การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์อ้อยดีเด่น 16 พันธุ์ภายใต้สภาพการปลูกโดย อาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีเนื้อดินต่างกัน

Main Article Content

เศวตฉัตร เศษโถ
พัชริน ส่งศรี
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง
ประสิทธิ์ ใจศิล

บทคัดย่อ

ระบบการผลิตอ้อยของประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปลูกแบบอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งมักจะมีผลกระทบจากสภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตต่ำ การคัดเลือกพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเพิ่มศักยภาพการให้ผลผลิตอ้อยในเขตเกษตรนิเวศน์นี้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยและองค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยดีเด่นในอ้อยปลูกภายใต้เขตอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ใช้พันธุ์อ้อยจำนวน 16 พันธุ์ ได้แก่ KK06-101, KK06-501, NSUT08-22-3-13, RT2004-085, CSB06-2-15, CSB06-2-21, CSB06-4-162, CSB06-5-20 , TBy27-1385, TBy28-0348, MPT02-458, MPT03-166 และ 91-2-527 โดยมีพันธุ์ KK3, LK92-11 และ Kps01-12 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ โดยดำเนินการปลูกทดสอบพันธุ์อ้อยใน 2 สถานที่ คือ อ.หนองแสง จ. อุดรธานี (ดินร่วนปนทราย) และ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ (ดินทราย) ที่อายุ 12 เดือน ตรวจวัดข้อมูลผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล ค่าซีซีเอส และองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จำนวนลำต่อไร่ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และความยาวลำ จากการทดลองพบว่า ผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ำตาล ค่า ซี.ซี.เอส. และองค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์อ้อยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนสถานที่มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญในลักษณะ จำนวนลำเส้นผ่านศูนย์กลางลำ ผลผลิตอ้อย และ ผลผลิตน้ำตาล รวมทั ้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และสถานที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกลักษณะยกเว้นเส้นผ่านศูนย์กลางลำ อ้อยพันธุ์ KK3, CSB06-4-162 และ MPT02-458 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงทั้งในพื้นที่สภาพดินร่วนปนทราย และสภาพดินทรายส่วนพันธุ์ 91-2-527 ให้ผลผลิตสูงแบบเฉพาะถิ่นในสภาพดินร่วนปนทราย นอกจากนี้ลักษณะขององค์ประกอบผลผลิตบางลักษณะ ได้แก่ จำนวนลำต่อไร่ และความยาวลำ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิตอ้อยปลูก และอ้อยตอ แสดงว่าลักษณะเหล่านี ้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้อ้อยมีผลผลิตสูงภายใต้สภาพการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เกษสุดา เดชภิมล. 2558. โครงการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและขยายอ้อยพันธุ์ดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

จุฑามาศ เครื่องพาที, พัชริน ส่งศรี และนันทวุฒิ จงรั้งกลาง. 2560. การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตร ของพันธุ์อ้อยดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เกษตรพระวรุณ 14(1):30- 40.

ณรงค์ ตรีสุวรรณ. 2544. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของชุดดินที่พบในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 483 กองสำรวจและจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ปราโมทย์ พรสุริยา, พรทิพย์ พรสุริยา, อภิสิทธิ์ ชิตวณิช และ ธนาวัฒน์ เยมอ. 2561. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับ สภาพแวดล้อมและเสถียรภาพของผลผลิตในถั่วฝักยาว. แก่นเกษตร 46:1406-1411.

ศมิษฐา แม้นเหมือน, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และอภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์. 2559. การตรวจสอบลักษณะองค์ประกอบ ผลผลิตและผลผลิตในอ้อยปลูกของอ้อยพันธุ์กำแพงแสนชุดปี 2007 โดยใช้ค่า GE scores. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5(1):42-51.

สุดชล วุ้นประเสริฐ และธีรยุทธ เกิดไทย. 2558. การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ. แหล่งข้อมูล: http://www.sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5869/2/Fulltext.pdf. ค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2561.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558. พันธุ์อ้อยในประเทศไทย. หจก.ขอนแก่น การพิมพ์ , ขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. พื้นที่การผลิตอ้อย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย 2559/60. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561.

อาทิตย์ แสงสายันห์, เรวัต เลิศฤทัยโยธิน และอภิวิชญ์ ทรงกระสินธุ์. 2557. การตรวจสอบผลผลิตและองค์ประกอบ ผลผลิตของอ้อยปลูกพันธุ์กำแพงแสนโดยใช้ค่า GE scores. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3(2):39-51.

Jangpromma, N., S. Thammasirirak, P. Jaisil, and P. Songsri. 2012. Effects of drought and recovery from drought stress on above ground and root growth, and water use efficiency in sugarcane (Saccharum officinarum L.). AJCS. 6(8):1298-1304.

Khonghintaisong, J., P. Songsri, B. Toomsan, and N. Jongrungklang. 2017. Rooting and physiological trait responses to early drought stress of sugarcane cultivars. Sugar Tech. 20(4):396-406.

Laclau, P.B., and J.P. Laclau. 2009. Growth of the whole root system for a plant crop of sugarcane under rainfed and irrigated environments in Brazil. Field Crops Res. 114:351-360.

Limpinuntana, V. 2001. Physical factors related to Agricultural potential and limitations in Northeast Thailand, pp. 3-17. In: Natural resource management issues in the Korat Basin of Northeast Thailand: an overview. Proceeding of the Planning Workshop on Eco-regional Approaches to Natural Resource Management in the Korat Basin, Northeast Thailand: Toward Further Research Collaboration, held on 26-29 October 1999, Khon Kaen, Thailand. Los Banos (Philippines): International Rice Research Institute.

Little, T.M., and F.J. Hills. 1978. Agricultural Experimen¬tation Design and Analysis. John Wiley & Sons, Inc. Canada.

Robertson, M.J., N.G. Inman-Bamber, R.C. Mochow, and A.W. Wood. 1999. Physiology and productivity of sugarcane with early and mid-season water deficit. Field Crops Res. 64:211-227.

Silva P.P., L. Soares, J.G. da Costa, V. L. da Silva, J.C.F. de Andrade, E.R. Gonçalves, J.M. dos Santos, B.G.V. de Souza, V.X. Nascimento, A.R. Todaro, A. Riffel, S.M.F. Grossi-de, M.H.P. Barbosa, A.E.G. Sant’Ana, and C.E.R. Neto. 2012. Path analysis for selection of drought tolerant sugarcane genotypes through physiological components. Ind Crops Prod. 37(1):11-19.

Venkatraman, S., R.P.N. Guruja, and K.M. Naidu. 1986. The effects of water stress during the formative phase on stomatal resistance and leaf water potential and its relationship with yield in ten sugarcane varieties. Field Crops Res. 13:345-353.