การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กฤษติยา เริงอาจ
พิชัย ทองดีเลิศ
สาวิตรี รังสิภัทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยด้านการปลูก ความรู้เกี่ยวกับอ้อย 2)การใช้เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร 3)เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยด้านการปลูกและความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อย และ 4)ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 387 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยเฉลี่ยมีอายุ 54.49 ปี ระดับการศึกษาในชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 13.89 ปี รายได้เฉลี่ย 11,208.77 บาท/ไร่/ปี ต้นทุน 7,420.13 บาท/ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ส่วนมากใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส./สหกรณ์การเกษตร/ธนาคารพาณิชย์ เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอ้อย จากเพื่อนบ้าน/ผู้นำชุมชน วิทยุ/โทรทัศน์ และการประชุม ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.14 คน จำนวนแรงงานจ้าง 5.84 คน พันธุ์อ้อยที่ปลูก พันธุ์ขอนแก่น 3 ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 13.93 ตัน/ไร่ มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 18.15 ไร่ ชนิดของดินเป็นดินเหนียว เดือนที่ปลูกอ้อยกุมภาพันธุ์/มีนาคม เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อยในระดับมาก โดยรวมไม่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าเกษตรกรที่มี อายุ ระดับการศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่ม ลักษณะการถือครองที่ดิน แรงงานจ้าง การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อกิจกรรมและสื่อสังคมออนไลน์ พื้นที่ปลูกอ้อย ชนิดของดิน ที่แตกต่างกันมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยของเกษตรกรแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 ดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรมีการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการวางแผนและเพิ่มผลิตอ้อยต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มวิเคราะห์และวางระบบข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร. 2560. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560.

เจนจิรา ใจทาน, สาวิตรี รังสิภัทร์ และพิชัย ทองดีเลิศ. 2556. การรับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาอ้อยของเกษตรกร ในเขตอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. การส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร. 9: 30-37

เชิดชู คงอ่อน และยศ บริสุทธิ์. 2556. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาก่อนตัดของเกษตรกรอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยาศาสตร์เกษตร. 44: 61-64

บดินทร์ รัศมีเทศ. 2555. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน. สำนักพิมพ์แสงดาว, กรุงเทพฯ.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2558. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเกษตรของเกษตรกร. สังคมศาสตร์. 4: 43-54.

ศูนย์วิจัยอ้อยและน้ำตาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2558. สำรวจความต้องการความรู้ทิศทางการวิจัยและสถานภาพการใช้พันธุ์อ้อยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือฯ. แหล่งข้อมูล: https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0008545&l=en. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2559/60. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. สำนักพิมพ์ฐานบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

อภิวัฒน์ คูณธรรมรัตน์. 2559. ต้นทุนจากการปลูกอ้อย การเก็บเกี่ยว การบำรุงรักษาอ้อยหลังเก็บเกี่ยวและผลตอบแทนของธุรกิจปลูกอ้อย อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. นครปฐม.