ความมีชีวิตและการเก็บรักษาเรณูในเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานพิเศษจากเขตอบอุ่น

Main Article Content

พรชัย หาระโคตร
จุฬารัตน์ หมื่นสุข
เยาวพา จิระเกียรติกุล
พลัง สุริหาร

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาเรณูมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความแปรปรวนทางพันธุกรรมของข้าวโพดหวานพิเศษที่มีแหล่งพันธุกรรมต่างกัน ดังนั้น งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาวิธีการทดสอบความมีชีวิต และ 2) ศึกษาผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อความมีชีวิตของเรณูเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานพิเศษจากเขตอบอุ่น (temperate super sweet corn; TSC) โดยนำเรณูมาทดสอบความมีชีวิตด้วยวิธี Tetrazolium test และ in vitro germination test ผลการศึกษา พบว่า เชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานพิเศษมีความมีชีวิตของเรณู 91.03+4.08% เมื่อทดสอบด้วยวิธี Tetrazolium test ในขณะที่การทดสอบด้วยวิธี in vitro germination test มีการงอกของเรณูต่ำ โดยเรณูที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่ไม่มีการเติมน้ำตาลซูโครสมีการงอกต่ำที่สุด (23.88±5.12%) ส่วนการเติมซูโครสความเข้มข้น 5-20% ส่งผลให้เรณูข้าวโพดหวานพิเศษมีความงอก เท่ากับ 34.25±8.80 - 39.25±17.86% ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น Tetrazolium test จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบความมีชีวิตของเรณูเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานพิเศษ เมื่อศึกษาอุณหภูมิในเก็บรักษาเรณูเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานพิเศษ พบว่า อุณหภูมิมีผลต่อระยะเวลาในการเก็บรักษาเรณู โดยอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 56 วัน ในขณะที่การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4, 0 และ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 28 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2551. ปรับปรุงพันธุ์พืช พื้นฐาน วิธีการ และแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

เจษฎา จงใจดี, สิทธิชัย ลอดแก้ว, สาวิกา กอนแสง, ศันศนีย์ จำจด และเบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. 2553. ผลของอุณหภูมิสูงต่อความมีชีวิตของละอองเรณูและการปฏิสนธิในพันธุ์ข้าวไทย. วารสารเกษตร 26 (4): 29-35.

ทวีศักดิ์ ภู่หลำ. 2540. ข้าวโพดหวาน: การปรับปรุงพันธุ์และการปลูกเพื่อการค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ.

พิชัย ใจกล้า. 2558. ความมีชีวิตและการเก็บรักษาละอองเรณูทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง 24 (1): 89-99.

เยาวพา จิระเกียรติกุล, ภาณมาศ ฤทธิไชย,รภีภร กลิ่นกัน และศิริพร เพ็ดตะกั่ว. 2556. ช่วงเวลาในการถ่ายละอองเรณูและการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์ดอกพระจันทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21 (4): 298-305.

รมย์ริญ ปิยรมย์ นิรันดร์ จันทวงศ์ วิจิตร จังใน และสุรศักดิ์ นิลนนท์. 2543. การศึกษาวิธีการเก็บรักษาละอองเรณูระกำ (Salacca wallichiana Mart.) ในไนโตรเจนเหลว. น.85-90. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38. 1-4 กุมภาพันธ์ 2543. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ลาวัลย์ รักสัตย์. 2543. ละอองเรณู (Pollen grain). เอกสารประกอบการเรียน. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรินทร์ สุทนต์, พาวิน มะโนชัย, วินัย วิริยะอลงกรณ์, ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร, เสกสันต์ อุสสหตานนท์ และนพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2545. การศึกษาความมีชีวิตของละอองเกสรลิ้นจี่. น.160. ใน: การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 2. 28-30 พฤษภาคม 2545. โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส, ขอนแก่น.

