ความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกรในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วิมลรัตน์ ดำขำ
ชัยชาญ วงศ์สามัญ
ประภัสสร เกียรติสุรนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกรในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน พฤศจิกายน 2560 ถึงเดือน มกราคม 2561 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เกษตรกรจำนวน 131 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธี t- test F-test และ เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe’ test ได้ศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองทั้งหมด 3 ด้าน จำนวนรวม 84 ประเด็น ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความต้องการในระดับมากในแต่ละด้านดังนี้ 1) ด้านความรู้เกี่ยวกับการผลิตถั่วเหลืองในประเด็น การเลือกสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ( x = 2.78) ราคารับซื้อผลผลิตถั่วเหลือง ( x = 2.76) การเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ( x = 2.75) 2) ด้านวิธีการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองของเจ้าหน้าที่ ในประเด็น การจัดรายการเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ ทางวิทยุโทรทัศน์ ( x = 2.63) การประชุมกลุ่ม ( x = 2.60) การเยี่ยมเกษตรกรที่บ้าน/ไร่นา ( x = 2.55) และ 3) ด้านการสนับสนุนการผลิตในประเด็น การจัดหาตลาดรับซื้อผลผลิต ( x = 2.92) การประกันราคาผลผลิต ( x = 2.91) การสร้างคู่ค้าแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ ( x = 2.85) การจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลือง ( x =2.82) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกรที่มี เพศ อายุ ประสบการณ์การปลูกถั่วเหลือง ขนาดพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง และ ผลผลิตถั่วเหลืองต่อไร่ แตกต่างกัน พบว่ามีระดับความ ต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<0.05) ในประเด็น การใช้เชื้อไรโซเบียมคลุกเมล็ดก่อนปลูก การจัดนิทรรศการ เงินกู้ การสร้างแหล่งน้ำการตากถั่วเหลืองหลังการเก็บเกี่ยว การจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลือง การเลือกสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรู พืช การจัดกิจกรรมการประกวด การเยี่ยมเกษตรกรที่บ้าน/ไร่นา ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช การจัดหาเครื่องพ่นสารเคมี การจัดหาเครื่องปลูกถั่วเหลือง วิธีใช้เครื่องสีนวดถั่วเหลือง การเก็บรักษาถั่วเหลืองเพื่อรอการสีนวด การใช้สื่อพื้นบ้าน การรณรงค์ การติดต่อทางโทรศัพท์ การจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลือง ปุ๋ยเคมี และ การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชุลีกร ลีโนนลาน. 2547. ความต้องการรับการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์กับศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 17จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ปัทมา จันทพันธ์. 2549. ความต้องการความรู้และสื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น. 2559. ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่าง ยั่งยืน. http://www. radio.prd.go.th/khonkaen/ewt_news. php?nid=7090&filename. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. การพยากรณ์ผล ผลิตการเกษตร ปีเพาะปลูก2555/56. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559ก. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้มปี 2560. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559ข. วารสารการพยากรณ์ผลผลิตการเกษตร,1(1),120-125. http://www.oae.go.th/main.php?filename=journal all. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2559.

สำเริง จันทรสุวรรณ และ สุวรรณ บัวทวน. 2547. สถิติที่ใช้สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยา และมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรทัย แก้ววิจิตร. 2542. ความต้องการการฝึกอบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์กับศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 17 จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น.

Yamane, T. 1967 . Statistics An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York . Harper and Row.