พัฒนาการของระดับหงิกของมันสำปะหลัง 4 พันธุ์ จากการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferre

Main Article Content

กชมน วงศ์ใหญ่
นุชรีย์ ศิริ

บทคัดย่อ

เพลี้ยแป้งสีชมพู Phenacoccus manihoti เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของมันสำปะหลัง ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดหงิก สามารถแบ่งระดับอาการหงิกจากการทำลายได้ 5 ระดับ (0-4) ซึ่งความแตกต่างของระดับความเสียหายและปริมาณประชากรของเพลี้ยแป้งสีชมพูขึ้นกับพันธุ์มันสำปะหลัง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของระดับอาการหงิกและประชากรเพลี ้ยแป้งสีชมพูในแต่ละระดับอาการหงิกของมันสำปะหลัง 4 พันธุ์ คือระยอง 72 ระยอง 9 ห้วยบง 60 และเกษตรศาสตร์ 50 ดำเนินการทดลองในสภาพโรงเรือนทดลอง ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 – กุมภาพันธ์ 2560 โดยปล่อยเพลี ้ยแป้งสีชมพูเพศเมียบนยอดมันสำปะหลังอายุ 2 เดือน วางแผนการทดลองแบบ CRD พันธุ์ละ 5 ซ้ำ บันทึกพัฒนาการของระดับหงิก และปริมาณเพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสำปะหลังทุกวัน พบว่า การพัฒนาระดับอาการหงิกจากหงิก 1 ไปสู่ระดับ 4 เร็วที่สุดในพันธุ์ระยอง 72 ช่วงวันที่ 7 - 51 และช้าที่สุดในพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ช่วงวันที่ 13.4– 68 และพันธุ์ที่แสดงอาการหงิกทุกระดับในระยะเวลานานที่สุดคือพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50และระยอง 9 คือ 12.4 – 33 วัน และ13.2 – 31.60 วันตามลำดับ จำนวนประชากรของเพลี้ยแป้งสีชมพูพบในระดับหงิก 2 มาก ที่สุด และมีจำนวนมากเป็น 2 เท่าจากระดับหงิก 1 ใน 3 พันธุ์ ยกเว้นพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 โดยพันธุ์ระยอง72 มีจำนวนประชากรมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีจำนวนเพลี้ยแป้งจากระดับหงิก 2-4 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มีปริมาณเพลี้ยแป้งเพิ่มขึ้นแปรตามระดับหงิก (1-4)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2559. การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง.แหล่งข้อมูล http://www.agriqua.doae.go.th/news/mealybug/mealybugcontrol.doc. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561.

Calatayud, P. A, Y. Rahbé, B. Delobel, F Khuong-Huu, M. Tertuliano, and B. Le Ru. 1994. Influence of secondary compounds in the phloem sap of cassava on expression of antibiosis towards the mealybug Phenacoccus manihoti. Entomol. Exp. Appl. 72: 47-57.

Gary, C., N. Jeffrey, and S.D. Eigenbrode . 2006. Leaf surface wax and plant morphology of peas influence insect density. Entomol. Exp. Appl. 119: 197-205.

Hodgkiss, R. J. 2012. Pests & diseases of succulent plants. Available: http://www.succulent – plant.com/pests.html. Accessed Dec. 15, 2018.

Le Rü, B. and M. Tertuliano. 1993. Tolerance of dif¬ferent host-plants to the cassava mealybug Phe¬nacoccus manihoti Matile-Ferrero (Homoptera: Pseudococcidae), http://www.tandfonline.com/doiabs/10.1080/09670879309371826. Accessed Dec.20, 2018.

Le Rü, B., S. Renard, M. R. Allo, J. Le Lannic, and J. P. Rolland. 1995. Antennal sensilla and their possible function behavior of Phenacoccus manihoti Matile Fatile Ferrero. Int. J. Insect Morphol. Embryol. 24: 373-389.

Le Rü, B. and M. Tertuliano. 2008. Tolerance of dif¬ferent host-plants to the cassava mealybug Phe-nacoccus manihoti Matile-Ferrero. Available: http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/09670879309371826. Accessed Dec. 25, 2018.

Nwanze, K. F. 1985. Relationships between cassava root yields and crop infestation by mealybug, Phenacoccus manihoti. Int. J. Pest Manage. 28: 27-32.

Soysuvanh. P, N. Siri, and T. Jamjanya. 2013. Comparison on infestation levels of pink mealybug, Phenacoccus manihoti (Homoptera: Pseudococcidae) on four cassava varieties. Khon Kaen Agri. 41 : 517-520.

Soysuvanh. P and N.Siri. 2013. Population abundance of pink mealybug, Phenacoccus manihoti on four cassava varieties. Khon Kaen Agr. J. 41 Suppy. 1: 149

Winotai, A., P. Chykhamheng, R. Waicharuen, C. Ounbawoot, I. Bhudasimma, W. Lamcom, and T. Weerawoot. 2010. Introduction of the parasitoid, Anagyrus lopezi for biological control of pink mealybug. Available: http://it.doa. go. th/refs/files/ 1796_2553.pdf. Accessed Sep. 11, 2018.