ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกมะเขือเทศลูกผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะเขือเทศเป็นพืชที่มีเมล็ดขนาดเล็ก แบน บาง และเบา ทำให้ไม่สะดวกต่อการเพาะกล้า วิธีการพอกเมล็ดสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากการพอกสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของเมล็ดพันธุ์ได้การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดของวัสดุพอกที่เหมาะสมต่อการพอกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสมคุณภาพทางกายภาพ และคุณภาพหลังการพอกเมล็ดพันธุ์ ดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยใช้วัสดุพอก 6 ชนิดคือ calcium sulfate, pumice, talcum, bentonite, zeolite และ charcoal ปริมาตร 100 กรัม ต่อเมล็ด 15 กรัม และใช้ Methyl hydroxylethyl cellulose (MHEC) ที่ความเข็มข้น 0.7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก อัตรา 150 มิลลิลิตร เป็นวัสดุประสานจากผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกทุกชนิดทำให้ก้อนพอกมีนน้ำหนักเพิ่มสูงขึ ้น 275-432 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดไม่พอก แต่การพอกเมล็ดด้วย calcium sulfateทำให้ก้อนพอกมีความแข็ง 0.9 กิโลกรัม และมีความกร่อนของก้อนพอกเพียงเล็กน้อยคือ 0.02 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกชนิดอื่นๆ อีกทั้งก้อนพอกมีค่าการละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนอกจากนี ้การพอกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วยวัสดุพอกต่างชนิดกันไม่ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกันกับเมล็ดพันธุ์ไม่ได้พอกในทางสถิติ และนอกจากนี ้หลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์พบว่าการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย calcium sulfate ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอก เมื่อตรวจสอบทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการ และในสภาพเรือนทดลอง
Article Details
References
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. 2552. ประโยชน์ของยิปซัม. กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ.
กิตติวรรณ กล้ารอด. 2559. ผลของตำรับสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพเมล็ดและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
กุณฑิกา ดํารงปราชญ์ และเกศรา ชูคําสัตย์. 2549. อิทธิพลของพลาสทิไซเซอร์ ต่อการปลดปล่อยยาที่ละลายน้ำได้ดีจากเม็ด ยาออสโมติกปั๊มชนิดรูพรุน. โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2556. ผลของการพอกเมล็ดด้วย pumice zeolite และ bentonite ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร, 41: 257-262.
จักรพงษ์ กางโสภา และบุญมี ศิริ. 2558. อิทธิพล ของวัสดุประสานที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการพอกเมล็ด ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย. แก่นเกษตร, 42: 201-210.
จุฑามาศ อินต๊ะศรี. 2550. การสังเคราะห์ซีโอไลต์ช นิ ด บี ต้ า จ า ก เ ถ้ า ล อ ย ข อ ง ช า น อ้ อ ย . วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้ าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.
ดวงกมล ศรีราจันทร์ และเตชิษฐ์ ประสิทธิ์วุฒิเวช. 2549. การพัฒนาตำรับพญายอสำหรับใช้ภายนอก. โครงการพิเศษ ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ตะวัน สุขน้อย. 2549. ซีโอไลต์และสารมีรูพรุนที่เกี่ยวข้อง. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์คลังนานา, ขอนแก่น.
ปาจรีย์ เตียวสุวรรณ. 2557. การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งดูดกลิ่นและความชื้นสำหรับใช้ภายใน คอนโดมิเนียมโดยใช้คุณสมบัติของถ่านไม้. ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
รุจิรา ปิ่นแก้ว. 2556. การผลิตและการเตรียมถ่านกัมมันต์จากซังข้าวโพดเพื่อใช้ในการดูดซับมีเทน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, เพชรบุรี.
ลดา พันธ์สุขุมธนา. 2552. ปูนปลาสเตอร์กับการนำกลับมาใช้. วารสารเซรามิกส์, 3(3): 34-35.
วัชลาวลี ทองจันทร์, นิวัต เหลืองชัยศรี และ บุญมี ศิริ. 2561. ผลของการพอกเมล็ดพันธ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อความงอก แ ล ะ ก า รเจริญเติบโตต้นกล้าของมะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร, 46(3): 487-496.
วันเพ็ญ วิโรจนกู. 2550. การผลิตผลิตภัณฑ์ชีวะเคมี ที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบต้นน้ำ. ศูนย์วิจัยด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมและสาอันตราย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศศิธร วุฒิวณิชย์. 2545. โรคของผักและการควบคุมโรค. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สันติภาพ ไชยสาร, จักรพงษ์ กางโสภา, และ บุญมี ศิริ. 2560. ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอก และคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. แก่นเกษตร, 46(1)(พิเศษ): 36-42.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุเกษตร. 2560. สถิติปริมาณและมูลค่าเมล็ดพันธุ์ควบคุมประจำปี 2560. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560ก. เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่รายภาคและรายจังหวัด ของมะเขือเทศประจำปี 2560. ศูนย์สารสนเทศการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560ข. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยไปกับต่างประเทศ ประจำปี 2560. ศูนย์สารสนเทศ การเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
Anderson, R.A., H.F. Conway., V.F. Pfeifer, and E.L. Griffin. 1969. Gelatinization of corn grits by roll and extrusion cooking. Cereal Science Today, 14: 4-12.
