ผลของปุ๋ยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสีต่อผลผลิตและคุณภาพผลผลิตอ้อยตอ 1 ในชุดดินโคราช

Main Article Content

วิภาวรรณ ท้ายเมือง
สุชาดา กรุณา
ศิวโรจน์ สุวรรณโณ
อาณัติ เฮงเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสีที่ให้เพิ่มต่อผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของอ้อยตอ 1 พันธุ์ขอนแก่น 3 ทำการทดลองในแปลงเกษตรกรซึ่งเป็นชุดดินโคราชที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ในจังหวัดกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด ตามลำดับ วางแผนแบบ randomized complete block (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ตำรับการทดลองประกอบด้วย ตำรับการทดลองที่ 1 ใส่ปุ๋ยตามอัตราและปริมาณของเกษตรกร และ 2-6 ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร โดยในตำรับการทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเพิ่มในรูปโพแทสเซียมคลอไรด์สูตร 0-0-60 อัตรา 10 กก./ไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมเพิ่มในรูป MgSO4.7H2O อัตรา 35 กก./ไร่ ตำรับการทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยสังกะสีเพิ่มในรูป ZnSO4.H2O (32%Zn) อัตรา 1.6 กก./ไร่ และตำรับที่ 6 ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมและสังกะสีในรูปและอัตราเดียวกับตำรับการทดลองที่ 4 และ 5 ผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมตามค่าวิเคราะห์ของกรมวิชาการเกษตร (18 กก.K2O/ไร่) และใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์เพิ่ม 10 กก./ไร่ ในดินที่มีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ระดับต่ำมากถึงต่ำทำให้จำนวนลำต่อไร่ ผลผลิตต่อไร่ และผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและได้กำไรต่อไร่เพิ่มขึ้น 7-54% และการใส่ปุ๋ ยโพแทสเซียมตามคำแนะนำร่วมกับปุ๋ ยแมกนีเซียม 6 กก.MgO/ไร่ และปุ๋ ยสังกะสี 0.5 กก.Zn/ไร่ ในดินที่มีแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ต่ำ และสังกะสีที่สกัดได้ต่ำทำให้ได้ผลผลิตอ้อยและกำไรเพิ่มขึ้น 24-66% สำหรับอ้อยตอ 1 ที่ปลูกในชุดดินโคราช

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2548. คำแนะนำการใช้ปุ๋ ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตร ฉบับที่ 8/2548, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร

จักรินทร์ ศรัทธาพร, ปรีชา พราหมณีย์, วิทยา มีรักษ์ และสุรวิทย์ สุริยพันธุ์. 2542. การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีของอ้อย clone ดีเด่น 3 clone ในดินร่วนเหนียว ในเขตชลประทานภาคกลาง. รายงานประจำปีอ้อย 2542. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถานีวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร

ธวัช ตินนังวัฒนะ. 2543. การทำไร่อ้อยยุคใหม่.ศูนย์เกษตรอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ

พิพัฒน์ วีระถาวร, อังสนา โตกิจกล้า, ประทวน กลิ่นโต, สมศักดิ์ รอดหลง และไตรสุดา ไวตรวจโรจ. 2538. การทดสอบปุ๋ ยในไร่นาเกษตรกร, น. 118-128. ใน การประชุมวิชาการอ้อยและน้ำตาลทรายแห่งชาติครั้งที่ 2. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สุมิตรา วัฒนา. 2541. การวิเคราะห์สมบัติของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

เอิบ เขียวรื่นรมย์. 2538. ชนิดและลักษณะของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, น. 1-23 ใน รายงานประจำปี 2536-2537. โครงการวิจัยปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในประเทศไทย. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร และหน่วยทดสอบดิน-ปุ๋ยและการประยุกต์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

Abdelrahman, M., A. Hamid. 2014. Effect of sulfur on sugarcane yield and quality at the heavy clay soil “Vertisols” of Sudan. Universal J. of Applied Sci. 2(3): 68-71.

Blackburn, F. 1984. Sugarcane. Longman, Inc., New York.

