โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาโครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับของเครื่องมืออวนติดตาหรือข่ายในกว๊านพะเยา โดยทำการศึกษาทั้งหมด ทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 จำนวน 12 สถานี พบปลาทั้งหมด 16 วงศ์ 39 ชนิด โดยปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบมากที่สุด ปลาแป้นแก้วมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.06 ปลาตะเพียนขาวมีน้ำหนักรวมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 39.32 ดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์และดัชนีความมากชนิดอยู่ในช่วง 0.2286- 0.5546 และ 2.4279-3.0128 ตามลำดับ เปรียบเทียบผลจับต่อหน่วยลงแรง (CPUE) ของเครื่องมือประมงข่ายที่มีขนาดตาอวนต่างกัน 6 ขนาด พบว่าขนาดตาอวน 2.0, 3.0, 4.0, 5.0, 7.0 และ 9.0 เซนติเมตร มีผลจับต่อหน่วยลงแรงเท่ากับ 416.9±277.1, 359.0±47.4, 352.4±51.2, 337.3±21.0, 213.1±37.0 และ 136.7±44.1 กรัม/100 ตารางเมตร/คืน ตามลำดับ การแพร่กระจายและโครงสร้างประชาคมปลามีความแตกต่างกันตามพื้นที่และช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 โดยอัตราส่วนปลากินพืชต่อปลากินเนื้อ เท่ากับ 3.53:1 ซึ่งบ่งบอกถึงกว๊านพะเยามีความสมดุลของสัตว์น้ำ จากข้อมูลผลการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า กว๊านพะเยามีความสมดุลของสัตว์น้ำ
Article Details
References
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ และธัญญานุช อินแตง. 2554. สภาวการณ์ประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. น. 22-30.ใน: ประชุมทางวิชาการ “สิ่งแวดล้อมนเรศวร ครั้งที่ 6” วันที่ 1-2 สิงหาคม 2553. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ จุลทรรศน์ คีรีแลง และ สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2556. เครื่องมือประมงและผลจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา. น. 32-39. ใน: ประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 วันที่ 3 สิงหาคม 2556. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี.
เขมชาติ จิวประสาท. 2552. ประมงพะเยา ร่วมรักษาสมดุลระบบนิเวศแหล่งน้ำ ผ่านการจัดกิจกรรมแข่งขันตกปลาชะโดและปลากินเนื้อในกว๊านพะเยา. วันเสาร์ที่ 6 - วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2552 และวันเสาร์ที่ 13 - วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552. http://news.sanook.com/773060/. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 2557.
คีรี กออนันตกุล. 2536. การศึกษาประชาคมปลาในหนองหาร จังหวัดสกลนคร ปี 2534. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2536. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสกลนคร กองประมงน้ำจืดกรมประมง, สกลนคร.
จินตนา ดำรงไตรภาพ, องอาจ คำประเสริฐ, ศิริวัลยา วงษ์อูทอง และ วิวิธนนท์ บุญยัง. 2556. ประสิทธิภาพของเครื่องมือข่ายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์จังหวัดกาญจนบุรี. เอกสารวิชาการฉบับที่ 8/2556. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.
จุลทรรศน์ คีรีแลง, กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล และอภินันท์ สุวรรณรักษ์. 2556. กำลังผลิตของสัตว์น้ำและและประสิทธิภาพเครื่องมือประมงในกว๊านพะเยา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ชัยณรงค์ ชื่นชม และ วสันต์ ตรุวรรณ. 2549.ชลชีววิทยาและทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำธวัชชัยหลังการขุดลอก จังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสารวิชาการฉบับที่ 13/2549. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, กาฬสินธุ์.
ปริญดา รัตนแดง คฑาวุธ ปานบุญ และ สุธิดา โส๊ะบีน. 2558. โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2/2558. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุโขทัย กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, สุโขทัย.
ศรุตา นุชเทียน. 2557. โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี. สาขาวิชาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
สุกัญญา ดำชู. 2561. ประสิทธิภาพการจับและการเลือกจับของเครื่องมือข่ายในแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารวิชาการฉบับที่ 4/2561. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง, พัทลุง.
