ความต้องการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จุฑามาศ คนไทย
สาวิตรี รังสิภัทร์
พิชัย ทองดีเลิศ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมี การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตผัก ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักตาม GAP 2) ความต้องการการผลิตผักตาม GAP 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ การใช้สารเคมี การเปิดรับข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักตาม GAP กับความต้องการการผลิตผักตามGAP ของเกษตรกรกร ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 252 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าไคสแควร์ ผลวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.96 ปี มีการศึกษาประถมศึกษา จำนวนชนิดของผักที่ปลูกเฉลี่ยรายละ 3 ชนิด ประสบการณ์ปลูกผักเฉลี่ย 12.22 ปี พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 8.94 ไร่ รายได้การผลิต (ต่อรอบการผลิต) เฉลี่ย 21,834.60 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิตผัก (ต่อรอบการผลิต) เฉลี่ย 5,163.55 บาท/ไร่ แหล่งเงินทุนตนเอง จำนวนครั้งที่ใช้สารเคมีในการผลิตผัก เฉลี่ย 6.87 ครั้ง/เดือน การเปิดรับข่าวสารจาก เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โทรทัศน์ การประชุม มีการใช้สื่อออนไลน์ มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักตาม GAP ระดับมาก ส่วนใหญ่ความต้องการการผลิตผักตาม GAP อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ ระดับการศึกษา จำนวนชนิดผักที่ปลูก ประสบการณ์ปลูกผัก แหล่งเงินทุนการผลิตผัก จำนวนครั้งที่ใช้สารเคมีในการผลิตผัก ปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อออนไลน์ ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักตาม GAP มีความสัมพันธ์กับความต้องการการผลิตผักตาม GAP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก. 2558. ปัญหาและความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผักของเกษตรกร ตำบลบึงบอน วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University.ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8: 770-788.

นาวินทร์ แก้วดวง และคณะ. 2560. การผลิตผักปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในจังหวัดหนองคาย.วารสารแก่นเกษตร 45: 1590-1596.

สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี. 2559. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรจังหวัดปทุมธานี. แหล่งข้อมูล: http://www.pathumthani.doae.go.th/Agriculture%20data.html. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560.สำนักงานเกษตรอำเภอหนองเสือ. 2560. เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกผัก. แหล่งข้อมูล: http://www.nongsuea.pathumthani.doae.go.th/home.html. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2556. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร. แหล่งข้อมูล: www.acfs.go.th/standard/download/GAP_food%20crop.pdf. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2561. การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP.แหล่งข้อมูล: https://ssnet.doae.go.th/.pdf. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2561.สุรินทร์ นิยมางกูร. 2541. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างความพึงพอใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของเกษตรกรในชนบทแห่งหนึ่ง. ฐานบัณฑิต, กรุงเทพฯ.อลงกรณ์ ซอนจำปา. 2558. การผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ. แหล่งข้อมูล: https://www.gotoknow.org/posts/430021. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560.

Mahdalena, V. et al., 2018.The effects of video message design to farmer’s knowledge and attitude about Good Agricultural Practices (GAP) of shallots in Banten Province. JEAS.13:5764-5770.

Shaw, A. et al., 2015.Knowledge gained from good agricultural practices courses for lowa growers. JOE.53:1-10.

Somnuek, S. and Slingerland, M. 2018. Can Good Agricultural Practices Sustain Oil Palm Yields for Bioenergy Production in Northeast Thailand?. Experimental Agriculture. 54:915-930.

Thardphaiboon, P. et al., 2013 Farmers’ perception on durian innovation: A case study of GAP-certified orchards in Chanthaburi Province, Eastern Thailand. KJSS.34:153-161.

Vaughan, B., Hooks, D., and Robinson, M. 2016. Good agricultural practices for small-scale produce processors: A case of food safety. JOE.54:1-15.