Bray R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45

Calcino, D.V. 2010. Australian sugarcane nutrition manual. Soil and Sugarcane Growth, BSES Limited.

Cantarella, H. and R. Rossetto. 2014. Fertilizers for sugarcane. p.405-422. In L.A.B. Cortez. Sugarcane bioethanol — R&D for Productivity and Sustainability, São Paulo: Editora Edgard BlücherFranco, H.C.J., E. Mariano, A.C. Vitti, C.E. Faroni, R. Otto, and P.C.O. Trivelin. 2011. Sugarcane response to boron and zinc in southeastern Brazil. Sugar Tech. 13: 86-95.

Gee, G.W. and J.W. Bauder. 1986. Particle-sized analysis, pp. 383-411. In A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis Part 1 Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy–Soil Science Society of America, Madison, USA.

Hongwei, T., Z. Liuqiang, X. Rulin and H. Meifu. 2005. Better Sugarcane Production for Acidic Red Soils. Better Crops. 89 (3): 24-26.

Jones, B.J. 2001. Laboratory guide for conducting soil tests and plant analysis. Boca Raton, Fla. CRC Press

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Min. of Agri. and Coop., Bangkok.

Loeppert, R.H. and W.P. Inskeep. 1996. Iron. p.639-664. In D.L. Sparks, A.L. Page, R.H. Helmke, R.H. Leoppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner (eds). Method of Soil Analysis. Part 3: Chemical Methods. Soil Science Society of America, Inc. U.S.A.

Mellis, E.V., J.A. Quaggio, L.A.J. Teixeira, and H. Cantarella. 2011. Sugarcane response to zinc application. In: 3rd International Zinc Symposium, Hyderabad, India.

Moda, L.R., Prado, R.M., Caione, G., Campos, C.N.S., Silva, E.C., and R.A. Flores.2015. Effect of sources and rates of phosphorus associated with filter cake on sugarcane nutrition and yield. Aust. J. Crop Sci. 9:477-485.

Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter, pp. 961–1010. In D.L. Sparks, A.L. Page, P.A. Helmke, R.H. Loeppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner, eds. Methods of Soil Analysis, Part 3 Chemical Methods. Agronomy No 5. SSSA Book Series. Madison, WI.

Ridge, R. 2013. Fertilizing for High Yield and Quality Sugarcane. IPI Bulletin No. 21. International Potash Institute, Switzerland

Romheld V. and M. Nikolic. 2007. Iron. In Handbook of plant nutrition. A.V. Barker and D.J. Pilbeam. CRC Press. New York.

Schroeder, B., Calcino D., Hurney, A., Robert Smith, R., Panitz, J., Cairns, R., Wrigley, T., and P. Allsopp. 2008. Smart Cane Principles of Best Management Practice. BSES Limited Technical Publication. Canegrowers, Queensland.

Singh, A., R.N. Srivastava, and S.B. Singh. 2007. Effect of sources of sulphur on yield and quality of sugarcane. Sugar Tech.9: 98-100.

Thomas G.W. 1996. Soil pH and soil acidity. In D.L. Sparks, A.L. Page, R.H. Helmke, R.H. Leoppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner. (eds). Method of Soil Analysis. Part 3: Chemical Methods. Soil Science Society of America, Inc. U.S.A

Thomas, G.W. 1982. Exchangeable cations, pp. 159-165. In A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney, eds. Methods of Soil Analysis: Part 2 Chemical and Microbiological Properties, 2nd eds. American Society of Agronomy–Soil Science Society of America, Madison, USA.

Vasconcelos, R.L., Prado, R.M., Campos, C.N.S, Caione, G., Almeida, H.J. Moda, L.R., Fernando T. Mello, F.T., and C.C.D. Marta. 2014. Sources of phosphorus with sugar cane filter cake on the nutritional status and productivity of sugar cane (Saccharum officinarum L) cultivated in red-yellow latosoil. Aust. J. Crop Sci. 8:1467-1474.

Walkley, A. and C.A. Black. 1934. An examination of kjeldah method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chroma acid titration method. Soil Sci. 37: 29–35.