การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำนายผลผลิตอ้อยในแปลงโดยใช้ดัชนีพืชพรรณ NDVI, CIred edge และปริมาตรจากแบบจำลองพื้นผิวเชิงตัวเลข

Main Article Content

จีรวัฒน์ โนดไธสง
ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์
Chanreaksa Chea
เจษฎา โพธิ์สม
เสรี วงส์พิเชษฐ
ศุภสิทธิ์ คนใหญ่
มหิศร ว่องผาติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทำนายผลผลิตอ้อยในแปลงโดยใช้ดัชนีพืชพรรณ NDVI, CIred edge และปริมาตรจากแบบจำลองพื้นผิวเชิงตัวเลข ในการศึกษานี้ใช้ตัวอย่างจำนวน 30 ตัวอย่าง โดยเป็นพันธุ์ที่แตกต่างกันทั้งหมดและแต่ละตัวอย่างมีพื้นที่ขนาด 6×8 ตารางเมตร และเก็บรวบรวมภาพถ่ายอ้อยในแปลง จากกล้องถ่ายภาพหลายช่วงคลื่น (Multispectral camera) แบบ 5 ช่วงคลื่น (Red, Green, Blue, NIR และ Red Edge) ซึ่งติดตั้งบนอากาศยานไร้คนขับ จากนั้นเก็บเกี่ยวอ้อยแต่ละแปลงย่อยมาชั่งน้ำหนักเพื่อหาผลผลิตต่อไร่สำหรับใช้เป็นค่ามาตรฐานในการสร้างแบบจำลอง ภาพถ่ายอ้อยทั้งหมดจากแต่ละช่วงคลื่น จะถูกนำมาประมวลผลเป็นภาพทั้งแปลงด้วยโปรแกรม Pix4D mapper แล้วนำข้อมูลในภาพไปคำนวณดัชนี 3 ค่า ประกอบด้วย ดัชนีพืชพรรณ NDVI, CIred edge และปริมาตรจากแบบจำลองพื้นผิวเชิงตัวเลข หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีแต่ละค่ากับผลผลิตอ้อยในแปลง ด้วยวิธีสมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression, SLR) ผลการวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำนายผลผลิตอ้อยในแปลงด้วยค่าดัชนี NDVI, CIred edgeและปริมาตรจากแบบจำลองพื้นผิวเชิงตัวเลข โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.77, 0.78 และ 0.87 ตามลำดับ และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยระหว่างค่าจริงกับค่าทำนาย (Root Mean Square Error, RMSE) เท่ากับ 3.18, 3.11 และ 2.46 ตัน/ไร่ ตามลำดับ และมีค่าความผิดพลาดมาตรฐานของการทำ cross-validation (Root Mean Square Error of Cross Validation, RMSECV) เท่ากับ 3.37, 3.32, และ 2.61 ตัน/ไร่ ตามลำดับ การที่ค่าความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูงเนื่องจากการเก็บข้อมูลภาพถ่ายใกล้ช่วงเก็บเกี่ยว การวิเคราะห์ภาพถ่ายไม่มีการตัด pixel ส่วนที่ไม่ใช่อ้อยออก จึงทำให้มีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง ดังนั้น การศึกษาในขั ้นตอนต่อไปจึงมุ่งศึกษาเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการทำนายผลผลิตด้วยค่าดัชนีทั ้งสามค่าและวิธีการประเมินผลผลิตวิธีอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. 2553. การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) ประมวลผลด้วย Minitab 15 (ฉบับปรับปรุง)

จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกูล, วิลาสลักษณ์ วงศ์เยาว์ฟ้า, สุกิจ วิเศษสินธุ์ และ บ.ESRI จำกัด. ม.ป.ป. การวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมด้วย LIDAR : ข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขความละเอียดสูง. แหล่งข้อมูล http://www.lddservice.org/services/PDF/Flood_LIDAR.pdf. ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.

บริษัท จีไอเอส จำกัด.Pix4D คู่มือการใช้งาน ภาษาไทย. ม.ป.ป.. แหล่งข้อมูล http://cste.sut.ac.th/miscste/company/manual/Pix4DThaiUsermanual.pdf. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2561.

ศิวา แก้วปลั่ง. 2561. การประเมินการใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับสำหรับการประมาณค่าชีวมวลเหนือพื้นดินของต้นหม่อน. แก่นเกษตร 46 ฉบับพิเศษ 1: 381-387.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. โดรนเพื่อการเกษตร...กำลังมาแรงเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในยุคเกษตร 4.0. 2560. แหล่งข้อมูล http://www.newsdatatoday.com/images/News/OO1-5-18/8699.pdf. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2561.

สุทิน ชนะบุญ. 2560. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2559/60. 2560. แหล่งข้อมูล http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. การจัดทำประมาณการรายได้ การกำหนดและการชำระราคาอ้อยและค่าผลิตน้ำตาลทราย และอัตราของผลตอบแทนระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน. 2561. แหล่งข้อมูลhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/008/2.PDF.http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupl oad/923-9999.pdf. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5. สถานการณ์การผลิตอ้อย. 2560. แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/oard5/images/pdf/03KM/KM60/05.pdf. ค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2561.Brown and French. ม.ป.ป. . The long wavelengthforms of chlorophyll a. Biophysical Journal. 539-550.

Chea, Saengprachathanarug, Wongphati, Posom and Taira. 2018. Feasibiltiy Study of Evaluation Brix of Sugarcane Using Multispectral Camera Mounted on Unmanned Aerial Vehicle น. 173-184 ใน: The 11th Thai Society of Agricultural Engineering International Conference, 26-27 April 2018

Ivan, Hrvoje, Dijana, Elvis and Krunoslav. 2015. Quality assessment of high density digital surface model over different land cover classes. Periodicum Biologorum. Vol. 117. 459-470

Micasence.MicaSence RedEdgeTM 3 Multispectral Camera User Manual.2015.Available :https://support.micasense.com/hc/en-us/articles/215261448-RedEdge-User-Manual-PDF-Download-. Accessed May. 20, 2018.

Morel, Todoroff, Begue, Bury, Martine and Petit. 2014. Toward a Satellite-Based System of Sugarcane Yield Estimation and Forecasting in Smallholder Farming Conditions: A Case Study on Reunion Island. Journal of remote sensing.

Oliveira, Gomes and Santana. 2016. Estimating foliar nitrogen in Eucalyptus using vegetation indexes. Journal of Scientia Agricola. Pix4D. Pix4Dmapper, Photogrammetry software for professional drone-based mapping purely from images. Versions 4.0. 2018. Available: https://pix4d.com/product /pix4dmapper-photogrammetry-software/. Accessed Fed. 10, 2018.

Rahman and Robson. 2016. A Novel Approach for Sugarcane Yield Prediction Using Landsat Time Series Imagery: A Case Study on Bundaberg Region. Journal of remote sensing.Roberts, Roth and Perroy.Hyperspectral Vegetation Indices.2016. Available: https://www.researchgate.net/publication/288952459_Hyperspectral_Vegetation_Indices?enrichId =rgreq-42caa379a2743f8ad0a3eb7ff17f003b-