วิลาส รัตนานุกูล. 2553. การงอกของหลอดเรณู. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). แหล่งที่มา : http://biology.ipst.ac.th/?p=909, 28 ตุลาคม 2560

สุจิตรา เจาะจง และสุดารัตน์ สกุลคู. 2552. การศึกษาความมีชีวิตของละอองเรณูในดอกเม่าหลวงตัวผู้, การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. วันที่17-20 มีนาคม. 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิรัชตนันท์ โรจนวิจิตร, ปิยนุช ศรชัย, ดวงกมล สัมฤทธินันท์, หนึ่งฤทัย เดชสังกรานนท์, บุบผา คงสมัย และ เสริมศิริ จันทร์เปรม. 2559. เทคนิคสำหรับการแยกและการทดสอบความงอกของเรณูกล้วยไม้สกุลหวายบางพันธุ์. ว. วิทย. กษ. 47: 305-316.

อัครา สุทรารมณ์ลักษณ์. 2549. การเก็บรักษาละอองเกสรและการผสมพันธุ์พืชกลุ่มกระเจียวและกลุ่มปทุมมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Baloch, M.J., Lakho, A.R., Bhutto, H. and Solangi, M.Y. 2001. Impact of sucrose concentrations on in vitro pollen germination of okra, Hibiscus esculentus. Pak. J. Biol. Sci. 4: 402-403.

Barnabas, B. 1984. Freeze preservation of pollen. Les Colloquse de I’ INRN. 20: 429-433.

Barnabas, B. and Rajki, E. 1976. Storage of maize (Zea mays L.) pollen at -196 °C in liquid nitrogen. Euphytica. 25: 747-752.

Brewbaker, J. L. and Kwack, B. H. 1963. The essential role of calcium ion in pollen germination and pollen tube growth. Am. J. Bot. 50: 859-865.

Bruke, I. C., Wilcut, J. W. and Allen, N. S. 2007. Viability and in vitro germination of Johnsongrass (Sorghum halepense) pollen. Weed Tech. 21: 23-29.

Engelmann, F. 2004. Plant cryopreservation: Progress and prospects. In Vitro Cell Dev. Biol. Plant 40: 427-433.

Machado, C. A., Moura, C. R. F., de Lamos, E.E. P., Ramos, S. R. R., Riberio, F. E. and Ledo, A. S. 2014. Pollen grain viability of coconut accessions at low temperatures. Acta Scientirum 36: 227-232.

Pfahler, P. L. 1967. In vitro germination and pollen tube growth of maize (Zea may L.) pollen: I. calcium boron effects. Botany 45: 839-845. Pfahler, P. L. and Linskens, H. F. 1972. In vitro germination and pollen tube growth of maize (Zea mays L.) pollen. Theor. Appl. Genet. 42: 136-140.

Pfahler, P. L. and Linskens, H. F. 1973. In vitro germination and pollen tube growth of maize (Zea mays L.) pollen: VIII. storage temperature and pollen source effects. Planta. 111: 253-259.

Polster, J., Schwenk, M. and Bengsch, E. 1992. The role of boron silicon and nucleic bases on pollen tube growth of Lilium longiflorum L. Biosciences 47: 102-108.

Shivanna, K. R. 2003. Pollen Biology and Biotechnology. Oxford & IBH, New Delhi.Shivanna, K. R. and Rangaswamy, N. S. 1992. Pollen Biology: A Laboratory Manual. Springer-Verlag, Berlin.

Souza, M.M., Periera, T.N.S., and Martins, E.R. 2002. Microsporogênese e microgametogênese associadas ao tamanho do botão floral e da antera e viabilidade polínica em maracujazeiro-amarelo (Passiflora edulis Sims f. flavicarpa Degener). Ciência e Agrotecnologia 26(6):1209-1217

Vasil, I. K. 1960. Studies on pollen germination of certain Cucurbitaceae. Aener. J. Bot. 47: 239-247.

Vasil, I. K. 1987. Physiology and culture of pollen. Int. Rev. Cytol. 107: 127-174.

Zambon, R. Z., Silva, L. F., Pio, R., Bianchini, F. G. and Oliverira, A. F. 2018. Storage of pollen and properties of olive stigma for breeding purposes. Rev. Cienc. Agron. 49: 291-297.

Zhang, C., Fountain, D. W. and Morgan, E. R. 1997. In vitro germination of the trinucleate pollen of Limonium perezii. Grana. 36: 284-288.