Butler, R. 1993. Coatings films and treatments. Seed World, vol. 19-24.
Chindaprasirt, P., K. Boonserm, T. Chairuangsri, W. Vichit-Vadakan, T. Eaimsin, T. Sato, and K. Pimraksa. 2011. Plaster material from waste calcium sulfate containing chemicals, organic fibers and inorganic additive. Construction and Building Materials, 25: 3193-3203.
Copeland, O.L, and B.M. Miller. 1995. Principles of Seed Science and Technology. 3rd ed. Chapman, New York.
Gawande, M., S.C. Mohapatra, and W.H. Johnson. 1980. Effect of seed size and pelletization on tobacco seed germination under varying temperature regimes. Tobacco Science, 24: 49-52.
Gidrol, X., P.A. Sabelli, Y.S. Fern, and A.K. Kush. 1990. Annexin–like protein from Arabidopsis thaliana rescues delta oxyR mutant of Escherichia coli from H2O2 stress. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 93: 11268-11273.
Grasser, K and G. Minke. 1990. Building with Pumice, Deutsche Gesellschaftfur Technische Zusammenarbeit (GTZ) Gmb H. Eschburn, Germany.
Guan, Y.W., T. Jianchen, H. Yixin, Z. Weimin, Z. Liwei, Shuijin, and J. Hu. 2013. The Novel Approach to Enhance Seed Security: Dual Anti-Counterfeiting Methods Applied on Tobacco Pelleted Seeds. PLoS ONE, 8: e57274.
Halmer, P. 1987. Technical and commercial aspect of seed pelleting and film coating. British Protection council, Thornton Heath, 194-204.
Hill, H.J. 1999. Advances in Seed Technology. Original of New seeds. The Haworth Press, Inc. Vol 1.
Hirota, H., M. Fukuyama, and T. Kanno. 1989. Improving seed pellets for grassland renovation. Conference paper Proceedings of the XVI International Grassland Congress, 4-11 October 1989, Nice, France.
ISTA. 2013. International Rules for Seed Testing, Seed Science and technology. Glattbrugg, Switzerland.
Jiwalak, N. 2002. Preparation and characterization of activated carbon from lignite coal by physical and chemical activation. Thesis of chemical Engineering, Faculty of Engineering Suranaree University of technology, Nakhon Ratchasima.
Kangsopa, J. and B. Siri.2017a. Seed germination and seedling growth of lettuce after seed pelleting with zinc. Khon Kaen Agriculture Journal, 45: 553-560.
Kangsopa, J. and B. Siri. 2017b. Improvement of lettuce germination and seedling growth by seed pelleting with ammonium nitrate compounds. Khon Kaen Agriculture Journal, 45: 741-750.
Khatun, A., G. Kabir, M.A.H. Bhuiyan, and D. Khanam. 2011. Effect of preserved seeds using different botanicals on seed quality of lentil. Bangladesh Journal of Agricultural Research, 36:381-387.
Kim, J.D., C.H. Kwon, S.G. Kim, J.K. Kim, and S.N. Hur. 2005. Development of seed pelleting technique for surface sowing of alfalfa. Affiliation Cheonan Yonam College, Sunghwan, Journal of Animal Science and Technology, 47: 475-480.
Kitamura, S., Watanabe, M., and Nakayama, M. 1981. U.S. Patent. No. 4, 250,660.
Longden, P.C. 1975. Sugar beet seed pelleting. Advance in Agronomy Quarterly Review, 18: 73-80.
Madsen, M.D. and T.J. Svejcar. 2011. Development and application of Seed Pillow technology for overcoming the limiting factors controlling rangeland reseeding success. US provisional Patent Application Serial No. 61/707,853 (0066.11).
Nargis S., M. Gunasekaran, and S.L. Thiagarajan. 1999. Pelleting and soil moisture at different levels on quality of differentially aged seeds in tomato (Lycopersicon esculentum). South Indian Horiculture, 47(1-6): 267-269.
Raymond, C. 2009. Handbook of Pharmaceutical Excipients.6th edition. The Pharmaceutical Press, DC.
Samson, R. and Duxbury, 2000. Assessment of pelletized biofuels. Resource efficient agricultural Production, Canada.
Siddartha, H.V., D.K. Srivastava, P.K. Rai, and B.M. Bara. 2017. Effects of polymer seed coating and fungicide s e eed treatment on seedling characteristics of tomato (Lycopersicon esculentum) during storage. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 6: 752-754.
Smith, A.E and R. Miller. 1987. Seed pellets for improved seed distribution of small seeded forages crops. Journal of Seed Technology. 11: 42-51.
Somrat, N., C. Sawadeemit, S. Vearasilp, S. Thanapornpoonpong, and S. Gorinstein. 2017. Effects of different binder types and concentrations on physical and antioxidant properties of pelleted sweet corn seeds. European Food Research and Technology, doi: 10.1007/s00217-017-2979-y.
Taylor, A.G., P.S. Allen, M.A. Bennett, K.J. Bradford, J.S. Burris, and M.K. Misra. 1998. Seed enhancements. Seed Science Research, 8: 245–256.
Torres, S.B. and J.M. Filho. 2003. Accelerated aging of melon seeds. Scientia Agricola, 60: 77-82.
Zenk, P. 2004. Seed coatings get serious. Available: http://farmindustrynews.com/mag/ Accessed February 1/2004.