แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เสกสรรค์ ดวงสิงห์ธรรม
อภิญญา รัตนไชย
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อกับสำนักงาน
ปศุสัตว์อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 100 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Taro Yamane ที่ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 10 ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 50.97 ปีจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช.ในปี พ.ศ. 2562 เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย1.29 ครั้ง มีต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อต่อตัว 1,331.16 บาท มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ภาพรวมมีความต้องการการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ในระดับปานกลางปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อมี 7 ปัจจัยแบ่งออกเป็น ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในเชิงบวก (P>0.05) ได้แก่ 1) ความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร 2) การเข้าร่วมกลุ่มโคเนื้อ 3) อาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 4) การปฏิบัติในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในเชิงลบ ได้แก่ 1) ระดับการศึกษาของเกษตรกร 2) จำนวนหนี้สินเฉพาะมาเลี้ยงโคเนื้อ และ 3) รูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรต้องเริ่มต้นจากการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น ลักษณะเด่นของโคเนื้อแต่ละสายพันธุ์ การทำแปลงพืชอาหารสัตว์ การสำรองอาหารสัตว์ และการถนอมอาหารสัตว์ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรได้มีความรู้ที่ถูกต้องตามหลักการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร โดยมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมตามความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จักรภพ ธาตุสุวรรณ. 2550. เอกสารประการสอนสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่ . แหล่งข้อมูล: http://intraserver.nurse.cmu.ac.th/mis/course/_detail .asp?CourseNo=567730&O ffset=lecture. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560.

จีรณัทย์ บุญป้อ. 2551. สภาพการเลี้ยงโคขุนแบบมีพันธะสัญญาของเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่.คณะเกษตรศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชฎารัตน์ บุญจันทร์. 2552. ระบบการเลี้ยงโคเนื้อและสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองและโคเนื้อลูกผสม อำเภอควรขนุน จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

ธนชาติ บุญมี. 2557. กระบวนการผลิตและเครือข่ายของเกษตรกรไทย เพื่อเข้าสู่ตลาดโคเนื้ออินทรีย์โลก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.

ธำรงค์ เมฆโหรา และคณะ. 2557. นวัตกรรมการบริหารจัดการการพัฒนาโคเนื้อเชิงระบบเพื่อความมั่นคงอาหารและความสามารถในการแข่งขัน. ชุดโครงการ การจัดการโคเนื้อเชิงระบบเพื่อสร้างสมดุลการผลิต การตลาด และความปลอดภัยของผู้บริโภค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธำรงค์ เมฆโหรา. 2555. การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาโคเนื้อขาดแคลน. ชุดโครงการ การขยายโอกาสธุรกิจโคเนื้อพื้นเมือง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

นภาพร เวชกามา, ธีระรัตน์ ชิณแสน และ วันทนีย์ พลวิเศษ. 2560. การผลิตและการจัดการโคเนื้อแบบขังคอกและแบบปล่อยฝูงของเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.วารสารแก่นเกษตร. 45 (ฉบับพิเศษ 1): 1476-1482.

นราธิป ศรีพั้ว และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2560. ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ. 14: 104–112.

นราวุธ ระพันธ์คำ, เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี, ภรภัทร ไชยสมบัติ, ชนกนันท์ ศรีลาพัฒน์ และ ลัดดาวัลย์ เลิศจันทึก. 2562. การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการเลี้ยงโคขุนในเขตจังหวัดสกลนคร. วารสารแก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 871–876.

ประจักษ์ อัศววิวัฒน์พงศ์, จเร หลิมวัฒนา , ณรงค์ วีรารักษ์, ประธาน เกิดกล่ำ, และอนุชาติ คำมา. 2553. การศึกษาการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน. ส่วนศึกษาและพัฒนาการปศุสัตว์. สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5. กรมปศุสัตว์.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. 2561. หลักสถิติวิจัยและการมใช้โปรแกรม SPSS. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา. 2560. แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา. แหล่งข้อมูล: https://www.songkhla.go.th/news_develop_plan. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.

รัตนา นึกเร็ว, จิรสิน พันธุ์โสดา. 2555. การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคพื้นเมืองและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองในจังหวัดสมุทรสงคราม, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม.

วินัย พุทธกูล และ สมศักดิ์ เพียบพร้อม. 2543. การวิเคราะห์หาขนาดฟาร์มเลี้ยงแม่โคเนื้อที่เหมาะสมในเชิงธุรกิจสำหรับเกษตรกรรายย่อย. Applied Economics Journal. 007(2): 129-137.

ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ. 2556. การบริหารจัดการเชิงธุรกิจของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ. ชุดโครงการ การจัดการโคเนื้อเชิงระบบเพื่อสร้างสมดุลการผลิต การตลาด และความปลอดภัยของผู้บริโภค. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานปศุสตว์จังหวัดสงขลา. 2561. แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา. 2562. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรและจำนวนปศุสัตว์ทั้งหมดในจังหวัดสงขลา ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 – 2561. แหล่งข้อมูล: http://pvlo-sgk.dld.go.th/webnew /index. php/th/2017-12-06-02-55-44. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา. 2562. รายงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอรัตภูมิ. 2561. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรและจำนวนปศุสัตว์อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา. 2560. รายงานสถิติจังหวัดสงขลา. แหล่งข้อมูล: http://songkhla.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=219&Itemid=680. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.

สิน พันธุ์พินิจ. 2553. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม. วิทยพัฒน์. กรุงเทพฯ.

สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์. 2546.การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้และศักยภาพการผลิตโคพื้นเมืองของเกษตรกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ชุดโครงการ เครือข่ายการวิจัยและพัฒนา “การผลิตสัตว์”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์. 2549. การศึกษาผลผลิตและระบบการผลิตโคพื้นเมืองของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี และกาฬสินธุ์). ชุดโครงการ การผลิตโคพื้นเมือง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. 2553. ทฤษฎีพฤติกรรมและการประยุกต์สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทาง ในประเทศไทย. วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา. 213: 46-55.

Bowling, A. 1997. Measuring Health; a Review of Quality of Life Measurement Scales (2nd Ed.). Public Health Administration. London. UK.