การวางและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชุมชน เพื่อผลในการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนเกษตรรายย่อยในตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

Main Article Content

วิศรา ไชยสาลี
สุรพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการวางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนเกษตรรายย่อย การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และผลที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 ใน 2 ชุมชนที่ได้จากการเลือกแบบสมัครใจ ได้แก่ชุมชนบ้านผาคับ และชุมชนบ้านผักเฮือก ในตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ผลการวิจัยพบว่าชุมชนได้วางยุทธศาสตร์รวม 5 ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวโยงและเกื้อกูลกัน ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์และการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 2) การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพเกษตรกรรมและรายได้ 3) การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ 4) การพัฒนาศักยภาพการตลาดผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 5) การพัฒนาขีดความสามารถของครัวเรือนเกษตรและองค์กรชุมชน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กระทำโดยชุมชนกับภาคีจากภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการศึกษา รวม 24 แห่ง ที่ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 เป็นเวลาสองปี ซึ่งพบว่าในการขับเคลื่อน ภาคีต่างๆ ยังคงทำตามความถนัดและความสนใจของตน และตามงบประมาณกับเวลาที่มีให้ ความร่วมมือคงเป็นเพียงเฉพาะกิจ แต่ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในชุมชน บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อบันทึกข้อตกลงสิ ้นสุดลง ชุมชนทั้งสองยังคงมุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้วยการพึ่งตนเองเป็นหลัก จึงพบศักยภาพของชุมชนเองในการสร้างการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ชุมชนน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติอย่างมั่นคงและ เข้มแข็งต่อไป เพื่อนำไปสู่ความสามารถพึ่งตนเองในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน และความยั่งยืนในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จรัญ จันทลักขณา. 2536. วัฒนเกษตร (หรือการเกษตรยั่งยืน) เพื่อความอยู่รอดของสังคม. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ.

ธันวา จิตต์สงวน. 2543. บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม.น.73-85. ใน : รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืน 15 – 17 พฤศจิกายน 2543. โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น, กรุงเทพฯ.

นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. 2551. การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด, กรุงเทพฯ.

พสุ เดชะรินทร์. 2548. Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. 2559. ภูมิสังคมกับแนวพระราชดำริ.แหล่งข้ อมูล:http://61.19.50.68/dsdw/buzzfile/20160615174950-517.pdf. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. 2556. ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. บุ๊คพอยท์วิชาการ, นนทบุรี.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และกนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา. 2561. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและแมททริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ. 3:15-26.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2554. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ . มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

สมาคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งประเทศไทย. 2550. บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง กับพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สมาคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

เสรี พงศ์พิศ. 2551. แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. เจริญวิทย์การพิมพ์, กรุงเทพฯสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2556. สวทช.คิดค้น ชุมชนเข้มแข็ง. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ปทุมธานี.

อารันต์ พัฒโนทัย. 2543. งานวิจัยเกษตรเชิงระบบ : ทิศทางและสถานภาพในปัจจุบัน.น.11-28. ใน : รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั ้งที่ 1 เรื่อง ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืน 15 – 17 พฤศจิกายน 2543. โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น, กรุงเทพฯ.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเกลือใต้. 2556. บันทึกข้อตกลงในการดำเนินงาน โครงการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรรายย่อย ในหมู่บ้านนำร่องบ้านผาคับและบ้านผักเฮือก ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ลงวันที่ 7 มีนาคม 2556.

Boonyarat Phadermrod, R.M. Crowder, and G. B. Wills. 2017. Importance-Performance Analysis based SWOT analysis. Available: http://dx.doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2016.03.009.pdf. Accessed Oct.1, 2018.

Corson, W. H., ed. 1990. The Global Ecology Handbook : What you can do about the environmental crisis. Beacon Press.

Boston, USA.Hans, D. B. 2000. IBSRAM Training Manual on Participatory Research and Technology Development for Sustainable Land Management. IBSRAM Global Tool Kit Series no. 3. IBSRAM, Bangkok.

Heinz, W. 1982. The TOWS matrix - A tool for situational analysis. Long Range Planning. 2:54-66.

Osita, I.C., R.I.Onyebuchi, and N. Justina. 2014. Organization’s stability and productivity: the role of SWOT analysis an acronym for strength, weakness, opportunities and threat. International Journal of Innovative and Applied Research. 9:23-32.

TAC/CGIAR (Technical Advisory Committee, Consultative Group on International Agricultural Research). 1989. Sustainable Agricultural Production: Implications for International Agricultural Research. FAO Research and Development Paper No.4. Rome, Italy.

Wikipedia. 2018. Sampling (statistics). Available : https://en.wikipedia.org/wiki/Sampling_(statistics)#Voluntary_Sampling. Accessed Jun.18, 2018.