวมพันธุ์ข้าวบือเนอมูจากเกษตรกรท้องถิ่นใน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จำนวน 9 ประชากร ปลูกทดลอง 2 พื้นที่ปลูก คือ แปลงทดลองนาที่ลุ่มที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พิกัด 18°47’49.9”N, 98°57’35.9”E ความสูง 330 เมตรจากระดับน้ำทะเล) และแปลงทดลองนาที่สูงบ้านทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ (พิกัด 18°43’09.0”N, 98°34’02.7”E ความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล) โดยมีจุดประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพในการให้ผลผลิต คุณภาพเมล็ดและความหอมของข้าวบือเนอมูแต่ละประชากร ผลการทดลองพบความแตกต่างระหว่างประชากร อิทธิพลของพื้นที่ปลูก และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างทั้ง 2 ปัจจัย ในลักษณะที่ศึกษาส่วนใหญ่ โดยที่ข้าวหอมพื้นเมืองพันธุ์บือเนอมูทั้ง 9 ประชากร มีความสามารถในการให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยในทั้ง 2 พื้นที่ปลูก อยู่ระหว่าง 410-560 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งบางประชากรให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันในทั้ง 2 พื้นที่ปลูก แต่บางประชากรให้ผลผลิตน้อยลงเมื่อปลูกในแปลงทดลองที่สูง เช่นเดียวกันกับลักษณะคุณภาพเมล็ด ประชากรข้าวหอมพื้นเมืองพันธุ์บือเนอมูบางประชากรมีค่าการสลายตัวในด่างและเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวสูงกว่าเมื่อปลูกในที่ลุ่ม บางประชากรมีค่าสูงกว่าเมื่อปลูกที่สูง และบางประชากรมีค่าไม่แตกต่างกันในทั้ง 2 พื้นที่ปลูก การทดสอบความหอมด้วยวิธีการดมกลิ่นพบว่าข้าวหอมพื้นเมืองพันธุ์บือเนอมูทั้ง 9 ประชากรมีระดับความหอมต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีกลิ่นหอมไปจนถึงมีกลิ่นหอมมาก ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารหอม 2AP ที่ตรวจพบในแต่ละประชากร นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณสารหอม 2AP ของข้าวบือเนอมูส่วนใหญ่จะสูงกว่าเมื่อปลูกในแปลงทดลองที่สูง การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการให้ผลผลิต คุณภาพเมล็ด ระดับความหอม รวมไปถึงการตอบสนองต่อความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่แตกต่างกันของประชากรข้าวหอมพื้นเมืองพันธุ์บือเนอมู ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุง พันธุ์และพัฒนาข้าวหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลวรรณ เรียบร้อย, ศรีสวัสดิ์ ขันทอง, ธีรยุทธ ตู้จินดา, และสุรีพร เกตุงาม. 2556. ยีนความหอมและลักษณะพื้นฐานทางอณูพันธุศาสตร์ของข้าวหอม. วารสารสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย. 6: 93-114.

งามชื่น คงเสรี, จารุวรรณ บางแวก, กิติยา กิจควรดี, ม้ายมาศ ยังสุข, กัญญา เชื้อพันธุ์, สุนันทา วงศ์ปิยชน, พลูศรี สว่างจิต, ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต, และประนอม มงคลบรรจง. 2547. คุณภาพข้าวและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทย. เอกสารวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

วราภรณ์ กันทะวงศ์, ศันสนีย์ จำจด, นริศ ยิ้มแย้ม, และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2558. ความแปรปรวนของคุณภาพการหุงต้มในข้าวพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน. แก่นเกษตร. 43: 687-698.

วิชา ธิติประเสริฐ และคณะ. 2544 ฐานข้อมูลเชื ้อพันธุ์พืช: ข้าว. สถาบันวิจัยข้าวและสำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ. กรมวิชาการเกษตร. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

ไวพจน์ กันจู, สุกัญญา เรืองขำ, สุมน ห้อยมาลา, อนุชา พลับพลา, อภิชาติ วรรณวิจิตร, และธีรยทุธ ตู้จินดา. 2556. การตรวจสอบความหอมในเชื้อพันธุกรรมข้าวไร่ไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีน Os2AP และการวิเคราะห์คุณภาพหุงต้มและความหนาแน่นของธาตุเหล็กในเมล็ด. วารสารสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย. 6: 11-24.

สมาคมโรงสีข้าวไทย. 2560. “ราคาข้าวปี 2560”. แหล่งข้อมูล http://www.thairicemillers.com/index.php?option=com_content&task=view&id=13106&Itemid=53 ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2561.

สาธิต ปิ่นมณี. 2554. ข้าวหอมที่สูง “บือเนอมู”. สัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง. 357-368.

Buttery, R.G., L.C. Ling, B.O. Juliano, and J.G. Turnbaugh. 1983. Cooked rice aroma and 2-acetyl-1-pyrroline. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 31: 823-826.

Efferson, J. N. E. 1985. Rice quality in world markets. In: IRRI (ed.) Rice grain quality and marketing. IRRI. Manila. 1-13.

Harlan, J. R. 1992. Crops and man (No. Ed. 2). American Society of Agronomy.

Pusadee, T., S. Jamjod, Y.C. Chiang, B. Rerkasem, and B.A. Schaal. 2009. Genetic structure and isolation by distance in a landrace of Thai rice. Proceedings of the National Academy of Sciences, 106(33), 13880-13885.

Rerkasem, B., S. Jumrus, N. Yimyam, and C. Prom-u-Thai. 2015. Variation of grain nutritional quality among Thai purple rice genotypes grown at two different altitudes.

Sood, B. C., and E.A. Siddiq. 1978. A rapid technique for scent determination in rice. Indian Journal of Genetics and Plant Breeding (The). 38: 268-275.

Wongpornchai, S., K. Dumri, S. Jongkaewwattana, and B. Siri. 2004. Effect of Drying Methods and StorageTime on the Aroma and Milling Quality of Rice (Oryza sativa L.) cv. Khao Dawk Mali 105, Food Chemistry. 87: 407-4