การจำลองการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในสภาพนาชลประทาน

Main Article Content

รชนีกร ศรีบุญเรือง
สายบัว เข็มเพ็ชร
ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา

บทคัดย่อ

ข้าวไร่เป็นที่นิยมของกลุ่มคนรักสุขภาพ แต่หาบริโภคได้ยากในท้องตลาด เพราะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่บนที่สูงจะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน การนำข้าวไร่มาปลูกในที่ราบนาชลประทานเพื่อขยายพื้นที่ปลูกในการผลิตสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพต้องทำการทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวไร่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องและแม่นยำของแบบจำลอง Purple Glutinous Rice (PGR) ในการจำลองการตอบสนองของข้าวไร่ที่นำมาปลูกในสภาพนาชลประทาน ทั้งในด้านพัฒนาการ การเจริญเติบโต และผลผลิต ทำการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ซิวแม่จัน ข้าวแดง ข้าวก่ำ ข้าวขาว และข้าวเหลืองหอม ณ แปลงนาสาธิตศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลการจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโดยแบบจำลอง PGR พบว่า ค่าการจำลองการสะสมน้ำหนักแห้งรวม (ต้น ใบ และรวง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากวันปักดำถึงระยะสุกแก่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการสังเกต ส่วนการจำลองผลผลิตและน้ำหนักฟางพบว่า การจำลองมีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการสังเกตของข้าวทุกพันธุ์ โดยผลผลิตที่ได้จากการจำลองอยู่ในช่วง 427 – 577 กก./ไร่ และผลผลิตเฉลี่ยจากการสังเกตอยู่ในช่วง 266 – 444 กก./ไร่ ผลการจำลองน้ำหนักฟางอยู่ในช่วง 599 – 735 กก./ไร่ และน้ำหนักฟางเฉลี่ยจากการสังเกตอยู่ในช่วง 391 – 600 กก./ไร่ ทั้งนี้ผลการจำลองที่มีค่ามากกว่าค่าการสังเกตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพันธุ์ข้าวที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพการปลูกแบบนาชลประทาน การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแบบจำลอง PGR สามารถที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินพันธุ์ข้าวไร่ในการตอบสนองกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูก เช่น สภาพนาชลประทาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบน. 2553. เทคโนโลยีการทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง. เอ.พี.คอม, เชียงราย.

ชลธิรา แสงศิริ, อังค์วรา จิระมงคล, บุรินทร์ แสงสุข, ธีรยุทธ ดลเอี่ยม, และธนพร ขจรผล. 2556. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในจังหวัดกาญจนบุรี โดยคุณค่าทางโภชนาการ. วิทยาศาสตร์เกษตร. 44(พิเศษ): 285-288.

ปรเมศ บรรเทิง, อารันต์ พัฒโนทัย, และ สนั่น จอกลอย. 2551. การใช้แบบจำลอง CSM-CROPGROPeanut ในการประเมินผลผลิตของสายพันธุ์ถั่วลิสงในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร. 36(พิเศษ): 76-90.

พรเพ็ญ สมจิตร์ และนิตยา ผกามาศ. 2556. การประยุกต์ใช้แบบจำลอง CSM-CERES-Rice เพื่อประเมินลักษณะทางสรีรวิทยาที่สัมพันธ์กับผลผลิตข้าว. แก่นเกษตร. 41: 257-268.

วราภรณ์ คำเชียงเงิน. 2557. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพืชไร่ การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพการขัดสีของข้าว. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิถี มณีวรรณ. 2533. การทดสอบแบบจำลองการเจริญเติบโตสำหรับการปลูกถั่วเหลืองที่ปลูกหลังข้าวในที่ราบลุ่มเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. 2548. เอกสารการสอนชุดวิชา สารสนเทศเพื่อการจัดการการผลิตพืช เล่มที่ 2. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, นนทบุรี.

สมชาย โสแก้ว. 2551. การปรับปรุงแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวภายใต้ระบบ FARMSIM. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สายบัว เข็มเพ็ชร และศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. 2555. แบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับงานประชุมวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั ้งที่ 8: 222-229.

สายบัว เข็มเพ็ชร และศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนา. 2557. การจำลองอิทธิพลของวันปลูกและการจัดการไนโตรเจนต่อข้าวไร่ พันธุ์เงาะสะตะโดยแบบจำลองการเจริญเติบโตของข้าวเหนียวก่ำ. แก่นเกษตร. 42(พิเศษ): 218-226.

สาวิตร มีจุ้ย และศิวะพงศ์ นฤบาล. 2558. การเก็บ รวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

Balci, O., 1997. Principles of simulation model validation, verification, and testing. Trans. Soc. Comput. Simul. Int. 14: 3-12.

Gao, L.Z., Z.Q. Jin, Y. Huang, and L.Z. Zhang. 1992. Rice clock model: a computer model to rice development. Agric. For Meteorol. 60: 1-16.

Khempet, S. 2012. Growth and Development of Purple Glutinous Rice and the Construction of Its Growth Model. Ph.D. Dissertation. Chiang Mai University, Chiang Mai.

Loague, K., and Green, R.E. 1991. Statistical and graphical methods for evaluating solute transport models: Overview and application. J. Contaminant Hydrol. 7: 51-73.

Tollenaar, M., T.B. Daynard, and R.B. Hunter. 1979. Effect of temperature on rate of leaf appearance and flowering date in maize. Crop Sci. 19: 363-366.

Wallach, D., Goffinet, B. 1989. Mean squared error of prediction as a criterion for evaluating and comparing system models. Ecol. Modelling. 44: 200-306.

Yoshida, S. 1981. Fundamentals of Crop Science. Int. Rice Res. Inst., Los Banos, Philippines.