สุธิดา โต๊ะบีน และ ปาริฉัตร มูสิกธรรม. 2551. โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา.เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2551. ศูนย์วิจัยชายฝั่งและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง, พะเยา.
สุภาพ สังขไพฑูรย์ พิษณุ นาอนันต์ สุวีณา บานเย็น และ สุวิมล สี่หิรัญวงศ์. 2554. โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพของเครื่องมือข่ายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา พ.ศ.2546-2550. เอกสารวิชาการฉบับที่ 28/2554. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรัง, ตรัง.
สำนักงานประมงจังหวัดพะเยา. 2553. จำนวนผู้มีอาชีพทำการประมงในกว๊านพะเยาและแม่น้ำสาขา.http://www.fisheries.go.th/fpo-phayao/index.html. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2556.
Bond, N. R., P. S. Lake, and A. H. Arthington. 2008. The impacts of drought on freshwater ecosystems: an Australian perspective. Hydrobiologia 600(1):3-16.
Clarke, K.R. and R.M. Warwick. 1994. Change in marine community: an approach to statistical analysis and interpretation. Plymouth Marine Laboratory. Plymouth, UK.
Harley, S.J., R.A. Myers, and A. Dunn 2001. Is catch-per-unit-effort proportional to abundance Canadian. J. Fish. Aquat. Sci. 58:1760-1772.
Kaewsri, K. and S. Traichaiyaporn. 2012. Monitoring on water quality and algae diversity of Kwan Phayao, Phayao Province, Thailand. Int. J. Agri. Technol. 8(2):537-550.
Ludwig, J.A. and J.F. Renold. 1988. Statistical Ecology; A primer on methods and computing. John Wiley & Sons, New York. USA.
Mohsin, A.B.M., M.M. Hasan, and S.M. Galib, 2009. Fish diversity of community based fisheries managed oxbow lake (Bookbhara Baor) in Jessore, Bangladesh. J. Scie. Foun. 7(1):121-125.
Mohsin, A.B.M., S.M. Mohaimenul Haque, and S.M. Galib, M.F.H. Fahad, N. Chaki, M. Nazrul Islam and M.M. Rahma. 2013. Seasonal Abundance of Fin Fishes in the Padma River at Rajshahi District, Bangladesh. World Journal of Fish and Marine Sciences 5 (6):680-685.
Rahman, M.M., M.Y. Hossain, F. Ahamed, Fatematuzzhura, B.R. Subba, E.M. Abdallah, and J. Ohtomi, 2012. Biodiversity in the Padma distributary of the Ganges River, Northwestern Bangladesh: Recommendations for conservation. World Journal of Zoology 7(4):328-337.
Rainboth, W.J. 1996. FAO Species Identification Field for Fishery Purposes, Fishes of Cambodian Mekong. Rome. FAO.
Smith, M.H. 1945. The Fresh-water Fishes of Siam, or Thailand. Smithsonian Institute United States National Museum. Swingle, H.S.,1950. Relationships and dynamics of Balanced and Unbalanced fish population. Bulletin No.274; Agricultural Experiment Station of the Alabama Polytechnic Institute Auburn., Alabama. U.S.A.
Taki, Yasuhiko. 1974. Fishes of the Lao Mekong Basin. U.S. Agency for International Development, Mission to Laos, Agriculture Division, U.S.A.
Vijaylaxmi, C., M. Rajshekhar, and K. Vijaykumar. 2010. Freshwater fishes distribution and diversity status of Mullameri River, a minor tributary of Bheema River of Gulbarga District, Karnataka. International Journal of Systems Biology 2(2):01-09.
Washington, H.G. 1984. Review of diversity, biotic and similarity indices. Water Res. 18(6):653-694.
Zakaria, I. and K. K. P. L im. 1995. The fish fauna of Tasik Temengor and its tributaries south of Banding, Hulu Perak, Malaysia. Malayan Nature Journal 48:318-332.