ผลของวิธีการให้สารและความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเติบโตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในต้นอ่อนทานตะวัน

Main Article Content

อินทิรา ขูดแก้ว
เบญจมาศ ทุ่งเกษม

บทคัดย่อ

ภาวะเครียดจากความเค็มสามารถเพิ่มปริมาณสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในพืชได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการให้สารและความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ต่อการเติบโตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในต้นอ่อนทานตะวัน การเปรียบเทียบวิธีการฉีดพ่นและความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ผลการศึกษาพบว่า การฉีดพ่นสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 5, 50, และ 100 มิลลิโมลาร์ ทุกวันวันละ 20 มล. และ 50 มล. ส่งผลให้ต้นอ่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงขึ้น และไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการเติบโตของต้นอ่อนทานตะวัน ส่วนการเปรียบเทียบระยะเวลาแช่เมล็ดงอกและความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ผลการศึกษาพบว่า การแช่เมล็ดงอกในสารละลายความเข้มข้น 50 และ 100 มิลลิโมลาร์ นาน 5 นาที และ 50 มิลลิโมลาร์ นาน 10 นาที ทำให้น้ำหนักสดมีแนวโน้มสูงขึ้นจากชุดควบคุม แต่การแช่เมล็ดงอกในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ทำให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จากการศึกษาชี ้ให้เห็นว่าการให้สารละลายโซเดียมคลอไรด์โดยวิธีการฉีดพ่นมีศักยภาพในการเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในต้นอ่อนทานตะวันได้ และวิธีการแช่เมล็ดงอกช่วยเพิ่มผลผลิตได้ โดยสารละลาย โซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้นไม่เกิน 100 มิลลิโมลาร์ จัดเป็นความเข้มข้นที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

Bohnert, H.J., and R.G. Jensen. 1996. Strategies for engineering water-stress tolerance in plants. Trends Biotechnol. 14: 89–97.

Brand-Williams, W., M.E. Cuvelier, and C. Berset. 1995. Use of free radical method to evaluate antioxidant activity. LWT Food Sci. Technol. 28: 25–30.

Guo, L., R. Yang, Z. Wang, Q. Guo, and Z. Gu. 2014. Effect of NaCl stress on healthpromoting compounds and antioxidant activity in the sprouts of three broccoli cultivars. Int. J. Food Sci. Nutr. 65: 476–481.

Lim, J-H., K-J. Park, B-K. Kim, J-W. Jeong, and H-J. Kim. 2012. Effect of salinity stress on phenolic compounds and carotenoids in buckwheat (Fagopyrum esculentum M.) sprout. Food Chem. 135: 1065–1070.

Pajak, P., R. Socha, D. Galkowska, J. Roznowski, and T. Fortuna. 2014. Phenolic profile and antioxidant activity in selected seeds and sprouts. Food Chem. 143: 300–306.

Ramakrishna, A., and G.A. Ravishankar. 2011. Influence of abiotic stress signals on secondary metabolites in plants. Plant Signal. Behav. 6: 1720–1731.

Rasool, S., A. Hameed, M.M. Azooz, T.O. Siddiqi, and P. Ahmad. 2013. Salt stress: causes, types and response of plants. P. 1–24. In: Ahmad, P., M.M. Azooz, and M.N.V. Prasad. Ecophysiology and Response of Plant under Salt Stress. Springer, New York.

Rouphael, Y., S.A. Petropoulos, M. Cardarelli, and G. Colla. 2018. Salinity as eustressor for enhancing quality of vegetables. Sci. Hortic. 234: 361–369.

Soussi, M., A. Ocana, and C. Lluch. 1998. Effect of salt stress on growth, photosynthesis and nitrogen fixation in chick-pea (Cicer arietinum L.). J. Exp. Bot. 325: 1329–1337.

Yuan, G., X. Wang, R. Guo, and Q. Wang. 2010. Effect of salt stress on phenolic compounds, glucosinolates, myrosinase and antioxidant activity in radish sprouts. Food Chem. 121: 1014–1019.

Zhu, J.K., P.M. Hasegawa, R.A. Bressan, and H.J. Bohnert. 1997. Molecular aspects of osmotic stress in plants. Crit. Rev. Plant Sci. 16: 253–277.