ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภค ผ่านทางตลาดสินค้าออนไลน์

Main Article Content

ฉัตรสุดา สุวรรณจตุพร
พิชัย ทองดีเลิศ
พัชราวดี ศรีบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค 2) ปัจจัย การตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภคผ่านทางตลาดสินค้าออนไลน์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมพฤติกรรมการซื้อสินค้ากับปัจจัยการตลาดที่มีผลการซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภคผ่านทางตลาดสินค้าออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกและซื้อสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ GetKaset และเพจ Lemon King จำนวน 353 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอย่างง่าย และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 33.02 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท ประสบการณ์ในการซื้อสินค้า 2-3 ปี รายได้ 15,000 - 30,000 บาทต่อเดือนรับข่าวสารผ่านทางสื่อสมัยใหม่ ซื้อสินค้าเพื่อความสะดวกมากที่สุด ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าราคา 501 – 1,000 บาท/เดือนซื้อสินค้าประเภทผลไม้มากที่สุด มีความถี่ในการซื้อสินค้า 1 - 3 ครั้ง/เดือน ชำระเงินโดยโอนเงินผ่านธนาคารและปัญหาที่พบคือสินค้ามีคุณภาพไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ ทำให้ผู้บริโภคยังไม่แน่ใจที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกผู้บริโภคให้ความสำคัญของปัจจัยทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ และราคามากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ รายได้ และแรงจูงใจในการซื้อสินค้า ด้านความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยการตลาดของการซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษผ่านทางตลาดสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในภาพรวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01, 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2558. รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ปี 2558. แหล่งข้อมูล: https://www.etda.or.th/publishingdetail/e-commerce2015.html. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559.

ชัชวาลย์ หลิวเจริญ. 2560. กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. NIDA Journal of Language and Communication. 21: 56-71.

บวร เทศารินทร์. 2559. ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่. แหล่งข้อมูล: http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2559.

พิมภัทร ธกุลโชคเสถียร. 2557. Google เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: https://thumbsup.in.th/2014/09/google-businessinsight. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561.

แฟนเพจ Lemon King. 2558. ข้อมูลจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเกษตรผ่านแฟนเพจ Lemon King. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/hollyproduct/. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2559.

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. 2550 . E-Commerce สุดยอดช่องทางราย ทุนน้อย ทำง่าย สร้างรายได้ 24 ชั่วโมง. บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด, กรุงเทพมหานคร

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). 2547. การเกษตรในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: www.sathai.org/autopage4/files/AudKQg5Thu100547.pdf. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2561.

เว็บไซต์ GetKaset. 2558. ข้อมูลจำนวนสมาชิกในเว็บไซต์. แหล่งข้อมูล: https://getkaset.com/. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2559.

ศุทธินี ชวนเชย. 2554. ธุรกิจสินค้าเกษตรผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. Journal of Agricultural Extension and Communication. 7: 77-78

สุทธิสา สิงห์แรง. 2555. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้ าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2553. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. ฐานบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. สำนักพิมพ์บุ๊คส์ ทู ยู, กรุงเทพมหานคร