การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

กรกต มรรคสมุทร
พิชัย ทองดีเลิศ
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) 3) การใช้ ICT เพื่อการเกษตร 4) เปรียบเทียบการใช้ICT เพื่อการเกษตรจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรวมทั้งความรู้ในการใช้ ICT และ 5) ปัญหาข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ คลอง15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 200 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.84 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีประสบการณ์การใช้โทรศัพท์ Smart Phone พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเฉลี่ย 2.45 ไร่แหล่งเงินทุน จากตนเอง ไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ SmartPhone คือ อุปกรณ์ที่เกษตรกรมีและใช้ประโยชน์มากที่สุด ช่วงเวลาในการใช้อุปกรณ์ คือ 6.00-12.00 น.และระยะเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง/ครั้ง เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับ ICT ในระดับมาก แต่มีการใช้ ICT ในระดับน้อย พบว่าเกษตรกรที่มี อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การใช้ Smart Phone พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเข้ารับการฝึกอบรม การมีอุปกรณ์เกี่ยวกับ ICT การเลือกใช้อุปกรณ์ICTประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์ICT ช่วงเวลาในการใช้อุปกรณ์ICT ระยะเวลาที่ใช้อุปกรณ์ ICTความรู้ในการใช้ ICT และการใช้ ICT เพื่อการเกษตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 ดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรจัดฝึกอบรมความรู้และทักษะ การใช้ ICT ให้กับเกษตรกรเพื่อให้สามารถใช้งานทางการเกษตรได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. 2554. การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 34(4): 443-456.

จุฑามาศ อ่อนวิมล. 2545. คู่มือการปลูกไม้ประดับ. สำนักพิมพ์เกษตรสาส์น, กรุงเทพมหานคร.

พัชนา สุวรรณแสน, วิวรรณ กาญจนวจี และ กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์. 2557. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีต่อการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์. 25(3): 35-47.

พัชรา แก้วทอง. 2554. ทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื ้อกล้าไม้ดอกไม้ประดับของผู้บริโภค: กรณีศึกษาศูนย์ไม้ดอกไม้ ประดับคลอง 15 อ.องครักษ์ จ.นครนายก. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

พัชรียา บุญกอแก้ว, อลิศรา มีนะกนิษฐ, กนกวรรณ ถนอมจิตร และปราโมทย์ ไตรบุญ. 2560. การสร้างระบบฐานข้อมูลเกษตรดิจิทัล. แผ่นเผยแพร่ผลงานวิจัยภายใต้ โครงการพัฒนาการเกษตรไทยสู่ระบบอัจฉริยะด้วยการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ , กรุงเทพมหานคร.

พิชัย ทองดีเลิศ. 2548. เทคนิคการสื่อสารการเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ภาสกร นันทพานิช. 2555. ผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติการทำการเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารแก่นเกษตร. 40: 207-216.

ภูมิศักดิ ราศรี. 2560. ไทยแลนด์ 4.0 กับภาคการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: www.organicard.com/wpcontent/uploads/Thailand_4.0.pdf. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2560.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก. 2558. ข้อมูลทางการเกษตรจังหวัดนครนายก. แหล่งข้อมูล: http://www.nakhonnayok.Doae.go.th. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2560.

สินีนุช ครุฑเมือง และพลสราญ สราญรมณ์. 2558. รูปแบบพฤติกรรมและเงื่อนไขการเรียนรู้การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 5(2): 87-105.

สุรินทร์ นิมยางกูร. 2548. สถิติวิจัย. สำนักพิมพ์ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพมหานคร.

เสาวณี จันทะพงษ์ และพรชนก เทพขาม. 2561. นวัตกรรมการเกษตร: ทางออกปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทย ตอน 2. แหล่งข้อมูล: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Pages/others.aspx. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2561.

อร่าม คุ้มทรัพย์. 2543. เกษตรเศรษฐกิจในครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ. สำนักพิมพ์บิ๊กบุ๊ค เซนเตอร์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร.