การประเมินเชื้อพันธุกรรมของอ้อย โดยใช้ลักษณะทางสรีรวิทยาและลักษณะทางการเกษตร

Main Article Content

ทัศนีย์วรรณ จันทร์พุก
พรรณทิวา ปินะถา
พีรญา กลมสอาด
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง
ณัฐยาพร หนันต๊ะ
น้ำอ้อย บุตรพรม
พัชริน ส่งศรี

บทคัดย่อ

การประเมินเชื้อพันธุกรรมซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดความสำเร็จของโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยและเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยอาศัยลักษณะทางสรีรวิทยาทางการเกษตรและลักษณะทางทางการเกษตรของเชื้อพันธุกรรมอ้อย 83 โคลนพันธุ์ โดยใช้แผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 2 ซ้ำ โดยปลูกในแต่ละพันธุ์มีจำนวน 2 แถว แต่ละแถวยาว 5 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร ระหว่างเดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 ณ แปลงทดลองบริษัทมิตรผลวิจัยและพัฒนา อำเภอหนองเรือ จ.ขอนแก่น ตรวจวัดข้อมูลลักษณะทางสรีรวิทยาที่อายุ 3, 6 และ 9 เดือน ได้แก่ ค่าดัชนีความเขียวเข้มของสีใบและค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์ ลักษณะทางการเกษตรที่อายุ 12 เดือน ได้แก่ ผลผลิต ความยาวลำ น้ำหนักลำเดี่ยว เส้นผ่านศูนย์กลางลำ จำนวนลำต่อกอ และตรวจวัดค่าเปอร์เซ็นต์ความหวาน ที่อายุ 10, 11 และ 12 เดือน จากการศึกษาพบว่าพันธุ์ที่ค่าความเขียวเข้มของใบสูง ที่อายุ 3, 6 และ 9 เดือน ได้แก่ พันธุ์ MPT04-55, MPT08-191, C87-51 และ H59-3775 พันธุ์ที่มีค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนต์ สูง ที่อายุ 3, 6 และ 9 เดือน ได้แก่ พันธุ์ Co1148, M147/158, Phil54-52 และ M93/48 กลุ่มพันธุ์ที่มีการให้ผลผลิต และน้ำหนักลำเดี่ยวสูง ได้แก่ พันธุ์ CP75-324 และ CP76-340 ความยาวลำและเส้นผ่านศูนย์กลางลำมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์ Nco293 และ K92-80 จำนวนลำต่อกอมากที่สุด ได้แก่ พันธุ์ DB7160 และ CP65-350 และพันธุ์ที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ความหวาน ที่อายุ10, 11 และ 12 เดือนสูง ได้แก่ พันธุ์ CAC57-13, MPT04-55, LF63-2705 และ Mossman จากการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยอาศัยลักษณะทางสรีรวิทยาทางการเกษตรและลักษณะทางทางการเกษตรของเชื้อพันธุกรรมอ้อย 83 โคลนพันธุ์ สามารถแบ่งกลุ่มออกเป็น 9 กลุ่ม ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตอ้อยและน้ำตาลสูงได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

นัฐภัทร์ คำหล้า, ประชา ถ้ำทอง, กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, เสรีวัฒน์ จัตตุพรพงษ์, สมนึก คงเทียน และ มานิตย์ สุขนิมิตร. 2555. การประเมินพันธุ์อ้อยโคลนดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝน. แก่นเกษตร 40: 37-44.

ศศิธร พุทธรักษ์. 2540. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงและการสร้างมวลชีวภาพของหญ้าขนกับหญ้าขม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2540.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2558. รายงานการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศประจำปีการผลิต 2557/2558. (ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559) ปรากฏในhttp://product.ocsb.go.th/.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. อ้อยโรงงาน. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร: 51-58.

อดิศักดิ์ นัดกระโทก และเรวัต เลิศฤทัยโยธิน. 2553. สหสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตอ้อย องค์ประกอบผลผลิตอ้อย องค์ประกอบคลอโรฟิลล์ และปริมาณแป้งในน้ำอ้อยของอ้อยปลูกในพื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันตกตอนล่าง. วิทยาสารกำแพงแสน 8(2): 12-20.

José P. da Graça, F. A. Rodrigues, José R. B. Farias, M.C. Neves de Oliveira, C.B. Hoffmann-Campo and S. M.Zingaretti. 2010. Physiological parameters in sugarcane cultivars submitted to water deficit. brazilian society of plant physiology 22(3): 189-197.

M. N. Ishaq and G. Olaoye. 2009. Cane yield attributes and heritability of juice quality characters in

Marcelo de A. Silva, John L. Jifon, Jorge A.G. da Silva and Vivek Sharma. 2007. Use of physiological parameters as fast tools to screen for drought tolerance in sugarcane. brazilian society of plant physiology 19(3):193-201.

Milligan, S.B. 1988. The genetic variance-covariance structure of the Louisiana sugarcane breeding population. Ph.D. dissertation, Louisiana State University, Louisiana.