ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสงต่อคุณภาพและการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม

Main Article Content

เกศินี ถนอมขวัญ
คณิต วิชิตพันธุ์
บุญมี ศิริ

บทคัดย่อ

การป้องกันการปลอมเมล็ดพันธุ์โดยวิธีการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง เป็นการทำเครื่องหมายเมล็ดพันธุ์ในรูปแบบที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดและความเข้มข้นของสารเรืองแสงที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสงชนิดต่างๆ โดยดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ และตรวจสอบคลื่นการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้ Polyvinylpyrrolidone (PVP-K30) ที่ความเข้มข้น 7 % เป็นสารเคลือบ และเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง 3 ชนิด คือ rhodamine B, curcumin และ auramine O โดยแต่ละชนิดใช้ความเข้มข้นเท่ากันคือ 0.1%, 0.5% และ 1.0% จากการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์แตงกวาที่ผ่านการเคลือบด้วยสารเรืองแสงทั ้ง 3 ชนิด ไม่ทำให้ความงอก และความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกัน แต่เมื่อนำไปเร่งอายุพบว่า เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย auramine O ที่ความเข้มข้น 0.5 และ1.0% ทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกลดลงมากกว่าวิธีการอื่นๆ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการส่วนการเรืองแสงลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อตรวจสอบการเรืองแสงภายใต้แสงยูวี และจากการตรวจด้วยเครื่อง Spectrophotometer พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วย rhodamine B, curcumin และ auramine O จะปรากฏที่ช่วงความยาวคลื่น 610, 540 และ 525 นาโนเมตร ตามลำดับ ดังนั้นจากการทดลองนี้สรุปได้ว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง rhodamine B ที่ความเข้มข้น 0.5% เป็นวิธีการที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวาเพื่อการป้องกันการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์ทำให้ยากต่อการเลียนแบบ และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชนกเนตร ชัยวิชา และ บุญมี ศิริ. 2557. การเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสง Rhodamine-B, Safranine-T และ Curcumin ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. น. 40-47. ใน: การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 11 20-23 พฤษภาคม 2557. ณ โรงแรมแกรนด์ จอมเทียน พาเลช เมืองพัทยา, ชลบุรี.

ชนกเนตร ชัยวิชา และ บุญมี ศิริ. 2559ก. ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วย Rhodamine B ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเรืองแสงเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ.วารสารพระจอมเกล้า. 34: 51-58.

ชนกเนตร ชัยวิชา และ บุญมี ศิริ. 2559ข. ผลของการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin B ต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. แก่นเกษตร. 44: 334-338.

ชนกเนตร ชัยวิชา. 2559ค. ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยพอลิเมอร์ร่วมกับสารเรืองแสงต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พจนา สีขาว, พัฒนา ธีรพรชัยสิทธิ์ และบุญมี ศิริ. ชนกเนตร ชัยวิชา และ บุญมี ศิริ. 2557. การเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเรืองแสง Rhodamine-B, Safranine-T และ Curcumin ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. น. 40-47. ใน: การประชุมทางวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 11 20-23 พฤษภาคม 2557. ณ โรงแรมแกรนด์ จอมเทียน พาเลช เมืองพัทยา, ชลบุรี.

พจนา สีขาว, พัฒนา ธีรพรชัยสิทธิ์ และบุญมี ศิริ. 2558. เสถียรภาพของการเรืองแสงหลังการเคลือบและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์แตงกวา. แก่นเกษตร. 43: 89-95.

สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย. 2560. ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมฯ ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518. แหล่งข้อมูล: https://www.thasta.com/pdf/2017/pastatvovaexseed60.pdf. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561.

Al-Maskri, A.Y., M.M. Khan, I.A. Khan, and K. Al Habsi. 2003. Effect of accelerated ageing on viability, vigor (RGR), lipid peroxidation and leakage in carrot (Daucus carota L.) seeds. Int. J. of Agri. Biol. 5: 580-584.

Basra, S.M.A., N. Ahmad, M.M. Khan, N. Iqbal, and M.A. Cheema. 2003. Assessment of cottonseed deterioration during accelerated ageing. Seed Sci. &Technol.31: 531-540

Cai, Y.L. 2009. Several new anti-counterfeiting technologies for packaging. Shanghai Packaging. 2: 40-41.

Compound interest. 2016. The Chemistry of Turmeric. Available: http://www.compoundchem.com/wp-content/uploads/2016/11/Chemistry-of-Turmeric.pdf. Accessed Jan.9, 2018.

Gao, H. and R. Zhou. 2005. The development trend of seed anti-counterfeiting packaging. Seed World. 9: 6-7.

Guan, Y., J. Hu, and Y. Li. 2011. A new anticounterfeiting method: fluorescent labeling by safranine T in tobacco seed. Acta Physiol Plant. 33: 1271-1276.

Guan, Y., Y. Li, J. Hu, W. Ma, Y. Zheng, and S. Zhu. 2013a. A new effective fluorescent labeling method for anti-counterfeiting of tobacco seed using Rhodamine B. Aust. J. Crop Sci. 7: 234-240.

Guan, Y., J.C. Wang, J. Hu, Y.P. Li, W.G. Ma, W.M. Hu, and S.J. Zhu. 2013b. Pathway to keep seed security: The application of fluorescein to identify true and fake pelleted seed in tobacco. Ind. Crops Prod. 45: 367-372

Guan, Y., J. Wang, Y. Tian, W. Hu, L. Zhu, S. Zhu, and J. Hu. 2013c. The Novel Approach to Enhance Seed Security: Dual Anti-Counterfeiting Methods Applied on Tobacco Pelleted Seeds. PLOS One. 8: doi: 10.1371/journal. pone. 0057274.

ISTA. 2013. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association. Zurich, Switzerland.

Nair, R., A. C. Poulose, Y. Nagaoka, Y. Yoshida, T. Maekawa, and DS. Kumar. 2011. Uptake of FITC labeled silica nanoparticles and quantum dots by rice seedlings: Effects on seed germination and their potential as biolabels for plants. J Fluoresc. 21: 2057-2068.

Sikhao, P., P. Chaumpluk, and B. Siri. 2014a. Seed coating with DNA for anticounterfeiting of cucumber seeds. Khon Kaen Agr. J. 42: 473-477.

Sikhao, P., P. Teerapornchaisit, A.G Taylor,and B. Siri. 2014b. Seed coating with riboflavin, a natural fluorescent compound, for authentication of cucumber seeds. Seed Sci. Technol. 42: 171-179.

Stanic, Z. 2017. Curcumin, a compound from natural sources, a true scientific challenge - a review. Plant Foods Hum Nutr. 72: 1-12.

Taylor, A.G. and G.E. Harman. 1990. Concept and technologies of selected seed treatments. Annu. Rev. Phytopathol. 28: 321-339.

Tian, Y., Q. Wang, Q. Hu, J. Wang, and Y. Guan. 2013. Application of fluorescent dyes for falsification-preventing of pea seeds (Pisum sativum L.). Aust. J. Crop. 7: 147-151.

Tian, Y., Z. Li., F. He, Y. Guan, S. Zhu, and J.Hu. 2014. A novel anti-counterfeiting method: Application and decomposition of RB for broad bean seeds (Vicia faba L.). Ind. Crops Prod. 61: 278-283.

Wang, ZH. 2009. Anti-counterfeiting technologies grow by leaps and bounds in the market. Print Today, 2: 76–79.