ความต้องการฝึกอบรมด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรมด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ หมอดินอาสาประจำตำบลบล จำนวน 113 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หมอดินอาสาประจำตำบลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.9 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ดำรงตำแหน่งมาแล้วเฉลี่ย 13.6 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมีรายได้จากภาคการเกษตรในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560) เฉลี่ย 63,318.58 บาท และมีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 10,336.28 บาท มีหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 43,194.69 บาท แหล่งเงินกู้ที่สำคัญ คือ กองทุนหมู่บ้าน โดยมีการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาที่ดินในรอบ 6 เดือนจากเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรมากที่สุด ทั้งนี้หมอดินอาสาประจำตำบลมีความต้องการฝึกอบรมเรื่องธาตุอาหารพืชและวัสดุปรับปรุงดิน ต้องการวิทยากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีการใช้เทปบันทึกเสียงขณะฝึกอบรม เพื่อใช้ทบทวนภายหลัง ตลอดจนต้องการให้มีการติดตามและให้คำแนะนำกับหมอดินอาสาภายหลังการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ ผลการเปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำตำบลในจังหวัดอุดรธานี พบว่า หมอดินอาสาประจำตำบลที่มี อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน จะมีความต้องการแตกต่างกันในบางประเด็น
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2551. การประเมินผลศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2551. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. คู่มือการพัฒนาที่ดิน. คู่มือการพัฒนาที่ดินสำาหรับหมอดินอาสาและเกษตรกร. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ธนวัฒน์ กันหา. 2550. ความต้องการฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
นริศรา หมื่นหัสถ์, ประภัสสร เกียรติสุรนนท์, และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2561. ความต้องการสื่อของหมอดินอาสาประจำตำบลในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1): 860-865.
ประเสริฐ รวยเลิศ. 2552. การประเมินผลโครงการฝึกอบรมหมอดินอาสาสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 4 กรมพัฒนาที่ดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
แววตา กุณฑล. 2551. ความพึงพอใจต่อการใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 ของเกษตรกรผู้ทำานา อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี. 2560. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560. สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อุดรธานี.
สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. 2544. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
อนิวรรตน์ บุตรวิไล. 2541. ความต้องการฝึกอบรมของเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้าในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.